3 ตุลาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้ลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่256/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทําประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
โดยที่การแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นนโยบายเร่งด่วนสุดท้ายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2566 เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ โดยรัฐบาลจะหารือแนวทางในการทําประชามติที่ให้ความสําคัญกับการทําให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมออกแบบกฎ กติกาที่เป็นประชาธิปไตยทันสมัยและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รวมถึงการหารือแนวทางการจัดทํารัฐธรรมนูญในรัฐสภาเพื่อให้ประเทศ สามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 ให้แต่งตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทําประชามติที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกภาคส่วน ในการออกกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตย ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ตลอดจนสอดคล้องกับคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 11(6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทําประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่และอํานาจ ดังต่อไปนี้
1.องค์ประกอบ
1.1 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานกรรมการ
1.2 นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองประธานกรรมการ คนที่ 1
1.3 นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองประธานกรรมการ คนที่ 2
1.4 นายนิกร จํานง กรรมการ
1.5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
1.6 ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี (นายพิชิต ชื่นบาน) กรรมการ
1.7 พลเอก ชัชวาล ขําเกษม กรรมการ
1.8 พลตํารวจเอก สุเทพ เดชรักษา กรรมการ
1.9 พลตํารวจเอก วินัย ทองสอง กรรมการ
1.10 นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ กรรมการ
1.11 นายศุภชัย ใจสมุทร กรรมการ
1.12 นายวิรัตน์ วรศสิริน กรรมการ
1.13 นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท กรรมการ
1.14 นายวิเชียร ชุบไธสง กรรมการ
1.15 นายวัฒนา เตียงกูล กรรมการ
1.16 นายยุทธพร อิสรชัย กรรมการ
1.17 นายไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมการ
1.18 นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย กรรมการ
1.19 นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา กรรมการ
1.20 นายประวิช รัตนเพียร กรรมการ
1.21 นายนพดล ปัทมะ กรรมการ
1.22 นายธนกร วังบุญคงชนะ กรรมการ
1.23 นายธงชัย ไวยบุญญา กรรมการ
1.24 นายเทวัญ ลิปตพัลลภ กรรมการ
1.25 นายเดชอิสม์ ขาวทอง กรรมการ
1.26 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ กรรมการ
1.27 นายชาติพงษ์ จีระพันธุ กรรมการ
1.28 นายชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์ กรรมการ
1.29 นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี กรรมการ
1.30 นางสาวสิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ กรรมการ
1.31 นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ กรรมการ
1.32 ผู้แทนพรรคก้าวไกล กรรมการ
1.33 ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการ
1.34 รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ (นายนพดล เภรีฤกษ์)
1.35 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ (นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ)
หน้าที่และอํานาจ
2.1 พิจารณาศึกษาแนวทางในการทําประชามติที่ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วม ของประชาชนในทุกภาคส่วนในการออกกฎ กติกาที่เป็นประชาธิปไตยทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ตลอดจนสอดคล้องกับคําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ หารือแนวทางการจัดทํารัฐธรรมนูญในรัฐสภา เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่มากขึ้นและประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงรวมทั้งเป็นไปตามคําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2566
2.2 ให้คณะกรรมการมีอํานาจเชิญผู้แทนส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความเห็น หรือส่งเอกสาร หลักฐานใด ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
2.3 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทํางาน หรือมอบหมายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ หรือดําเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ตามความจําเป็น
2.4 ให้คณะกรรมการรายงานผลการดําเนินงานต่อนายกรัฐมนตรี
3.การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางาน ให้เป็นตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2547 หรือตามระเบียบทางราชการแล้วแต่กรณี โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป