นายกฯ เศรษฐา ลุยลุ่มน้ำยมตอนล่าง แก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม

23 มี.ค. 2567 | 11:00 น.
อัปเดตล่าสุด :25 มี.ค. 2567 | 11:03 น.

นายกฯ เศรษฐา และคณะ ลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำยมตอนล่าง แก้ปัญหาอุทกภัย-ขาดแคลนน้ำที่มักเกิดขึ้นทุกปี

เช้าวันนี้ (23 มี.ค. 67)นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคณะ ลงพื้นที่ติดตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำยมตอนล่าง บริเวณประตูระบายน้ำ(ปตร.) ท่านางงาม ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน นายวรพจน์ เพชรนรชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 3 และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และรายงานผลการดำเนินงานฯ

 

นายกฯ เศรษฐา ลุยลุ่มน้ำยมตอนล่าง แก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม

 

นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้วางแผนก่อสร้างประตูระบายน้ำตลอดแม่น้ำยม เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง และทำหน้าที่หน่วงชะลอน้ำเพื่อผันเข้าทุ่งหรือแก้มลิงในช่วงฤดูน้ำหลาก ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยและขาดแคลนน้ำที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี

 

นายกฯ เศรษฐา ลุยลุ่มน้ำยมตอนล่าง แก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม

สำหรับลุ่มน้ำยมตอนล่าง กรมชลประทานได้วางแผนก่อสร้าง ปตร. 4 แห่ง อยู่ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก 1 แห่ง คือ ปตร.ท่านางงาม ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 7.60 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 51,375 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 2,568 ครัวเรือน

 

นายกฯ เศรษฐา ลุยลุ่มน้ำยมตอนล่าง แก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม

ส่วนอีก 3 แห่ง อยู่ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง ได้แก่ ปตร.ท่าแห ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม คืบหน้าแล้วประมาณร้อยละ 80 เก็บกักน้ำได้ประมาณ 12.60 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 81,111 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 1,412 ครัวเรือน, ปตร.บ้านวังจิก ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง คืบหน้าแล้วร้อยละ 61 เก็บกักน้ำได้ประมาณ 4.10 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 37,397 ไร่ และ ปตร.โพธิ์ประทับช้าง ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง มีผลงานคืบหน้าแล้วร้อยละ 38 สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 3.15 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 28,868 ไร่

 

นายกฯ เศรษฐา ลุยลุ่มน้ำยมตอนล่าง แก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม

 

ทั้งนี้ หากประตูระบายน้ำทั้ง 4 แห่ง ดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนล่างได้มีแหล่งน้ำต้นทุนและเก็บกักน้ำไว้ใช้ เพื่ออุปโภคบริโภค และการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ทั้งยังช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยได้อีกด้วย

 

นายกฯ เศรษฐา ลุยลุ่มน้ำยมตอนล่าง แก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม นายกฯ เศรษฐา ลุยลุ่มน้ำยมตอนล่าง แก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม