กกต.พบ 1,402 ผู้สมัคร สว. 73 จังหวัด เป็นสมาชิกพรรค-ไม่ผ่านคุณสมบัติ

29 พ.ค. 2567 | 09:43 น.

กกต.พบ 1,402 ผู้สมัคร สว. ใน 73 จังหวัด ไม่ผ่านคุณสมบัติ เหตุเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เปิด 5 จังหวัดมากสุด “นครศรีธรรมราช 81 -ศรีสะเกษ 80 - มุกดาหาร 74 – สงขลา 70 คน – เชียงใหม่ 69 -บุรีรัมย์ 43 คน” เผยหากทำผิดจริงโทษสูงถึงขั้นติดคุก-ตัดสิทธิเลือกตั้ง

วันนี้(29 พ.ค.67) มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า หลังจาก กกต.กำหนดวันรับสมัคร สว. ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ค. 2567 ใน 20 กลุ่มอาชีพ มีผู้ประสงค์ลงสมัคร สว. ทั่วประเทศ จำนวน 48,117 คน และตามกรอบระยะเวลากฎหมายจะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน โดยครบกำหนดในวันนี้นั้น

กกต.ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น พบผู้สมัคร สว.ที่มีลักษณะต้องห้าม ที่ห้ามผู้สมัคร สว. เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ตามมาตรา 14 (21) แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 จำนวน 1,402 ราย โดยทั้งหมดเป็นสมาชิกพรรคการเมือง สังกัดหลากหลายพรรค ทั้งพรรคการเมืองชื่อดังที่อยู่ร่วมรัฐบาล และพรรคการเมืองฝ่ายค้าน รวมไปถึงพรรคการเมืองขนาดเล็ก


สำหรับผู้สมัคร สว.ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง จำนวน 1,402 คน แบ่งเป็นรายจังหวัด รวม 73 จังหวัด จากทั้งหมด 77 จังหวัด เรียงจังหวัดที่มากสุดถึงน้อยสุด ดังนี้

1. นครศรีธรรมราช 81 คน

2. ศรีสะเกษ 80 คน

3. มุกดาหาร 74 คน

4. สงขลา 70 คน

5. เชียงใหม่ 69 คน

6. บุรีรัมย์ 43 คน

7. อำนาจเจริญ 40 คน

8. ราชบุรี 39 คน

9. หนองบัวลำภู 36 คน

10. สมุทรปราการ 36 คน

11. กระบี่ 35 คน

12. กรุงเทพมหานคร 34 คน

13. เพชรบุรี 34 คน

14. ปราจีนบุรี 34 คน

15. หนองคาย 34 คน

16. พระนครศรีอยุธยา 33 คน

17. ลำพูน 32 คน

18. นราธิวาส 31 คน

19. ลพบุรี 30 คน

20. พัทลุง 26 คน

21. เพชรบูรณ์ 25 คน

22. สุรินทร์ 24 คน

23. ตรัง 21 คน

24. เลย 19 คน

25. พิจิตร 19 คน

26. ปัตตานี 18 คน

27. เชียงราย 18 คน

28. ขอนแก่น 17 คน

29. สมุทรสาคร 17 คน

30. ชัยนาท 16 คน

31. สระแก้ว 15 คน

32. มหาสารคาม 15 คน

33. นครนายก 14 คน

34. ยโสธร 14 คน

35. ชัยภูมิ 14 คน

36. ลำปาง 13 คน

37. พิษณุโลก 12 คน

38. ร้อยเอ็ด 12 คน

39. สุราษฎร์ธานี 12 คน

40. ฉะเชิงเทรา 11 คน

41. นครราชสีมา 11 คน

42. ประจวบคีรีขันธ์ 9 คน

43. สตูล 9 คน

44. นนทบุรี 8 คน

45. สระบุรี 8 คน

46. อ่างทอง 8 คน

47. กาญจนบุรี 7 คน

48. ชลบุรี 7 คน

49. แพร่ 7 คน

50. ภูเก็ต 7 คน

51. แม่ฮ่องสอน 7 คน

52. ยะลา 8 คน

53. ระนอง 7 คน

54. สกลนคร 7 คน

55. สิงห์บุรี 7 คน

56. นครพนม 6 คน

57. นครสวรรค์ 6 คน

58. อุทัยธานี 6 คน

59. อุตรดิตถ์ 5 คน

60. ตาก 5 คน

61. สุโขทัย 5 คน

62. สุพรรณบุรี 3 คน

63. อุดรธานี 3 คน

64. จันทบุรี 3 คน

65. บึงกาฬ 3 คน

66. ปทุมธานี 3 คน

67. พังงา 3 คน

68. ชุมพร 2 คน

69. พะเยา 2 คน

70. นครปฐม 2 คน

71. ตราด 1 คน

72. น่าน 1 คน

73. อุบลราชธานี 1 คน

 

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้สมัคร สว. ที่มีลักษณะต้องห้ามสังกัดสมาชิกพรรคการเมือง มากที่สุดยังคงอยู่ในจังหวัดใหญ่ ภาคเหนือ และจังหวัดที่มีผู้มาสมัคร สว. ในช่วงวันสุดท้ายมากเป็นพิเศษ และปรากฏเป็นข่าว เช่น เชียงใหม่ ศรีษะเกษ มุกดาหาร บุรีรัมย์ ขณะที่นครศรีธรรมราช ครองแชมป์ ผู้สมัคร สว. ที่เป็นสมาชิกพรรคมากที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามที่ผู้สมัคร กรณีผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง ไม่สามารถสมัครเข้ารับเลือกเป็น สว. ได้ เว้นแต่ได้พ้นจากการดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก แต่หากเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ถ้าลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคแล้ว สามารถสมัคร สว.

โดยบทลงโทษตามมาตรา 74 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. หากผู้สมัคร สว.รู้ หรือควรรู้อยู่แล้วว่าไม่มีคุณสมบัติ หรือมีคุณสมบัติต้องห้ามที่จะสมัครได้ จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น 20 ปี 

หากผู้สมัครผู้นั้นได้รับการรับเลือกให้เป็น สว. ให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้นั้นคืนเงินประจำตําแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ที่ได้รับมาเนื่องจากการดำรงตําแหน่งแก่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา