เป็นอีกหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาล"เศรษฐา1"กำลังเร่งขับเคลื่อนให้เห็นผลเป็นรูปธรรม นั่นก็คือ การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ โดยในช่วงที่ผ่านมาทั้งรมว.กระทรวงแรงงานอย่าง นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รวมไปถึง นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ก็ได้เดินหน้าพูดคุยกับหลายภาคหลายส่วนเพื่อให้นโนบายนี้ได้เห็นภาพเด่นชัด
ล่าสุดในช่วงเช้าของวันที่ 18 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็ได้บอกเล่าว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ถือเป็นมาตรการระยะสั้นที่ต้องการดูแลประชาชน คาดว่าก่อนปีใหม่ ในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค.66 จะเห็นค่าแรงขั้นต่ำประมาณ 400 บาท
ก่อนที่รัฐบาล"เศรษฐา 1"จะเร่งดำเนินการปรับขึ้นค่าแรง วันนี้"ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปดูว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือ ค่าแรงขั้นต่ำของคนไทยในปัจจุบันนั้นเริ่มต้นที่เท่าไร และ สูงสุดเท่าไร โดยได้รวบรวมข้อมูลมาจากประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 11) ซึ่งประกาศให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ -ค่าแรงขั้นต่ำของคนไทย
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 328 บาท จำนวน 5 จังหวัด
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 332 บาท จำนวน 22 จังหวัด
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 335 บาท จำนวน 19 จังหวัด
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 338 บาท จำนวน 6 จังหวัด
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 340 บาท จำนวน 14 จังหวัด
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 343 บาท จำนวน 1 จังหวัด
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 345 บาท จำนวน 1 จังหวัด
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 353 บาท จำนวน 6 จังหวัด
อัตราค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 354 บาท จำนวน 3 จังหวัด
สำหรับค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าว ทางครม.ชุดก่อนได้มีมติเห็นชอบปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั้งประเทศ ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างกระทรวงแรงงานเสนอ โดยอนุมัติการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ที่อัตรา 8-22 บาท/วัน หรือเพิ่มขึ้นต่ำสุดอยู่ที่ 328 บาท/วัน และเพิ่มขึ้นสูงสุดอยู่ที่ 354 บาท/วัน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 หลังจากไม่มีการปรับขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563
ที่มาภาพ-ข้อมูล