ดร.สิงห์ บรรยายในหัวข้อ “Resilience Framework for Nature Positive Developments” ใน session “How do non-technological Innovation Concepts Catalyze the Achievement of Net-zero Emissions?” นำเสนอเครื่องมือ Resilience Framework ในการวางแผนการพัฒนาเมืองและแนวทางการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่พร้อมรับมือกับ ความไม่สมดุลของโลก ทัังจากปัญหาภาวะโลกรวน ที่มีสาเหตุจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นจากสภาพสังคมที่ตึงเครียด และจากปัจจัยอื่นๆ อย่างเศรษฐกิจ สงคราม เป็นต้น
Resilience Framework ระบุปัจจัยเสี่ยง (Shock & Stresses) ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต โดยมุ่งเน้นที่การเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาและความเสี่ยง (Adaptation) ใน 3 มิติ ได้แก่
1. Nature & Environment ความเสี่ยงด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. Living & Infrastructure ความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตและและระบบสาธารณูปโภคของเมือง
3. Society & Economy ความเสี่ยงด้านสังคมและเศรษฐกิจ
ในการบรรยายครั้งนี้ ดร. สิงห์ นำเสนอโครงการ The Forestias และกล่าวว่า แนวคิดด้าน “ความยั่งยืน (Sustainability)” ไม่เพียงพอต่อการสร้างความอยู่ดีมีสุขและการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป โดยทุกหน่วยงาน จะต้องนำแนวคิดด้าน Resilience มาปรับใช้ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับทุกๆ ความไม่สมดุลในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม จากการใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางธรรมชาติ (Nature-based solution) เช่น การสร้างสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่สามารถรับมือภัยพิบัติ การนำ Green Technology มาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวปฏิบัติที่ตอบโจทย์การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงการพัฒนา Sustainnovation ที่ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การนำขยะพลาสติกมาเป็นส่วนผสมในวัสดุก่อสร้าง ถนน ผืนพรม การใช้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนมาใช้ในการพัฒนาโครงการ
นอกจากนี้ ดร. สิงห์ ได้เน้นย้ำว่า ภาคส่วนต่างๆ ต้องวางแผนในการร่วมลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นรูปธรรมได้แล้ว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนปี 2050 และรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5°C ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของ COPs ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของ MQDC ที่ตั้งใจจะบรรลุเป้าหมาย “Nature Positive & Carbon Negative" ภายในปี 2050