จังหวัดไหนมีผู้ชาย-ผู้หญิงมากกว่ากัน เป็นคำถามที่มีคำตอบยืนยันชัดเจนแล้ว
หลังจาก "กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย" ได้เปิดเผยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2567 จากการรวบรวมจำนวนราษฎรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ สิ้นปี 66
ข้อมูลทะเบียนราษฎรดังกล่าวพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนราษฎรทั่วประเทศ ทั้งสิ้น 66,052,615 คน ลดลงจากสิ้นปี 65 จำนวน 37,860 คน
ในจำนวน 66,052,615 คน แบ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย 65,061,190 คน ไม่มีสัญชาติไทย 991,425 คน
กรุงเทพมหานคร มีจำนวนราษฎรมากที่สุดคือ 5,471,588 จังหวัดสมุทรสงคราม มีจำนวนราษฎรน้อยที่สุดคือที่ 187,993 คน
และที่น่าสนใจคือแบ่งเป็นราษฎรเพศชาย 32,224,008 คน เป็นราษฎรเพศหญิง 33,828,607 คน เท่ากับว่าประเทศไทยมีจำนวนราษฎรผู้หญิงมากกว่าผู้ชายจำนวน 1,604,599 คน
ฐานเศรษฐกิจ เจาะลึกจำนวนราษฎรเพศชายและเพศหญิงในกลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนราษฎรตั้งแต่ 1 ล้านคนขึ้นไป พบว่ามีทั้งหมด 20 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ รวม 21 จังหวัด ตามลำดับ ดังนี้
1. กรุงเทพฯ 5,471,588 คน
2. นครราชสีมา 2,625,794 คน
3. อุบลราชธานี 1,869,608 คน
4.เชียงใหม่ 1,797,074 คน
5. ขอนแก่น 1,779,373 คน
6.ชลบุรี 1,618,066 คน
7.บุรีรัมย์ 1,573,230 คน
8.อุดรธานี 1,558,528 คน
9. นครศรีธรรมราช 1,540,953 คน
10. ศรีสะเกษ 1,450,333 คน
11.สงขลา 1,431,959 คน
12.สมุทรปราการ 1,372,970 คน
13.สุรินทร์ 1,367,842 คน
14. นนทบุรี 1,308,092 คน
15. เชียงราย 1,298,977 คน
16. ร้อยเอ็ด 1,284,836 คน
17. ปทุมธานี 1,219,199 คน
18. สกลนคร 1,142,657 คน
19. ชัยภูมิ 1,113,378 คน
20. สุราษฎร์ธานี 1,075,788 คน
21. นครสวรรค์ 1,021,883 คน
ดูข้อมูล จำนวนราษฎรทุกจังหวัดล่าสุดได้ที่นี่ : ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566