จากกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะกลับประเทศไทยวันที่ 10 ส.ค.66 ที่สนามบินดอนเมือง ตามโพสต์ของน.ส.แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย บุตรสาว
ต่อเรื่องดังกล่าวนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กำชับกรมราชทัณฑ์ให้ดูแล 3 เรื่องเป็นพิเศษ ได้แก่
ขณะที่เรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น นายวิษณุระบุว่าเป็นสิทธิของผู้ต้องขังทุกคนอยู่แล้ว เพียงแต่มีเงื่อนไขคือต้องเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการรับโทษต้องถูกคุมขัง และเมื่อพร้อมต้องเขียนฎีกาอธิบายค่อนข้างยืดยาว เพราะเมื่อยื่นไปแล้ว ถ้าไม่มี โปรดเกล้าฯ ลงมา จะยื่นอีกไม่ได้ภายใน 2 ปี
นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ระบุว่า ราชทัณฑ์มีหน้าที่รับตัวผู้ต้องขังตามหมายขังจากศาลเท่านั้น ทำอะไรนอกเหนือจากนี้ไม่ได้ ทุกอย่างมีขั้นตอนระบุชัดเจน
อย่างไรก็ดี ตามขั้นตอน หากนายทักษิณเดินทางเข้าประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จะเป็นหน่วยงานแรกที่รับตัว ผู้ต้องหาตามหมายจับ จะทำบันทึกจับกุมก่อนนำตัวไปยังศาล เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน
หลังจากนั้นศาลจะออกหมายขัง โดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่อยู่ประจำศาลจะรับตัวตามหมายขัง เพื่อนำตัวไปควบคุมยังเรือนจำที่ศาลกำหนด คาดว่าจะเป็นเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ
อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกรายจะถูกควบคุมตัวอยู่ในห้องกักโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเวลา 5 วัน และต้องได้รับการตรวจสุขภาพจากสถานพยาบาลของเรือนจำ
ส่วนกรณีนายทักษิณ อายุ 74 ปี ถือเป็นผู้ต้องขังสูงอายุและจะแยกควบคุมในห้องกักโรคเฉพาะผู้สูงอายุ หากมีโรคประจำตัวที่จะต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ทางกรมราชทัณฑ์จะมีแพทย์ประจำเรือนจำที่จะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการจำแนกผู้ต้องขัง โดยจะนำตัวไปยังห้องกักโรคของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ต่อไป
สำหรับนายทักษิณ มีคดีที่ถูกพิพากษาไปแล้ว 4 คดี มีโทษจำคุกรวม 12 ปี หากกลับประเทศไทยจะมีโทษถูกจำคุกทันที แต่ปัจจุบัน 1 ใน 4 คดีหมดอายุความแล้ว ทำให้เหลือเพียง 3 คดี และโทษจำคุกเหลือ 10 ปี ได้แก่
ด้านคดีที่หมดอายุความแล้ว คดีที่ยกฟ้อง และคดีที่ยกคำร้อง มีดังนี้