“สามารถ” แฉ 10 ข้อกังขา ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

28 พ.ย. 2565 | 10:40 น.
อัปเดตล่าสุด :28 พ.ย. 2565 | 17:55 น.

“สามารถ”แฉ 10 ข้อสังเกต ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฟันธง “ครม.”อนุมัติแน่ พร้อมแนะโครงการขนาดใหญ่จะโปร่งใสต้องมี 3 ปัจจัยหลัก เตือน "บิ๊กตู่"ต้องไม่หวังผลทางการเมือง

งานเสวนา  “THE BIC ISSUE 2022  ความโปร่งใสในการประมูลงานภาครัฐ กับอนาคตประเทศไทย”  จัดโดย “ นสพ.ฐานเศรษฐกิจ” เมื่อวันที่ 28 พ.ย.2565  ที่โรงแรมมิราเคิล  แกรนด์ คอนแวนชั่น

 

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)  แสดงความเห็น ในหัวข้อ “ความโปร่งใสการประมูลเมกะโปรเจ็กต์” โดยตั้งข้อสังเกต 10 ข้อ ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มและความเสียหายที่เกิดขึ้นว่า 

 

ข้อสังเกตข้อที่1   ถ้า รฟม. ไม่ล้มประมูล BTSC  และ STEC อาจจะชนะการประมูล  รัฐจะประหยัดเงินได้ถึง  6.8     หมื่นล้านบาท 

 

ข้อสังเกตข้อที่ 2   รฟม. เปลี่ยนเกณฑ์การประมูล หลังจาก ITD ขอให้เปลี่ยนแค่ 2 สัปดาห์  ทั้งที่  รฟม.ใช้เวลาศึกษานานเกือบ 2 ปี เหตุผลในการเปลี่ยนฟังไม่ขึ้น
 

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

 

ข้อสังเกตข้อที่ 3  การประมูลครั้งที่ 2 เหตุใด รฟม.จึงลดคุณสมบัติของผู้เดินรถไฟฟ้าลง แต่เพิ่มคุฯสมบัติของผู้รับเหมาขึ้น  

ข้อสังเกตข้อที่ 4  ถ้า  รฟม. ไม่ลดคุณสมบัติของผู้เดินรถไฟฟ้าลง ผู้เดินรถไฟฟ้าจากเกาหลีใต้  (ITC) จะไม่สามารถร่วมประมูลกับ ITC ได้  ถ้า รฟม. ไม่เพิ่มคุณสมบัติของผู้รับเหมาขึ้น BTSC  และ STEC จะสามารถยื่นประมูลครั้งที่ 2 ได้ด้วย

 

ข้อสังเกตข้อที่ 5  กรณีที่ ITC ไม่สามารถยื่นประมูลกับ ITC  ทาง ITC  ก็ยังสามารถยื่นประมูลกับ BTSC  ได้   ซึ่ง BTSC และ ITC จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ BEM  จึงไม่จำเป็นต้องลดคุณสมบัติของผู้เดินรถไฟฟ้าลง

 

ข้อสังเกตข้อที่ 6  รฟม. ให้ผู้รับเหมาเป็นผู้นำกลุ่มได้ ทำให้ ITC สามารถเป็นผู้นำกลุ่ม ITC Group ( ITC+ ITC ) ยื่นประมูลได้ ถ้าผู้รับเหมาเป็นผู้นำกลุ่มไม่ได้ ผู้เดินรถไฟฟ้าจะต้องเป็นผู้นำกลุ่มเหมือนการประมูลครั้งที่ 1 ถามว่า ITC จะยอมเป็นผู้นำกลุ่มหรือไม่ 

 

อสังเกตข้อที่ 7 กรรมการคนหนึ่งของ ITC  ได้รับโทษจำคุกอาจทำให้  ITC  มีคุณสมบัติขัดหรือแย้งกับประกาศของคณะกรรมการ PPP

 

ข้อสังเกตข้อที่ 8 รฟม.     เพิ่มคะแนนผ่านเกณฑ์เทคนิคสูงขึ้นกว่าการประมูลครั้งที่1 และสูงกว่าโครงการอื่น สงสัยว่า กีดกันเอกชนรายใดรายหนึ่งไม่ให้ผ่านเกณฑ์เทคนิคหลังผ่านเกณฑ์คุณสมบัติหรือไม่

 

อสังเกตข้อที่ 9 รัฐต้องจ่ายค่าก่อสร้างแพงขึ้นถึง 6.8 หมื่นล้านบาท การประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วยปกป้องผลประโยชน์ของพี่น้องและประเทศชาติหรือไม่ 

 

ข้อสังเกตข้อที่ 10 “ข้อตกลงคุณธรรม”ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะไม่มีการทุจริต ACT ควรระวังไม่ให้เป็น”ตรายาง”รับรองการประมูลว่า ไม่มีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริต”
 

 

านเสวนา  “THE BIC ISSUE 2022  ความโปร่งใสในการประมูลงานภาครัฐ กับอนาคตประเทศไทย”

ดร.สามารถ กล่าวว่า ภาคประชาชน  มีบทบาทสูง ในการส่งเสียงไปยัง ครม.  ถ้าครม. พิจารณาทั้ง 10 ข้อที่ได้แฉไปแล้ว น่าจะพิจารณาได้ว่าควรอนุมัติหรือไม่ เห็นชัดว่า กรรมการตาม มาตรา 35 มีความโปร่งใสหรือไม่  ถ้าไม่มีการเปลี่ยนเกณฑ์การประมูล ทำไมต้องเปลี่ยนเกณฑ์  อ้างต้องใช้เทคนิคชั้นสูง ฟังขึ้นหรือไม่  และการใช้เกณฑ์ประมูลเดิมใช้เทคนิค และผลตอบแทน ต้องได้ไม่น้อยกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ถามว่า มีเจตนาทำเพื่อใคร 


ส่วนวิธีการป้องกันโครงการขนาดใหญ่ไม่ให้เกิดการทุจริตนั้น ดร. ให้ความเห็นว่า วิธีการแรกเลือกคนที่รับผิดชอบโครงการระดับหน่วยงาน  คนนั้นต้องตั้งใจทำตามโครงการให้ดีที่สุด  ถ้าตัวบุคคลดี ยืนยันในความถูกต้องโครงการออกมาดีแน่  ดังนั้นต้องเกิดจากสามฝ่าย หนึ่งผู้บริหารโครงการ สองผู้รับเหมา สามที่ปรึกษาโครงการสำคัญมาก เป็นมือเป็นเท้าของโครงการนั้น เมื่อศึกษาแล้วก็เปลี่ยนได้ 

 

อย่างไรก็ดี ไม่ว่าทั้ง 3 ปัจจัยจะสำคัญสุดท้ายแค่ไหน ที่สำคัญยิ่งกว่า อยู่ที่ผู้นำของประเทศสำคัญที่สุด  ที่จะทำให้โครงการน่าเชื่อถือหรือไม่ พร้อมเตือนว่ารัฐบาลอย่าหวังผลทางการเมืองเป็นสำคัญที่สุด และให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน  ขอให้ช่วยกันดูว่าโครงการนี้มีความโปรงใสเป็นธรรมหรือไม่  ถ้าครม.ยังเดินหน้าโครงการนี้ ผมจะเลิกเชื่อถือทุกคนที่ในครม.พร้อมบอกว่ารัฐบาลจะใช้นโยบายปราบปรามการคอร์รัปชั่น

 

ดร.สามารถ กล่าวทิ้งท้ายว่า เชื่อว่า ครม. จะอนุมัติรถไฟฟ้าสายสีส้มแน่นอน เนื่องจากโครงการนี้ รฟม.เจ้าของโครงการจะพยามยามผลัดดันทุกวิถีทางเพื่อให้โครงการเกิดขึ้นเร็วที่สุด และเชื่อว่าจะทำได้ด้วย