ดร.ไพศาล การถาง รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (มทร.พระนคร) กล่าวในงานฐานเศรษฐกิจสัมมนา CANNABIS WEALTH “สูตร (ลับ) ฉบับ รวยด้วย...กัญชา” หัวข้อ “ส่องโอกาส “กัญชา-กัญชง” ไทยบนเวทีโลก ” โดยระบุว่า สถานการณ์การปลูกกัญชาในไทยค่อนข้างยาก เพราะมีความเสี่ยงต่อการนำตัวผู้มาปลูก ซึ่งใช้ประโยชน์ไม่ได้ ดังนั้นต้องใช้ช่อดอกตัวเมียในการเพาะชำเพื่อส่งต่อให้กับเกษตรกรหรือชาวบ้านเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีได้ ไม่ว่าปลูกในโรงเรือนหรือกลางแจ้ง(Indoor Outdoor)
อย่างก็ตาม โดยหลักการของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (มทร.พระนคร) ขณะนี้กำลังเดินหน้าในการคัดสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ เพราะหากปลูกต้นพันธุ์Outdoor เมื่อเกิดช่อดอกจะต้องได้คุณภาพคือ ต้องทนต่อความชื้น และเชื้อรา
ไม่ว่าสายพันธุ์กัญชาหรือกัญชงในเมืองไทยสามารถจะพัฒนาได้ ซึ่งในจุดนี้มีความสำเร็จระดับหนึ่งแล้ว เห็นได้จาก “ทีมใต้ดิน”ที่ประสบความสำเร็วมาแล้วและมีหลายทีม เพียงแต่ในทางปฎิบัติในอนาคตจะเป็นจะต้องนำ “ทีมใต้ดิน”เข้ามาอยู่ในระบบที่ถูกต้อง
ในส่วนของมทร.พระนครเอง ต้นทางที่ทำนั้น เพราะมองว่ากัญชาเป็นนวัตกรรม และเพิ่มมูลค่าได้ ดังนั้นทีมงานจึงพยายามทำให้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึง เทคโนโลยีในการปลูก
ทั้งนี้ หลักการกัญชาในต่างประเทศนั้น หากจะทำในลักษณะเป็น ยากัญชา จะมีหน่วยงานวิจัยของประเทศเพื่อทำให้เป็นมาตรฐาน เพราะการจะออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ วันนี้ในต่างประเทศมีการพัฒนามาตรฐานที่จะนำมาเป็นตัวตรวจวัด ในการเป็นเงื่อนไขในการซื้อขายในอนาคต
เช่น NISTหรือมาตรฐานแห่งชาติและเทคโนโลยี ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐ ระดมสรรพกำลังจากทั่วโลกเพื่อสร้างมาตรฐาน เพื่อจะใช้เป็นมาตรฐานบอกถึงคุณภาพการนำเข้ากัญชาไปสู่ในประเทศของสหรัฐ
วันนี้ มาตรฐาน หรือข้อกำหนดและรายละเอียด จึงกลายเป็น สาระสำคัญที่ภาคธุรกิจต้องมาดู เพราะเรื่องมาตรฐานจะมีตั้งแต่ มาตรฐานเรื่องการปลูก กรณีถ้าจะส่งออก สิ่งหนึ่งที่คู่ค้าจะสอบถามคือ เราปลูกโดยมาตรฐานGSP หรือมาตรฐาน WHO-GACPหรือไม่
สำหรับพืชที่จะใช้ทางการแพทย์ จำเป็นต้องปลูกให้เป็นไปตามมาตรฐานตั้งแต่ต้นเพื่อให่สามารถส่งออกได้ แต่ในประเทศไทยปัจจุบันยังไม่มีการเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้
ดังนั้น หากมองไปข้างหน้าหากต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความสามารถทางการตลาดในอนาคต ทั้งภาคการเมืองหรือภาครัฐควรโฟกัสประเด็นเหล่านี้ เป็นสาระสำคัญในการขับเคลื่อน เรื่องการปลูก ขณะเดียวกันตัวสกัดก็ต้องมีการดำเนินการเช่นกัน ตรวจสารสกัด โดยเฉพาะสารผลิตภัณฑ์ที่ผ่านISO1705 เป็นอย่างน้อย เพื่อที่จะนำเข้าสู่การนำเข้าในประเทศ โดยต้องทำเป็นมาตรฐานหรืออยู่ในรูปมาตรฐานเหล่านั้น
ดร.ไพศาลกล่าวเพิ่มเติมว่า อีกประเด็นสำหรับประเทศไทย หน่วยงานมาตรฐานอาจจะยังมีน้อย ซึ่งไม่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจ อนาคต สามารถเป็นไปได้ โดยอาจทำให้หน่วยงาน ภาคเอกชนจัดตั้งห้องแล็ปมาตรฐานขึ้นมา เพื่อจะมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกเพื่อพัฒนามาตรฐานในประเทศและส่งออกต่างประเทศ