กรมปศุสัตว์ในฐานะผู้ดูแลและมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 จะมาเปิดขั้นตอนการเข้าตรวจสินค้าลักลอบ หมูกล่อง เนื้อกล่อง + ขั้นตอน ละเอียดยิบ ไขข้อข้องใจ ทำอย่างไรเมื่อขอถูกตรวจค้น ซึ่งจะต้องทราบเบื้องต้นก่อนว่า “สารวัตรและสัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์” ที่ต้องปฏิบัติตามวิธีการและขั้นตอนการตรวจสอบดังนี้
++ แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่
เริ่มแรกต้องแสดงตัวให้ผู้กระทำความผิดทราบว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ต้องแต่งเครื่องแบบปฏิบัติงานพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หลังจากนั้นกรณีมีหมายค้น ให้สารวัตรแสดงหมายค้นพร้อมอ่านหมายให้ฟังและให้ผู้ดำเนินการหรือเจ้าของกิจการลงนามรับทราบในหมายค้นนั้นด้วย
ส่วนกรณีไม่มีหมายค้นให้สารวัตรใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดทำเอกสารบันทึกถ้อยคำและเอกสารที่เกี่ยวข้องแต่ละกฎหมายให้ผู้ดำเนินการหรือเจ้าของกิจการหรือผู้แทนลงลายมือชื่อทุกแบบฟอร์มจากนั้นให้ดำเนินการตรวจสอบ ตรวจค้นให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด กรณีเข้าตรวจสอบตามหมายค้น จะเข้าตรวจค้นได้ตั้งแต่เวลาที่ระบุไว้ในหมายค้นต่อเนื่องไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ หรือตามเวลาที่ศาลระบุไว้ ซึ่งในระหว่างการตรวจสอบ ตรวจค้น ต้องให้ผู้ดำเนินการหรือเจ้าของกิจการเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานพร้อมทั้งมีการบันทึกภาพหรือวีดีโอตลอดช่วงเวลาของการปฏิบัติงาน ก่อนทำการบันทึกภาพหรือวีดีโอให้ขออนุญาตเจ้าของสถานที่ที่เข้าตรวจสอบหรือตรวจค้น
++ ยึดอายัดตรวจโรค-สติ๊กเกอร์ต้นทางถูกต้องหรือไม่
เมื่อพบสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามกฎหมาย เช่น สัตว์และซากสัตว์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ยานพาหนะ หรืออื่นๆ ให้ทำการยึดหรืออายัดไว้เพื่อเป็นของกลาง เพื่อเป็นหลักฐานในการกระทำความผิดหรือเพื่อการตรวจสอบ และในกรณีที่สงสัยว่าซากสัตว์นั้นเป็นโรคระบาดสัตว์หรือเป็นพาหะของโรคระบาดสัตว์สามารถนำไปตรวจทดสอบวิเคราะห์ โดยจัดทำเอกสารตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้ชัดเจนและให้เจ้าของลงลายมือชื่อไว้ด้วย
หากกรณีมีการจับกุม เมื่อมีการกระทำผิดซึ่งหน้า สารวัตรตามกฎหมายโรคระบาดสัตว์อาศัยอำนาจตามมาตรา 41(4) หรือหากมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องหาไปพบพนักงานสอบสวนในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินคดีต่อไปกรณีที่มีการขอหมายค้นจะต้อง จัดทำเอกสารสรุปการตรวจค้นยื่นต่อศาลจัดทำเอกสารสรุปผลการเข้าตรวจค้น ผลการปฏิบัติงาน ผลการดำเนินคดีเสนอผู้บังคับบัญชาทราบทันทีหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจตามลำดับขั้นตอน
สิ่งที่สังเกตที่เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ชี้ว่า “หมูกล่อง หรือ เนื้อกล่อง” มีการลักลอบหรือไม่ โดยเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จะตรวจสอบลักษณะเครื่องหมายประจำตัวสัตว์สำหรับซากสัตว์ที่นำเข้ามาราชอาณาจักร เพื่อใช้ตรวจสอบซากสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างถูกกฎหมาย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าดังกล่าวได้จึงทำให้สามารถแยกกับซากสัตว์ที่ลักลอบนำเข้าได้โดยกำหนดสติ๊กเกอร์ขนาด กว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 7 เซนติเมตร สามารถติดกับวัตถุได้ทุกชนิดข้อความที่พิมพ์ 3 บนสติ๊กเกอร์เห็นได้ชัดไม่เลอะเลือน ไม่เปื่อยขาดเมื่อถูกน้ำ
ส่วนพื้นสติ๊กเกอร์เป็นกระดาษสีขาว ไม่มัน มีรอยกรีดตามแนวยาวหากมีการลอกออกแผ่นสติ๊กเกอร์จะฉีกขาดไม่สามารถนำใช้ซ้ำได้อีก บนแผ่นสติ๊กเกอร์พิมพ์ข้อความและเครื่องหมาย ดังนี้
1.บรรทัดแรก พิมพ์ตัวอักษรโรมัน DLD สีฟ้าเข้ม ขนาดตัวอักษร สูง 1.7 เซนติเมตร ยาว 4.7 เซนติเมตร ถัดไปพิมพ์เครื่องหมายในระบบคิวอาร์โค๊ด สีดำ ความสูง 1.7 เซนติเมตรความยาว 1.7 เซนติเมตร
2.บรรทัดที่สอง พิมพ์ตัวอักษรโรมัน APPROVED สีเขียวเข้มความสูง 0.7 เซนติเมตร ความยาว 6.7 เซนติเมตร
3.บรรทัดที่สาม พิมพ์ตัวอักษรโรมัน 1 ตัว (ไล่เรียงเริ่มจาก A ถึง Z) ตามด้วยเลขอารบิกจำนวน 9 หลัก สีดำ ความสูง 0.7 เซนติเมตร d. น อ ก จ า ก นี้ยังสา มารถตรวจสอบราย ละเอียดสติ๊กเกอร์ได้ https://aqi.dld.go.th/sticker/index.php
++ จับแล้วไม่พบผู้กระทำผิด
ส่วนในกรณีตรวจยึดสัตว์หรือซากสัตว์(กรณีไม่พบผู้แสดงตนเป็นเจ้าของ) (1) สารวัตรตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์เข้าตรวจสอบตามภารกิจ (2) เมื่อตรวจพบว่ามีการลักลอบนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรในกรณีที่ไม่พบตัวผู้กระทำผิดอยู่ในที่เกิดเหตุ หรือไม่พบผู้แสดงตนเป็นเจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์ของกลาง(จากประสบการณ์ของผู้เขียนมักพบกรณีนี้เมื่อมีการการตรวจรถยนต์โดยสารระหว่างประเทศ เรือโดยสารระหว่างประเทศบริเวณตามชายแดน เนื่องจากกลัวจะถูกดำเนินคดีอาจมีการหลบหนีหรือไม่แสดงตน)ให้สารวัตรตรวจยึดสัตว์และซากสัตว์ของกลางในการกระทำความผิดนั้นไว้เก็บหลักฐาน ทำบันทึกตรวจยึด
พร้อมรูปถ่ายขณะดำเนินการตรวจยึดหรือหลักฐานอื่นให้ครบถ้วน ให้นำสัตว์และซากสัตว์ของกลาง พร้อมบันทึกตรวจยึดและหลักฐานอื่นๆ ส่งพนักงานสอบสวนเพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ใจในการตรวจยึดของกลางมาโดยไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของเพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้องในภายหลังโดยให้หัวหน้าหน่วยงานของสารวัตรผู้ทำการยึดหรืออายัดเป็นผู้ออกประกาศและให้ติดประกาศ ณอาคาร สถานที่ทำการยึดหรืออายัด เพื่อทำการหาเจ้าของภายในระยะเวลา 45 วันนับแต่วันประกาศ 8 หาตัวบุคคล หากล่วงเลยระยะเวลาดังกล่าวให้สัตว์หรือซากสัตว์นั้นตกเป็นของกรมปศุสัตว์เช่น การขายทอดตลาด หากตรวจสอบพบว่าไม่เป็น โรคระบาดสัตว์หรือถ้าสงสัยเป็นโรคระบาดสัตว์ก็ให้ทำลายทันที
ทั้งนี้จากการดำเนินงานสะสมในปีงบประมาณ 2561-2565 นั้น กรมปศุสัตว์ ได้จับ 43,490 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าของกลางรวมสะสมกว่า 1,001,796.67 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 152,309,256 บาท ซึ่งผลสำเร็จของการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้จำนวนหมูเถื่อนลดลง และปัจจุบันการเลี้ยงหมูในภาคอีสานมีแม่พันธุ์เพิ่มขึ้นถึง 70% และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 90% ภายในสิ้นปี 2566 และระยะต่อไป รัฐบาลยังคงปราบปรามหมูเถื่อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูให้สามารถขายหมูได้ในราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในผู้บริโภค รวมทั้งการพิจารณามาตรการต่าง ๆ สำหรับดูแล “กลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายเนื้อหมู” ในประเทศอีกด้วย