เปิดตัวนอมินี ศักดิ์สยาม นาย“เอ” “ศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์”คู่พิพาทที่ดินเขากระโดง
กมลศักดิ์"ถล่ม "ศักดิ์สยาม"เอื้อประโยชน์พวกพ้อง เปิดตัว "นายเอ" นอมินีถือหุ้นแทนกมลศักดิ์เปิดตัวนายเอ “ศุภวัฒน์ " นอมินีศักดิ์สยาม พันคดีเขากระโดง
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลปี2565 ร้อนระอุขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่วันที่19กรกฎาคม 2565 เมื่อ นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ ได้กล่าวหานาย “เอ” เป็นนอมินีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ออกหน้าผลักดัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)บุรีเจริญคอนสตรัคชั่นคว้างานประมูลในกระทรวงคมนาคมกว่า1,000ล้านบาทเป็นเวลาติดต่อกัน2ปี
ย้อนไปก่อนหน้านี้ นาย “เอ” ซึ่งเป็นนอมินีของนายศักดิ์สยาม มีนามว่านายศุภวัฒน์ เกษมสุทธิ์ เป็นหนึ่งในผู้บุกรุกที่ดินเขากระโดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ที่ศาลฎีกาพิพากา ยืนตามศาลอุธรณ์ให้ขับไล่ และชดใช้ค่าเสียหายเมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2561
เนื่องจากเมื่อปี2559 นายเอหรือนายศุภวัฒน์ ถือครองที่ดิน จำนวน9- 3-3.9 ไร่ ซึ่งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่8 ส่วนทางรถไฟแยกเข้าเขากระโดงสถานีบุรีรัมย์ ขณะนั้นที่ดินเป็นนส.3ข (หนังสือรับรองการทำประโยชน์) และติดต่อสำนักงานที่ดินในพื้นที่เพื่อขอออกโฉนดที่ดิน แต่เนื่องจาก รฟท.ได้คัดค้านเพราะเขากระโดงเป็นที่ดินการรถไฟ
ดังนั้น นายเอ หรือศุภวัฒน์จึงได้ เป็นโจทย์ยื่นรฟท. ศาลบุรีรัมย์ในคดีคัดค้านการออกโฉนดที่ดิน แต่มาปรากฏชื่อในคราว ที่นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สมาชิกสมภาผู้แทนราษฎร์ อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงการครอบครองที่ดินเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ว่านายเอเป็นนอมินีถือหุ้นใหญ่ในหจก.บุรีเจริญ ซึ่งตั้งอยู่ บนที่ดินที่ตระกูลชิดชอบครอบครองหรือบ้านพักของนายศักดิ์สยาม
นายกมล ระบุต่อว่า ประเด็นที่น่าสนใจคือคดีที่ศาลฎีกา มีคำพิพากษาว่าที่ดินของนายเอ จำเลยในคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาปี 2561 แต่สังเกตว่าทำไมไม่มีการบังคับคดี เมื่อไปตรวจสอบข้อมูลยิ่งเห็นชัดว่านายเอ มีความสัมพันธ์กับรัฐมนตรี สะท้อนให้เห็นว่ารัฐมนตรี จึงไม่ดำเนินการใด ๆ กับที่ดินแปลงนี้ ในการฟ้องขับไล่ แตกต่างจากคดีอื่นๆ ที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับรัฐมนตรี
คดีของนายเอ ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา ตั้งแต่ปี 2561 รัฐมนตรีมารับตำแหน่งปี 2562 จนถึงปีนี้ 2565 เพิ่งจะตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเดือนมิ.ย.2565 ก่อนการอภิปรายจึงเหมือนแค่ขยับให้เห็น
เมื่อปี 2561 นายเอ ก่อนที่ ศักดิ์สยาม จะมาเป็นรัฐมนตรี เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของหจก. บ. ใช้ที่อยู่ที่เดียวกันกับรัฐมนตรี ในปัจจุบัน ปรากฎว่าวันที่ 26 ม.ค.2561 รัฐมนตรีถอนหุ้น ก่อนโอนหุ้นทั้งหมด 119 ล้านบาท ให้กับนายเอ และให้นายเอ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
ปัจจุบันหจก.นี้ ก็ยังอยู่ที่นี่ แสดงให้เห็นว่ารัฐมนตรีกับจำเลย ในคดีที่รฟท.ต้องขยับเป็นพวกเดียวกันนายเอ ยังบริจาคเงินให้พรรคภูมิใจไทย 2.7 ล้านบาท และหจก. บ. โอนหุ้นไปให้ บริจาคเงินให้พรรคท่านอีก 4.8 ล้านบาท ถือว่าเป็นพวกเดียวกันจะให้เข้าใจว่าอย่างไร อีกทั้งตามบัญชีงบดุลปี 2560 บริษัท ศ. ได้ยืมเงินจากนายเอ 120 ล้านบาท ปี 2561 ยืมอีก 221 ล้านบาท
ต่อมาปี 2562 บริษัท ศ. ยังกู้ยืมเงินจากนายเอ 143 ล้านบาท ปี 2563 ยืมอีก 152 ล้านบาท ผมไม่ได้พูดลอย ๆ แต่มีเอกสารงบดุลของบริษัท ศ. นายเอ คนนี้ตนไปตรวจสอบมาแล้ว ปรากฎว่าก่อนที่รัฐมนตรีจะออกจากหจก. บ. นายเอ มีหลักฐานเพียงว่าเป็นพนักงานของ บริษัท ศ. เท่านั้น เดิมทีเป็นแค่พนักงาน แต่ไม่ทราบว่าร่ำรวยมาจากไหนถึงมีเงินให้บริษัท ศ. ซึ่งกรรมการผู้จัดการคือ นาย อ. นามสกุลเดียวกับรัฐมนตรี
สิ่งเหล่านี้จึงไม่อยากมองเป็นอย่างอื่น รมว.คมนาคม ที่มีหน้าที่กำกับดูแลรฟท. ต้องทวงสิทธิ์เอาที่ดินของรฟท.คืนโดยเร็ว แต่ทำไมท่านไม่เลือกวิธีที่เร็วที่สุด คือให้กรมที่ดินเพิกถอน แต่กลับใช้วิธีที่ยืดเยื้อที่สุด ซึ่งนายกฯ ปล่อยปละละเลยให้หน่วยงานของรัฐฟ้องร้องค่าเสียหายกันเอง
ขอให้นายศักดิ์สยาม เลิกใช้แทคติก แต่ขอให้ความจริงใจกับทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน ท่านต้องแสดงสปิริตให้คนทั้งประเทศได้รับรู้ว่าท่านก็อยู่ในมาตรฐานจริยธรรม ท่านต้องรีบเอาทรัพย์สมบัติของแผ่นดินคืน ปล่อยไว้แบบนี้ยิ่งกว่าที่ท่านเคยกล่าวหาพี่น้องใน 3 จังหวัดว่าต้องการแบ่งแยกดินแดน นี่คือการเอาแผ่นดินของประเทศมาเป็นของตัวเองโดยใช้กฎหมายอย่างแยบยล
อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลจะอ้างว่าไม่เกี่ยวไม่ได้ ทั้งหมดนี้ตนมองได้อย่างเดียวว่าท่านละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ รักษาผลประโยชน์พวกพ้องตัวเองมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ จึงไม่อาจไว้วางใจรมว.คมนาคม และนายกฯ ให้บริหารราชการแผ่นดินอีกต่อไป
จึงตั้งคำถาม ว่า เมื่อพบการเชื่อมโยงแบบนี้แล้ว จะขัดกับจริยธรรม รัฐธรรมนูญ และสามารถถอดถอนให้พ้นสภาพรัฐมนตรีได้ทันทีหรือไม่!!!