หลังจากที่นาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีและรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ออกมาให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 ระบุว่า ได้รับหนังสือการ ขอพระราชทานอภัยโทษ กรณีนาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้นั้น
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การขอพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้ เป็นการทำเรื่อง "ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย"
"ส่วนใครเป็นผู้เขียนขอพระราชทานอภัยโทษนั้น ไม่ขอตอบว่าเป็นใคร ซึ่งการเขียนขอพระราชทานอภัยโทษในครั้งนี้เป็นการขอเฉพาะบุคคลไม่เกี่ยวกับโอกาสวันสำคัญ ไม่ต้องดูว่ารับโทษมาแล้วเท่าใด เป็นพระมหากรุณาธิคุณทั้งนั้น" นายวิษณุกล่าว
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำให้มีการสอบถามกันอย่างกว้างขวาง กระบวนการ"ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย" เป็นอย่างไร และเมื่อ"ทักษิณ" ได้ทำหนังสือถึงนายวิษณุแล้ว นับจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อ
"เนชั่นทีวีออนไลน์" สื่อใหญ่ ได้ประมวลและรวบรวมข้อมูลจาก ส่วนอภัยโทษ สำนักทัณฑปฏิบัติ กรมราชทัณฑ์ มานำเสนอ เพื่อทำความเข้าใจการพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย ดังนี้
ความหมาย การพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์แก่ผู้ต้องโทษที่คดีถึงที่สุดแล้ว ให้ได้รับการปล่อยตัวหรือลดโทษแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ตาม พระราชอำนาจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 23 ) พ.ศ.2548 ภาค 7 อภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบาและลดโทษ มาตรา 259 ถึง มาตรา 267
ประเภทของการพระราชทานอภัยโทษ
กล่าวสำหรับ "การพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย" คือ การพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์หรือผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคล โดยการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษตามการถวายคำแนะนำของ "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม" ส่วนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยขององค์พระมหากษัตริย์
ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายฏีกา ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย ได้แก่
หมายเหตุ ทนายความ ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาการยื่นฏีกาทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
ขั้นตอน การขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
ผู้ต้องโทษ (โทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน) ที่คดีถึงที่สุดแล้ว และผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องราวทูลเกล้าถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษผ่านเรือนจำ/ ทัณฑสถาน หรือ"กระทรวงยุติธรรม"หรือ"สำนักราชเลขาธิการ" หรือ"กระทรวงการต่างประเทศ"หรือสถานทูต
หลังจาก รับเรื่องแล้ว "กรมราชทัณฑ์"จะส่งไปสอบสวนเรื่องราวยังเรือนจำ / ทัณฑสถานที่ควบคุมผู้ต้องโทษ จากนั้นจะเสนอความเห็นให้ "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม" ลงนาม เพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลฯผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสำนักราชเลขาธิการ
เมื่อทรงมี พระบรมราชวินิจฉัยเช่นไร ก็จะส่งผลฎีกาดังกล่าวให้กรมราชทัณฑ์ทราบและดำเนินการพร้อมทั้งแจ้งผลให้ผู้ยื่นเรื่องราวทูลเกล้าฯ ทราบ
ข้อมูลอ้างอิง เนชั่นทีวีออนไลน์