วันที่ 21 เมษายน 2567 นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อมด้วยคณะได้เดินทางไปดูสถานการณ์ชายแดนไทย – เมียนมา ด้าน อ.แม่สอด จังหวัดตาก เพื่อทราบสถานการณ์การสู้รบระหว่างทหารสหภาพแห่งขาติกะเหรี่ยง(KNU.)กองพลน้อยที่ 6. และ KNUPC.รวมทั้งกองกำลัง PDF. กองกำลังปกป้องประชาชนของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ในพื้นที่จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง หลายจุด
โดยเฉพาะจุดการปะทะที่บริเวณบ้านเหย่ปู่ ห่วงจากด่านพรมแดนไทย เมียนมา (แม่สอด- เมียวดี) ตรงข้ามบ้านวังตะเคียนใต้ ตำบลท่าสายลวด อ.แม่สอด ประมาณ 1.5 กิโลเมตร เป็นจุดที่มีการสู้รบหนักที่สุดทั้งการใช้โดรนทิ้งระเบิดของฝ่ายต่อต้านทหารเมียนมา และฝ่ายเมียนมาใช้เครื่องบินรบ และเฮลิคอปเตอร์ปฏิบัติการทางอากาศ ทำให้มีคนเสียชีวิต ทั้งประชาชน และเจ้าหน้าที่ รวมทั้งฝ่ายต่อต้าน ซึ่งหลังจากไปพื้นที่พักพิงมาแล้วได้เดินทางไปที่สภ.แม่สอดเข้าหารือกับฝ่ายตำรวจ
โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้พบกับ พล.ต.ท.กิติศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 และ พล.ต.ท.ยงเกียรติ มนประณีต ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ลงพื้นที่ชายแดน อำเภอแม่สอดติดตามสถานการณ์ชายแดนเช่นกัน ซึ่งได้ประชุมร่วมกันในห้องประชุม ถึงสถานการณ์การสู้รบ และการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย
นายสมชัย กล่าวว่า ได้ไปติดตามสถานการณชายแดน และดูผู้หนีภัยจากการสู้รบ ซึ่งขณะนี้มีการพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว 3 แห่ง ผู้หนีภัยจากการสู้รบในพื้นที่ อ.อุ้มผาง พบพระ อ.แม่สอดทั้งหมด 3,000 คนเศษจากเดิน 5 จุด ล่าสุดการสู้รบเบาบางลงในบางพื้นที่ ผู้หนีภัยบอกว่า อยากกลับไปดูบ้าน เพราะเป็นห่วงทรัพย์สินก็ให้กลับไป ส่วนทางประเทศไทยยังคงประสานงานกับ คณะกรรมการชายแดนไทย-เมียนมาส่วนท้องถิ่น (ทีบีซี.) เหมือนเดิม จากนี้ไปในการวางแผนการรองรับผู้หนีภัยจากการสู้รบ จะมีการปรับแผนกันบ้าง ซึ่งได้หารือกับฝ่ายตำรวจตระเวนชายแดน และตำรวจภูธรด้วย ส่วนเรื่องปลอดภัยของผู้ลี้ภัยนั้น มีความปลอดภัยแน่นอน
สำหรับสถานการณ์การสู้รบในวันนี้ มีเครื่องบินเมียนมา มาทิ้งระเบิดหลายรองใส่จุดที่ฝ่ายต่อต้านอาศัยอยู่ดังก้องถึงอ.แม่สอด แต่ในช่วงบ่ายกลับเงียบลงจนถึงขณะนี้
สำหรับยอดผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบ ในพื้นที่ อ.แม่สอด และ อ.อุ้มผาง ประกอบด้วย
อ.แม่สอด พื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว จำนวน 2 แห่ง ดังนี้พื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว ท่าข้ามสินค้า 25 ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก มียอดผู้อพยพ 791 คน (ชาย 246 คน ,หญิง.338, เด็ก 207 คน) รวม 791 คน พื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว ท่าทรายรุจิรา ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด จ.ตาก มียอดผู้อพยพ 2,018 คน (ชาย 852 คน ,หญิง 670 คน ,เด็ก 496)
สำหรับการให้การช่วยเหลือของส่วนราชการและองค์กรเอกชน- ทหาร, ตำรวจ, ฝ่ายปกครอง ดูแล/จัดระเบียบพื้นที่ - กิ่งกาชาด, ฝ่ายปกครอง จัดหาอาหาร น้ำดื่ม และที่พักอาศัย อ.อุ้มผาง มีพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว จำนวน 1 แห่ง ดังนี้ พื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว บ้านหนองหลวง ต.หนองหลวง อ.อุ้มผาง จ.ตาก ยอดเดิม 77 คน (ชาย 16, หญิง 21 คน ,ด.ช.10,ด.ญ.21 คน) (เด็กเล็ก ชาย 4 คน , หญิง 5 คน)