ลิงค์ live สดศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย คดีนายกฯ8ปี คลิกทางลัดที่นี่

30 ก.ย. 2565 | 07:20 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ก.ย. 2565 | 14:45 น.

ลิงค์ live สด ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย คดีนายกฯ8ปี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา วันนี้ ติดตามทางลัด โดยการถ่ายทอดสดจะเริ่มเวลา 15.00 น. พร้อมติดตามข่าวทั้งหมดที่นี่

กรณีศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยคดี “8 ปี นายกฯพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังประธานสภาฯส่งคำร้องของฝ่ายค้าน มาให้วินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่

9 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยคดี “8 ปี นายกฯ” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 

ฐานเศรษฐกิจ จึงได้รวบรวม ลิงค์ดูสด การถ่ายทอดสด ผ่านช่องทางต่าง ๆ มานำเสนอ

ลิงค์ live สดศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย คดีนายกฯ8ปี 

ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยคดีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รอดไปแล้ว 4 คดี

  1.  คดีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ สืบเนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ไม่ครบถ้วน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 กำหนด คดีนี้ เมื่อ 11 ก.ย.2562 ศาลรัฐธรรมนูญมีมิติเอกฉันท์ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ประกอบ พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 46 วรรคสาม และมาตรา 47 (1) เนื่องจากเป็นการถวายสัตย์ต่อหน้าพระมหากษัตริย์ไม่ได้อยู่ในอำนาจตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด  
  2. คดีสถานะหัวหน้าคสช.-นายกฯ เมื่อ 18 ก.ย.2562 ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า คสช. ไม่ถือเป็น “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (6) ประกอบมาตรา 98 (15) เนื่องจากการดำรงตำแหน่งหัวหน้า คสช.ของ พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ และมีอำนาจหน้าที่เฉพาะชั่วคราว ดังนั้นความเป็นนายกฯ จึงไม่สิ้นสุดลง
  3.  คดีพักบ้านหลวง คดีนี้ เมื่อ 2 ธ.ค.2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ไม่ขาดคุณสมบัติความเป็นนายกฯ เนื่องจากเป็นไปตามระเบียบภายในของกองทัพบก (ทบ.) ปี 2548 และยังชี้ว่ารัฐพึงจัดสรรที่พำนักให้ผู้นำประเทศ กรณีนี้ไม่ถือประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศ ไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตัวเอง
  4. เมื่อช่วงปี 2563 กรณีออกคำสั่งตาม มาตรา 44 เมื่อเดือน เม.ย. 2562 เพื่อขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับเอกชน ออกไปเป็นเวลา 40 ปี ทั้งที่ยังเหลือระยะเวลาสัมปทานอีก 10 ปี และประกาศใช้กฎหมายร่วมทุนฯ ในเดือน มี.ค. 2562 แต่กลับไม่ได้ปฏิบัติตาม ส่อเกิดการผูกขาดโครงการ และไม่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คดีนี้ เมื่อ 30 มิ.ย.2564 ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ “ไม่รับคำร้อง”