อยากรู้มั้ย! งบกทม.กว่า 7.9 หมื่นล้าน เอาไปทำอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่

02 ต.ค. 2565 | 10:01 น.
อัปเดตล่าสุด :02 ต.ค. 2565 | 17:20 น.

ราชกิจจานุเบกษาประกาศ "งบกทม." รายจ่ายประจําปี 2566 ที่ลงนามโดย “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” วงเงินกว่า 79,719 ล้านบาท มีผลบังคับใช้ 1 ต.ค.2565 หน่วยงานไหนได้เท่าไหร่ เอาไปใช้จ่ายทำอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วงเงินกว่า 79,719 ล้านบาท ซึ่งลงนามโดย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) สำหรับใช้บริหาร กทม. เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป


โดยมีเนื้อหาระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๗ และมาตรา ๑๐๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ กรุงเทพมหานครจึงตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ โดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้เรียกว่า “ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณ รายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖”

 

ข้อ ๒ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป


ข้อ ๓ งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้ตั้งเป็นจํานวนรวมทั้งสิ้น ๗๙,๗๑๙,๐๑๒,๐๕๐ บาท จําแนกเป็นรายจ่ายตามที่จะระบุต่อไปในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้

ข้อ ๔ งบประมาณรายจ่ายของกรุงเทพมหานครให้ตั้งเป็นจํานวน ๗๙,000,000,000 บาท ประกอบด้วย

                          อยากรู้มั้ย! งบกทม.กว่า 7.9 หมื่นล้าน เอาไปทำอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่

รายจ่ายประจํา จํานวน ๗๔,000,000,000 บาท จําแนกดังนี้


(๑) งบประมาณรายจ่ายงบกลาง เป็นจํานวน ๑๔,๑๖๒,๑๙๒,๘๓๑ บาท จําแนกดังนี้ 


๑. เงินสํารองจ่ายทั่วไป รวม ๑,๑๕๐,000,000 บาท 

 

๑.๑ กรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ๕๐๐,000,000 บาท 


๑.๒ กรณีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับน้ําท่วม ๑00,000,000 บาท 


๑.๓ กรณีค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนา กรุงเทพมหานคร ๕๕๐,000,000 บาท 


๒. เงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง ๓,๐๐๕,๓๐๐,000 บาท 


๓. เงินบําเหน็จลูกจ้าง ๑,๓๒๘,000,000 บาท 


๔. ค่าติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ ๑00,000,000 บาท 


๕. เงินสํารองสําหรับค่างานส่วนที่เพิ่มตามสัญญา แบบปรับราคาได้ ๑0,000,000 บาท 


6. เงินสํารองสําหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร ๕๐,000,000 บาท 


๗. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภารกิจและ หรือนโยบายที่ได้รับมอบจากรัฐบาล ๓,๙๕๓,๘๗๓,๓๓๑ บาท 


8..เงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่ค้างจ่ายตามกฎหมาย 


๙. เงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบํานาญของกรุงเทพมหานคร ๒๒๐,000,000 บาท 


๑๐. เงินสํารองสําหรับจ่ายเป็นเงินบําเหน็จบํานาญ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ๒,๙๐๒,๙๙๒,000 บาท 


งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ 


(๒) สํานักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร รวม ๑๒๕,๓๐๔,๐๒๐ บาท 


ก. งบประมาณภารกิจประจําพื้นฐาน ๑๒๔,๙๐๔,๐๐๐ บาท 


๑. ผลผลิตรายจ่ายบุคลากร ๓๑,๔๐๔,๑00 บาท 


๒. ผลผลิตกิจการสภากรุงเทพมหานคร ๔๓,๔๙๙,๙๒๐ บาท 


ข. งบประมาณภารกิจตามแผนยุทธศาสตร์ ๔00,000 บาท 
โครงการบูรณาการการบริหารจัดการกรุงเทพมหานคร ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดปริมณฑลที่เป็นพื้นที่รอยต่อกับกรุงเทพมหานคร๔00,000 บาท 


(๓) สํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร รวม ๗๑,๕๓๔,๘๐๐ บาท 

               อยากรู้มั้ย! งบกทม.กว่า 7.9 หมื่นล้าน เอาไปทำอะไรบ้าง เช็กได้ที่นี่
งบประมาณภารกิจประจําพื้นฐาน ๗๑,๕๓๔,๘๐๐ บาท 


๑. ผลผลิตรายจ่ายบุคลากร ๕๐,๔๒๘,๕๐๐ บาท 


๒. ผลผลิตบริหารราชการ กรุงเทพมหานคร ๒๑,๑๐๖,๓๐๐ บาท 


(๔) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการ กรุงเทพมหานคร รวม ๑๙๐,๖๓๒,๓๐๐ บาท 


ก. งบประมาณภารกิจประจําพื้นฐาน ๑๙๐,๐๖๐,๕๐๐ บาท 


๑. ผลผลิตบริหารงานบุคคล ๖๐,๙๔๓,๒๐๐ บาท 


๒. ผลผลิตรายจ่ายบุคลากร ๑๐๑,๓๒๖,๕๐๐ บาท 


๓. ผลผลิตอํานวยการ และบริหารสํานัก ๒๗,๗๙๐,๕๐๐ บาท 


ข. งบประมาณภารกิจตามแผนยุทธศาสตร์ ๕๗๑,๘๐๐ บาท 


โครงการมอบรางวัลคุณภาพ การให้บริการของกรุงเทพมหานคร ๕๗๑,๘๐๐ บาท

 

คลิกดูเพิ่มเติม : งบกทม.วงเงินกว่า 79,719 ล้านบาท