ธปท.ยันโอกาสเกิดStagflation น้อยมาก

19 พ.ค. 2565 | 10:44 น.
อัปเดตล่าสุด :19 พ.ค. 2565 | 18:16 น.

ผู้ว่าธปท.เผยโจทย์สำคัญระยะต่อไป ต้องทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด! ยัน Stagflationโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากกรณีไทย ชี้เงินเฟ้อสูงเกินกรอบเป้าหมาย ก่อนจะกลับสู่ระดับ 1.7%ในปี66 ย้ำชัดไม่เห็นภาพเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นวงกว้าง

  • 2ปีสินเชื่อเข้าสู่ระบบสูงถึง1.5ล้านล.

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวในงานเสวนา  Better THAILAND OPEN DIALOGUE “ถามมา ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” ในหัวข้อ “มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย”  ซึ่งรัฐบาล ร่วมกับ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เป็นเจ้าภาพจัดงาน เมื่อวันที่  19 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา

ธปท.ยันโอกาสเกิดStagflation น้อยมาก

ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า  ในช่วงวิกฤตโควิดที่ความเสี่ยงสูง  หัวใจสาคัญของการดำเนินนโยบายการเงินและมาตรการเงินของ ธปท. คือ ทำให้ระบบการเงินทำงานเป็นปกติที่สุด ซึ่งถือว่าเราทำได้ดีระดับหนึ่ง เห็นได้จาก แม้ เศรษฐกิจได้รับผล กระทบหนัก GDP หดตัว และฟื้นตัวช้ากว่าประเทศในภูมิภาค

 

แต่สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย (ธพ.) ยังขยายตัวได้ (ไตรมาส 1-65 สินเชื่อรวมของระบบ ธพ. โตถึง 6.9% สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย 6.3% ฟิลิปปินส์ 5.7% มาเลเซีย 4.7%) หากมองที่เม็ดเงินสินเชื่อเข้าสู่ระบบในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสูงถึง 1.5 ล้านล้านบาท

แต่ในช่วงนั้น ธปท. มองว่ายังไม่เพียงพอ เพราะมีบางจุดที่เม็ดเงินยังไม่ได้ไปในที่ที่ต้องการให้ไป โดยเฉพาะ SMEs จึงต้องออกมาตรการเสริมอย่างมาตรการเติมเงินใหม่ ได้แก่ พ.ร.ก. สินเชื่อ soft loan โดยสามารถปล่อยสินเชื่อได้ 1.4 แสนล้านบาท

 

และเมื่อเริ่มติดเงื่อนไขต่าง ๆ ก็ได้ปรับมาตรการตามสถานการณ์ โดยออก พ.ร.ก. ฟื้นฟู ซึ่งล่าสุดสามารถปล่อยสินเชื่อฟื้นฟูได้ 1.7 แสนล้านบาท เมื่อรวมกับสินเชื่อ soft loan เดิมแล้วสูงถึงกว่า 3 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณ 10% ของสินเชื่อ SMEs ในระบบ ธพ. ซึ่งถือว่าไม่น้อย และสามารถช่วยให้ระบบการเงินทางานต่อได้

 

  • ลูกหนี้ได้รับการช่วยเหลือเม็ดเงินกว่า 50% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด

มาตรการอีกกลุ่มหนึ่ง คือ การแก้หนี้เดิม เพราะวิกฤตครั้งนี้ทาให้รายได้ของธุรกิจและประชาชนหายไป ไม่สามารถจ่ายหนี้ที่มีอยู่เดิมได้ ทาง ธปท. จึงออกมาตรการแก้หนี้อย่างตรงจุด เหมาะกับสถานการณ์ และมีความยืดหยุ่น ช่วงแรกในปี 2563 ได้ออกมาตรการพักหนี้เป็นวงกว้างแบบปูพรม เพราะประเมินว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลายได้ไว ซึ่งในช่วงสูงสุด (กลางปี 2563) มีลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือรวมเป็นเม็ดเงินกว่า 7 ล้านล้านบาท หรือกว่า 50% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด

 

 

ถัดมาเมื่อสถานการณ์ยืดเยื้อ แต่ละภาคส่วนได้รับผลกระทบจากโควิดต่างกัน และฟื้นตัวแบบไม่เท่าเทียม (แบบ k-shaped) มาตรการก็ปรับเปลี่ยนให้ความช่วยเหลือแบบเฉพาะเจาะจง (targeted) โดยเฉพาะลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมาก เช่น ท่องเที่ยว รวมถึงปรับมาตรการช่วยเหลือเป็นระยะยาวมากขึ้น เพื่อให้ สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลงของลูกหนี้

 

เช่น มาตรการแก้หนี้ระยะยาว 3 ก.ย. 64 สาหรับลูกหนี้รายย่อยที่เริ่มผิดนัดชาระหนี้ ก็ได้ปรับหลักเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชาระหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ยของลูกหนี้ ส่วนคนที่เป็นหนี้เสีย (NPL) แล้ว ก็มีทั้งโครงการคลินิกแก้หนี้สาหรับหนี้เสียบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

 

และโครงการไกล่เกลี่ยหนี้นอกศาล เพื่อลดปัญหาไม่ให้ลูกหนี้ติดอยู่ในกระบวนการศาล เช่น มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ธปท. พยายามออกมาตรการแก้หนี้รองรับให้ครบวงจรและตรงจุดกับปัญหาของลูกหนี้

