รู้จัก"พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล"เบียดเข้าวินนั่ง รมว.อุตสาหกรรม"ครม.เศรษฐา1"

03 ก.ย. 2566 | 01:24 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ก.ย. 2566 | 01:39 น.

รู้จัก"พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล" เบียดเข้าวินนั่ง รมว.อุตสาหกรรม "ครม.เศรษฐา1" ตามโควตาของพรรครวมไทยสร้างชาติ หลังมีการเปลี่ยนตัวผู้ที่จะเข้ามารับตำแหน่งหลายครั้ง ฐานเศรษฐกิจรวบรวมไว้ให้แล้ว

ครม.เศรษฐา1 ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเรียบร้อยแล้วเมื่อวันเสาร์ที่ 2 ก.ย.66 ที่ผ่านมา

โดยส่วนใหญ่เป็นไปตามโผรัฐมนตรีที่มีการคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ดี มีหนึ่งกระทรวงที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง นั่นก็คือกระทรวงอุตสาหกรรม 

จนในที่สุดก็ได้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รมว.) อย่างเป็นทางการ นั่นก็คือ "พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล" สส.นครศรีธรรมราช เขต 10 พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)

ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปทำความรู้จักกับ รมว.อุตสาหกรรม ในครม.เศนรษฐา1 คนนี้ให้มากยิ่งขึ้น

ประวัติส่วนตัว

  • วันเกิด : 19 ตุลาคม 2522 (อายุ 44 ปี)  

การศึกษา

  • ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
  • มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
     

รู้จักพิมพ์ภัทรา วิชัยกุลเบียดเข้าวินนั่ง รมว.อุตสาหกรรมครม.เศรษฐ1


การทำงาน

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550
  • อดีตประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ
  • อดีตรองประธานคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค
  • อดีตคณะกรรมาธิการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
  • อดีตคณะกรรมาธิการการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม
  • อดีตคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
  • อดีตคณะกรรมาธิการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุและผู้พิการ
  • อดีตคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554, 2555, 2556

ผลงานเด่น

  • เป็นแกนหลักในการประสานงานระหว่างท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานราชการระดับจังหวัด กรม และกระทรวงจนนำไปสู่การจัดสร้างโครงการประตูระบายน้ำหัวงานและอาคารประกอบโครงการประตูระบายน้ำคลองกลายบ้านนากุน ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช งบประมาณ 688,000,000 บาท
  • รับความเดือดร้อนจากประชาชน เข้าร่วมกับท้องที่ ท้องถิ่นและดำเนินการโดยเป็นแกนหลักในการผลักดัน จัดหางบประมาณ เร่งก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมคลองท่าเชี่ยว พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ หมู่ที่ 16 ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช งบประมาณ 59,374,000 บาท
  • เป็นแกนหลักในการระดมความร่วมมือและความคิดเห็นจากประชาชน จากท้องที่ ท้องถิ่น และรับประเด็นไปผลักดันจนนำไปสู่การก่อสร้าง ฝายชะลอน้ำบ้านทุ่งใหญ่พร้อมอาคารประกอบ ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชงบประมาณ 30,000,000 บาท
  • ผู้นำวิธีคิด “วาระเมืองสิชล” สร้างวิธีคิดการแก้ไขปัญหาแบบใหม่ด้วยการนำเอาความร่วมมือจากท้องถิ่น ท้องที่ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม มาสังเคราะห์ปัญหาร่วมกัน นำไปสู่การจัดระเบียบตามสภาพปัญหา ความเร่งด่วนและนำไปสู่การจัดระเบียบการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว หรือที่รู้จักในชื่อวาระเมืองสิชล
  • เป็นเจ้าของวิธีการทำงานที่ประชาชนชนรู้จักความเป็น “บุคคล” มากกว่าความเป็นนักการเมือง หรือพรรคการเมือง ความเป็นเนื้อเดียวกันระหว่างคนพื้นที่ที่ถูกประชาชนในพื้นที่ร่วมกันส่งให้ไปทำงานแทนในฐานะ “ผู้แทน” ทำให้เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของ “บุคคล” เป็นมนุษย์งานที่ต้องทำงานอย่างตรงกับความต้องการของประชน และในความเป็น “ผู้แทน” มีคุณลักษณะที่สำคัญคือ เข้าใจ เข้าถึง และรู้จักสภาพพื้นที่ นำประเด็นปัญหาความเดือดร้อนเข้าถกเถียงในสภาและนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม