การเข้าถือครองที่ดินรถไฟบริเวณเขากระโดงจังหวัดบุรีรัมย์ กลายชนวนข้อพิพาทนำไปสู่การฟ้องร้องอยู่ในศาลปกครองระหว่างรัฐกับรัฐโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมที่ดินผู้ออกเอกสารสิทธิ์บนที่ดินเนื้อที่ 5,083 ไร่
ส่งผลกระทบต่อผู้ครอบครองไม่ต่ำกว่า900ราย รวมไปถึงนักการเมืองดังในพื้นที่ ขณะนักการเมืองฝ่ายค้านที่ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการปปช.ต้องการให้ รฟท.ยื่นฟ้องต้อศาลยุติธรรมเพื่อเดินตามบรรทัดฐานทั้ง35ราย ที่รฟท.เคยคัดค้านการขอออกเอกสารสิทธิ์กับกรมที่ดินก่อนหน้านี้
ขณะ ต้นตอที่มาของการครอบครองที่ดิน เขากระโดงเกิดจาก กรมทางหลวง(สมัยนายเสถียร วงศ์วิเชียร เป็นอธิบดี) ต้องการก่อสร้าง ทางหลวงหมายเลข 219 สายสายบุรีรัมย์ -ประโคนชัย โดยทำหนังสือขอใช้พื้นที่มายังการรถไฟตามหนังสือที่อ้างถึงที่1/4044/2531 ลงวันที่5สิงหาคม2531ว่า
ทางหลวงหมายเลข219สายบุรีรัมย์-ประโคนชัยตัดผ่านที่ดินการรถไฟฯซึ่งยังไม่ได้ทำสัญญา โดยต้องการขอทำสัญญาอาศัยที่ดินรถไฟฯให้เป็นการถูกต้องนั้นโดยกรมทางหลวงตรวจสอบแล้วปรากฎว่าทางหลวงสายดังกล่าวมีแนวเส้นทางอยู่ระหว่างกม.1+740-5+650 ตัดผ่านที่ดินของการรถไฟฯเป็นระยะทาง3910 เมตร เขตทางกว้าง 20เมตรคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ156,400ตารางเมตร ดังกล่าว
การขอตัดถนนผ่านที่ดินรถไฟ ฯ มีนัยยะสำคัญที่ทำให้นายทุนนักการเมือง ให้ความสนใจที่ดินที่ดินซึ่งตั้งอยู่เขตสองฝั่งทางหลวงหมายเลข 219 บุรีรัมย์-ประโคนชัย กลายเป็นทำเลที่มีราคาได้กลิ่นความเจริญขึ้นมาทันที
สำหรับการทำสัญญา ระหว่างรฟท.เจ้าของที่ดินกับกรมทางหลวง ในการได้สิทธิ์เหนือพื้นดิน ที่ดินเขากระโดงประกอบด้วย
โดยลงนามในสัญญาเลขที่204492ลงวันที่11ตุลาคม2532 โดยนายนิกร บุญศรี นายช่างแขวงการทางบุรีรัมย์
ทั้งนี้สัญญา สิทธิเหนือพื้นดินที่เขากระโดง นักการเมืองฝ่ายค้านได้นำออกมายื่นต่อคณะกรรมการปปช.ดังกล่าวด้วย