วันนี้ ( 23 พ.ย.65) แหล่งข่าวระดับสูงในศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2560 ว่า ในรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนข้อบัญญัติไว้ชัดเจนมาก แต่กำหนดให้ขึ้นอยู่กับการยกร่าง พ.ร.ป. อีกทั้งเป็นเจตนารมย์ในการยกร่างของรัฐสภา ที่มีหน้าที่ในการจัดทำและแก้ไข และสอดคล้องกันหมด
ประเด็นการแก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกพรรคการเมือง ที่เปิดให้ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้จำคุก ว่า กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือตำแหน่งหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม หรือ การกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือ หน่วยงานรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองได้ ศาลมองว่า เพียงการเป็นสมาชิกพรรค การปรับแก้เงื่อนไข ไม่ได้มีผลอะไรกับพรรค เนื่องจากไม่ได้ไปลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
ส่วนเรื่องการทำไพรมารี่โหวต ศาลเห็นว่า เป็นการดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองที่รัฐสภาเป็นผู้เสนอแนะ โดยไม่ได้มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และเห็นว่าไม่ได้เป็นการไปตัดสิทธิ์สมาชิกในการส่งผู้สมัคร ซึ่งเดิมอาจจะส่งผู้สมัครได้ในเขตเลือกตั้งเท่านั้น
แต่มีการปรับแก้ใหม่ ให้สามารถดำเนินการร่วมส่งผู้สมัครได้ทุกเขตเลือกตั้งในจังหวัด โดยเห็นว่า ไม่ควรไปขัดขวาง เมื่อทุกพรรคการเมืองที่ร่วมยกร่างกฏหมายมีความเห็นส่วนใหญ่ตรงกัน
สำหรับการพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ว่า ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ในวันพุธที่ 30 พฤศจิกายนนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีวาระพิจารณาเพียงเรื่องเดียว ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ อาจจะต้องใช้ระยะเวลาคุยกันกันยาว
ทั้งนี้ตามเนื้อหาของร่างฯ สูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ หารด้วย 100 นั้น ถูกต้องแล้ว แต่ตามคำร้องมีการอ้างถึงถ้อยคำในรัฐธรรมนูญ “พึงมี” ของการคำนวณ ส.ส.