หากเอ่ยถึงหลักเศรษฐกิจ “BCG Model” ซึ่งเป็นนโยบายที่ภาครัฐผลักดันการพัฒนาประเทศโดยถือเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งมีการจัดทำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีการพัฒนาต่อยอดจากจุดแข็งของประเทศเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจำเป็นต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน
"กรมปศุสัตว์” เป็นหน่วยงานสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนางานด้านปศุสัตว์ให้มีความเจริญก้าวหน้า มีประสิทธิภาพได้มาตรฐานและปลอดภัยสำหรับการบริโภคทั้งภายในประเทศและส่งออกสินค้าปศุสัตว์ไปยังต่างประเทศ จึงถือว่าเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรไทย ซึ่งการดำเนินงานของกรมปศุสัตว์ล้วนเป็นการตอบสนองนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2565 ตามวิสัยทัศน์ “ภาคเกษตรมั่นคง เกษตรกรมั่งคั่ง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน” ที่มีแนวทางการขับเคลื่อนที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีความมั่นคง พัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ เน้นส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพตลอดห่วงโซ่อุปทานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และส่งเสริมงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
ครั้งแรกในไทย “ปศุสัตว์” ประกวดฟาร์มต้นแบบปศุสัตว์อินทรีย์ BCG Model ประจำปี พ.ศ. 2565 เผยโฉม 13 ฟาร์มต้นแบบ ถอดรหัส ความสำเร็จ อย่างไรให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม
กรมปศุสัตว์เล็งเห็นถึงความสำคัญของโมเดลดังกล่าวจึงได้ดำเนินโครงการประกวดฟาร์มต้นแบบปศุสัตว์อินทรีย์ BCG Model ประจำปี พ.ศ. 2565 ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นฟาร์มอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์จากกรมปศุสัตว์ และเป็นการเชิดชูฟาร์มที่ได้นำหลักการ BCG Model มาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์
ไขรหัสลับ ปศุสัตว์อินทรีย์ BCG Model
เปิดตัว 13 ฟาร์มคว้ารางวัล BCG Model
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2565 มีฟาร์มปศุสัตว์อินทรีย์ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นฟาร์มต้นแบบจากกรมปศุสัตว์จำนวน 13 ฟาร์ม โดยในจำนวนนี้ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นระดับยอดเยี่ยม 3 ฟาร์ม ได้แก่ 1.ไร่ผึ้งฝนฟาร์ม ระดับยอดเยี่ยม ประเภทฟาร์มโคนมอินทรีย์ , 2. บริษัท ฮิลไทรบ์ ออร์แกนนิคส์ จำกัด ระดับยอดเยี่ยม ประเภทฟาร์มไก่ไข่อินทรีย์, 3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์มหาสารคาม ระดับยอดเยี่ยม ประเภทแปลงพืชอาหารสัตว์อินทรีย์
นอกจากนี้ ยังมีฟาร์มต้นแบบที่ผ่านการคัดเลือกอีก 10 ราย ได้แก่
สำหรับฟาร์มเหล่านี้เป็นต้นแบบที่เด่นชัดในการนำหลัก BCG Model มาใช้ปฏิบัติจริงในฟาร์มให้เกิดเป็นรูปธรรมจนเกิดผลสัมฤทธิ์ โดยการทำปศุสัตว์อินทรีย์นั้น มุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้สารจากธรรมชาติ เช่น สมุนไพรไทย เพื่อลดการนำเข้าปัจจัยการผลิตสารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมีและยาสัตว์ เลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ
นอกจากนี้ผู้บริโภคยังได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารพิษตกค้าง อีกทั้งยังสอดรับตาม BCG Model ได้อย่างลงตัว ทั้งนี้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจศึกษางานในฟาร์มต้นแบบที่ได้รับรางวัลหรือต้องการรับทราบข้อมูลการรับรองปศุสัตว์อินทรีย์ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดท้องที่ ได้ทุกแห่ง