หลังจากที่กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 มีจำนวนราษฎร รวมทั้งสิ้น จำนวน 66,090,475 คนทั่วประเทศ และเป็นสัญชาติไทย จำนวน 65,106,481 คน นั้น
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เผยแพร่ เอกสารแสดงผลการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ในการเลือกตั้งปี 2566 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 86 โดยคำนวณจากจำนวนราษฎร ณ วันที่ 31 ธ.ค.2565 (65,106,481 คน) หารด้วย จำนวน ส.ส.เขต(400 คน) จึงได้สัดส่วน ส.ส. 1คน ต่อจำนวนราษฎร162,766 คน
สำหรับจังหวัดที่มีจำนวนประชากรน้อยกว่าอัตราส่วนดังกล่าว ให้ถือว่ามี ส.ส. จำนวน 1คน และหากจัดสรรตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ยังได้จำนวนส.ส. ไม่ครบจำนวน 400 คน ให้เพิ่มจำนวน ส.ส. ไปอีกจังหวัดละ 1คน เรียงลำดับจากจังหวัดที่เหลือเศษประชากรมาก ไปน้อย จนครบจำนวน 400 คน
ส่งผลให้ มีจังหวัดที่ มีจำนวนส.ส. เพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้ง ปี 2562 ทั้งสิ้นจำนวน 43 จังหวัด แบ่งเป็น
จังหวัดที่ได้จำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น 3 คน จากปี 2562
จังหวัดที่ได้จำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น 2 คน จากปี 2562
จังหวัดที่ได้จำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น 1 คน จากปี 2562
โดยจังหวัดที่นอกเหนือจากนี้ จะมีจำนวน ส.ส.เท่ากับการเลือกตั้ง ปี2562
กระบวนการหลังจากนี้ กกต.จะต้องทำการแบ่งเขตพื้นที่เลือกตั้ง โดยต้องคำนึงถึง
ซึ่งการแบ่งเขตพื้นที่เลือกตั้งนี้ ถือว่ามีความสำคัญ เพราะสามารถส่งผลถึงความได้เปรียบเสียเปรียบ แก่ผู้สมัครได้