จากรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถึง ความเหลื่อมล้ำ คมนาคมไทยยุครัฐบาล”ประยุทธ์”

23 พ.ย. 2565 | 08:06 น.
อัปเดตล่าสุด :23 พ.ย. 2565 | 17:03 น.

"ทวี สอดส่อง" โพสต์เฟซบุ๊ก ตีแผ่บทความ ผลตรวจสอบคดีประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม ถึง ความเหลื่อมล้ำ คมนาคมไทย 8ปี รัฐบาล ”ประยุทธ์”

 

 

 

 

พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ ตีแผ่ บทความ “ความเหลื่อมล้ำ คมนาคม ไทย ยุครัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์”   ผ่านเฟซบุ๊ก “  Tawee Sodsong -พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง”  เมื่อ วันที่23 พฤศจิกายน 2565  ระบุว่า 

 

ตามที่ ดร. สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ พรรคก้าวไกล กับพวกได้ยื่นฟ้องศาลปกครองกลางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุน 235,320 ล้านบาทโดยพบว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่อจะเป็นการทุจริตครั้งใหญ่ ก่อนการเลือกตั้งที่จะมาถึงที่มีมูลค่ารัฐบาลต้องเสียหายจำนวน 68,612.53 ล้านบาท

 

 

คมนาคมรัฐบาลประยุทธ์ กระจุกไม่กระจาย

หากปล่อยให้มีการอนุมัติประเทศไทยต้องเสียผลประโยชน์มหาศาล เพราะพบว่ามีกระบวนการ “ปั้นตัวเลข” มา “ปั่นโครงการ” และในวันนี้ใกล้จะ “ปันผลประโยชน์” สำเร็จแล้ว หากถูกส่งไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แน่นอนว่าเมื่อไปถึงครม. ซึ่งจะทำให้เงินภาษีของประชาชนถูกใช้เกินจำเป็น 68,612.53 ล้านบาทสร้างความเสียหายทันที 

 

ข้อมูลที่รับฟังการชี้แจงทั้งอนุกรรมาธิการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่สภาผู้แทนราษฎรและจากการติดตามการเสนอของฝ่ายต่างๆพบว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯไม่ชอบด้วยกฎหมาย

  • ตาม มาตรา 6 (5) พรบ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการจัดทำและดำเนินโครงการร่วมลงทุนรวมถึงกระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้อง
  • มาตรา 11 และมาตรา 12 พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มีมูลน่าเชื่อว่ามุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพื่อเอื้ออำนวยแก่ผู้เข้า ทำการเสนอราคา รายใดให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐหรือการล็อคเสปค กีดกันและเอื้อประโยชน์ อาทิ

การกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลครั้งที่ 2 มีการแก้ไขหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติของผู้เสนอราคาให้แตกต่างไปจากการประมูลครั้งที่ 1 ที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่า ‘การยกเลิกการประมูลดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย’ กล่าวคือ

 

ข้อ 1 มีการเปลี่ยนเกณฑ์คุณสมบัติ-เงื่อนไขการใช้ผลงาน โดยกำหนดผลงานโยธาต้องเป็นคู่สัญญา โดยตรงกับหน่วยงานของรัฐบาลไทย

 

ข้อ 2 มีการเปลี่ยนเกณฑ์คุณสมบัติการใช้ผลงานโยธาที่อยู่ระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จ ไม่ให้สามารถเข้าเสนอราคาได้

 

ความไม่โปร่งใสและตรวจสอบไม่ได้ มีผลกีดกันและสมยอมราคา กล่าวคือ

 

พบการกีดกัน BTS ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ประเทศไทยมีเพียง 2 รายเท่านั้น และได้ให้บริการเดินรถในประเทศไทยยาวนานประมาณ 23 ปี ไม่ให้มีสิทธิ์เข้าประมูลรอบใหม่คุณสมบัติต้องห้ามของผู้ผ่านการพิจารณาข้อเสนอด้านคุณสมบัติ

 

ประการสำคัญคือพรบ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 มาตรา 33 บัญญัติ ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนตาม พรบ.นี้

 

โดยเอกชนที่มีลักษณะดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับคัดเลือกเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุน ประกอบกับประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เรื่อง ลักษณะของเอกชนที่ไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมทุน พ.ศ. 2562 ข้อ 3 เอกชนที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

 

ถือเป็นเอกชนที่มีลักษณะไม่สมควรให้ร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนตาม พรบ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ..(3) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดกรณีของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ประธานบริหารและกรรมการ ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ดังนั้น ด้วยบทบัญญัติของกฎหมายที่มีสภาพบังคับมิให้เอกชนที่มีลักษณะดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับคัดเลือกเป็นคู่สัญญาร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุน

 

ดังนั้น บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) จึงไม่สมควรผ่านเกณฑ์คุณสมบัติให้ได้รับคัดเลือกเป็นคู่สัญญา แต่รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ดันทุรังให้บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จากัด (มหาชน) (ITD) ผ่านทั้งเกณฑ์คุณสมบัติ และเทคนิค

 

แม้จะมีเสียงทักท้วงจาก BTS ถึงความไม่ถูกต้อง จึงมองได้อย่างเดียวว่า มีเจตนาเคลือบแฝง คือต้องการให้มีผู้ผ่านเกณฑ์มากกว่า 1 ราย เพื่อเปิดซองราคา เป็นคู่เทียบ ที่กล้าทำก็เพราะน่ารู้อยู่แล้วว่าใครจะเป็นผู้ชนะ และถึงแม้เกิดการพลิกล็อก ITD ยื่นขอเงินสนับสนุนต่ำกว่า ก็ยังสามารถจัดการตี ITD ให้ตกในขั้นตอนสุดท้ายได้อยู่ดี โดยไม่ว่าจะออกหน้าใหน ผู้ได้ผลประโยชน์ก็ยังเป็นผู้รับเหมาเจ้าเดิมอยู่ดี

.

จึงเห็นได้ว่า ถ้าขั้นตอนการประเมินและผลการประเมินย่อมไม่มีความน่าเชื่อถือ เปรียบดั่งผลไม้ของต้นไม้ที่มีพิษ (fruit of the poisonous tree) นี่ยังไม่นับถึงการประเมินที่ว่องไว รนราน จนเป็นสถิติ ที่โครงการแสนล้านใช้เวลาประเมินทางเทคนิคไม่ถึง 2 สัปดาห์ รวมถึงการเจรจาในขั้นตอนสุดท้ายที่กระทำอย่างรีบเร่ง

 

 ที่สำคัญ “ส่วนต่าง 68,612.53 ล้านมีอยู่จริง” ต้องไปพิสูจน์ทราบให้ได้ว่าทำไมการประมูลรอบแรก หาก BTS ชนะ รัฐจะอุดหนุนเพียง 9,675 ล้านบาท แต่ในการประมูลรอบสองซึ่ง BEM ชนะ รัฐต้องอุดหนุนมากถึง 78,288 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ในทางเทคนิคก็คือสร้างสิ่งเดียวกัน คือรถไฟฟ้าสายสีส้ม แบบการก่อสร้างก็ไม่ได้เปลี่ยน

 

พฤติการณ์ส่อทางทุจริตโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเพื่อเอื้ออำนวยให้กลุ่มผู้เสนอราคาเป็นผู้มีสิทธิในการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ ที่รัฐสูญเสียไปกว่า 6.8 หมื่นล้านบาท หรือรัฐจะต้องนำงบประมาณส่วนอื่นมาชดเชย

 

ประเมินว่าอาจจะสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ประเทศชาติและสาธารณชนส่วนรวมที่เป็นความผิดทางอาญาร้ายแรง และอันตรายที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ที่ชี้การชี้เบาะแส รัฐธรรมนูญได้ให้ความคุ้มครอง (ตามมาตรา 63) 

 

ผลที่เกิดขึ้น “คมนาคมไทย” ไม่สะท้อนการพัฒนาประเทศ ไม่สอดรับเศรษฐกิจฐานราก...ต้องเร่งแก้ไขลดความเหลื่อมล้ำรัฐควรส่งเสริมลดต้นทุนค่าเดินทางภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง แก้! ปัญหาขนส่งแพงจากเหตุปัจจัยค่าน้ำมันที่สูงลิ่ว ...วางอนาคต..ต้องกระจายอำนาจลงท้องถิ่นเพื่อกระจายระบบขนส่งสาธารณะเข้าถึงท้องถิ่น ตจว.มากขึ้น

 

สะท้อนว่ารัฐบาลยุคประยุทธ์ 8 ปี แผนลงทุนคมนาคมไม่สะท้อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนและช่วยเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริงจากการติดตามยังพบความผิดปกติในงบประมาณของกระทรวงคมนาคม พบว่าเกิด (Overlap) ความเหลื่อมล้ำ..ซ้ำซ้อนในหลายโครงการ เช่น

  •  รัฐบาลทุ่มงบฯสร้าง ซ่อมถนน ปีงบประมาณละ 2 แสนล้าน...แต่ซุกหนี้ ผลักภาระ/เพิ่มหนี้ภาคประชาชนในรูปของค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หนี้สาธารณะ งบคมนาคมกระจุกตัวในจังหวัดรัฐมนตรีในรัฐบาล สร้างความเหลื่อมล้ำในการเดินทาง มุ่งสร้างถนนเพื่อขนรถ แต่ขนส่งมวลชนที่ขนคนที่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยขาดการพัฒนา รัฐให้ความสำคัญน้อย และขาดการเหลียวแล เพิ่มค่าใช้จ่ายให้ประชาชนในทุกครัวเรือน

 

  • รัฐบาลทุ่มงบสร้างทางหลวง ทางหลวงชนบทบางพื้นที่...แต่...ไม่ทุ่มงบให้ระบบรถเมล์และขนส่งสาธารณะ.ผลักภาระค่าน้ำมันทุกภาคส่วน (ธุรกิจ อุตสาหกรรม ประชาชน)

 

  • รัฐบาล สร้างรถไฟฟ้ากระจุก แต่ ไม่กระจายการพัฒนารถไฟให้ประชาชนในภูมิภาค 77 จังหวัดได้ใช้งานอย่างทั่วถึง

 

  • รัฐบาลสร้างวลีปราบโกง แต่ ดัชนีรับรู้การทุจริตไทยได้คะแนนเพียง 35 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ตกต่ำไปอยู่อันดับที่ 110 ของโลก(จากทั้งหมด 180 ประเทศ) ส่อให้เห็นถึงการปล่อยโกง ฮั้วงาน คอรัปชั่น งบก่อสร้าง อู้ฟู่!!! 

เทียบงบประมาณ ปี65กับปี66 กระทรวงคมนาคม