 

หากเทียบกับการช่วยเหลือของต่างประเทศ โดยรวมไม่ต่างกัน กล่าวคือ มาตรการการคลังหรือการใช้จ่ายของภาครัฐเป็นพระเอก หลายประเทศทานโยบายการคลังแบบขาดดุลมากขึ้น เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดลงไปมาก ซึ่งส่งผลให้หนี้สาธารณะปรับสูงขึ้น ส่วนที่ถือเป็นนวัตกรรมของไทยเอง อาจเป็นโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ ที่

 

  • พักทรัพย์พักหนี้มีผลตอบรับกว่า 4หมื่นล้านบาท

ธปท. ได้ออกมาเพื่อช่วยลูกหนี้ธุรกิจในช่วงที่ไม่มีกระแสเงินสดในการลดภาระหนี้ผ่านการนาทรัพย์สินมาตีโอนเพื่อชาระหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน แต่ยังมีสิทธิ์ซื้อคืนกิจการได้ เช่น ธุรกิจโรงแรม ล่าสุดมีมูลค่าโอนสินทรัพย์แล้วกว่า 40,000 ล้านบาท

 

สิ่งที่ ธปท. ให้ความสำคัญ คือ การขับเคลื่อนมาตรการให้เห็นผลจริง เน้นติดตามผลของมาตรการ และไม่ยึดติดกับมาตรการเดิม พร้อมปรับตามสถานการณ์ เช่น พ.ร.ก. ฟื้นฟู ธปท. เน้นการพูดคุยกับ ธนาคารพาณิชย์ และจัดทำเป้าหมายยอดสินเชื่อฟื้นฟู ซึ่งเดิมตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อฟื้นฟู 1 แสนล้านบาทภายใน 6 เดือน แต่สามารถปล่อยสินเชื่อได้เร็วกว่าเป้าภายใน 4 เดือน

 

  • ชี้โจทย์ระยะข้างหน้า ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง ไม่สะดุด

ในระยะถัดไป โจทย์สำคัญของ ธปท. คือ ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและไม่สะดุด ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่มีอยู่ ทั้งความผันผวนในตลาดการเงินโลก แนวโน้ม NPL ที่อาจทยอยเพิ่มขึ้นแต่จะไม่รุนแรงจนเป็น NPL cliff รวมถึงเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

 

สำหรับไทย ธปท. มองว่ามีโอกาสน้อยมากที่จะเกิด Stagflation เพราะหากจะเกิด stagflation ต้องมี 2 องค์ประกอบ คือ 1. เงินเฟ้อสูงขึ้น และ 2. เศรษฐกิจชะลอตัวเป็นวงกว้าง ซึ่งกรณีไทย เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นชัดเจนและจะเกินกรอบเป้าหมายฯ ในปีนี้ ก่อนกลับเข้าเป้าปีหน้า (ปี 2564 เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 1.2% คาดว่าปี 2565 และ 2566 อยู่ที่ 4.9% และ 1.7%)

 

ขณะที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง (ปี 2564 GDP 1.6% คาดว่าปี 2565 และ 2566 อยู่ที่ 3.2% และ 4.4%) และโอกาสที่เศรษฐกิจปีนี้จะโตไม่ถึง 2% หรือโตใกล้เคียงกับปีก่อนมีน้อยมาก เช่น ต้องเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยเพียง 3 ล้านคน ซึ่งจากต้นปีมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยแล้วกว่า 1.2 ล้านคน

 

และน่าจะมาเพิ่มขึ้นมากในช่วงที่เหลือของปีจากความต้องการใช้จ่ายหรือท่องเที่ยวของคนที่อั้นมานาน (ธปท. คาดว่าปีนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติ 5.6 ล้านคน) หรือต้องเห็นการส่งออกลดลงอย่างมาก ซึ่งข้อมูลล่าสุดไตรมาส 1/65 การส่งออกขยายตัวดี และเศรษฐกิจโลกยังโตได้

 

  • แนะเอกชนใช้ประโยชน์เชื่อมอาเซียนรับ 3เทรนด์

สำหรับการปรับตัวของภาคเอกชนภายใต้โลกข้างหน้าที่มีหลายกระแสซึ่งมาเร็วและแรง อย่างกระแสดิจิทัลและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ธปท. ให้ความสำคัญกับการสร้างระบบนิเวศให้ทุกภาคส่วนเดินต่อได้ แข่งขันได้ โดยมองว่าการพัฒนาด้านดิจิทัลของไทยไม่ได้ล้าหลัง ส่วนเรื่องกรีน ถือเป็นโอกาสสาหรับธุรกิจใหม่ ๆ หรือการลงทุนใหม่เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญด้านนี้มากขึ้น

 

นอกจากนี้ ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก ทำให้เราต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืนด้านอาหารและพลังงานมากขึ้น (food and energy security) ซึ่งไทยถือว่ามีจุดแข็งด้านอาหารอยู่แล้วและจะเป็นโอกาสให้กับธุรกิจด้านนี้ นอกจากนี้ ไทยยังสามารถใช้ประโยชน์ในการปรับตัวจากการที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน เพราะอยู่ในจุดที่่มีความเชื่อมโยงค่อนข้างมากกับหลายประเทศในภูมิภาค ทั้งการส่งออก การลงทุน แรงงาน และการขนส่ง