อุตสาหกรรมอสังหาฯ  Big Impact รัฐต้องช่วย 

13 ม.ค. 2564 | 05:45 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ม.ค. 2564 | 05:55 น.

สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ประกอบกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ลุกลามภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก กดดันทั้งกำลังซื้อคนในประเทศ และกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ จนส่งผลให้ธุรกิจอสังหาฯ ปี 2563 ฟุบลงสู่จุดวิกฤติ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องปิดกิจการ

สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ประกอบกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ลุกลามภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก กดดันทั้งกำลังซื้อคนในประเทศ และกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ จนส่งผลให้ธุรกิจอสังหาฯ ปี 2563 ฟุบลงสู่จุดวิกฤติ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายต้องปิดกิจการ ขณะผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ ปรับทัพ เปลี่ยนแผน เข้าสู่เกม กู้สภาพคล่องอย่างเร่งด่วน เพื่อพยุงให้เกิดทั้งยอดขาย และรายได้หมุนเวียน จนผ่านปีอันโหดร้ายไปได้ ซึ่งปฎิเสธไม่ได้ว่า นอกจากกลยุทธ์ แคมเปญ โปรโมชั่น ที่ผู้ประกอบการเหล่านั้น ยอมเชือดเนื้อ ดึงกำไรลง ยังมีปัจจัยบวก อย่างอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และมาตรการสนับสนุนสำคัญของภาครัฐ ทั้ง “บ้านดีมีดาวน์” และ “ลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และจดจำนอง 0.01%” ของภาครัฐ ในช่วงปีที่ผ่านมา มาช่วยกระตุ้นการตัดสินใจของผู้ซื้ออีกทาง 

 

 

 

 

ขณะปี 2564 เปิดศักราช การทำธุรกิจใหม่ กลับมาพร้อมกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ระลอกใหม่ ได้ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ให้ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนอีกครั้ง ท่ามกลางการรอคอย ทั้งจากฝั่งผู้ซื้อ และผู้ประกอบการ ว่ารัฐบาลจะพิจารณาออกมาตรการมาช่วยเหลือ สนับสนุนตลาดที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอีกครั้งอย่างไร

เศรษฐา  ทวีสิน

ล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) ระบุ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าธรรมชาติของตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น มีการเติบโตไปในทิศทางเดียวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของชาติ โดยมีตัวผลักดันสำคัญ คือ กำลังซื้อของประชาชน ดังนั้น สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ซึ่งถูกปัจจัยลบสำคัญ อย่างโควิด กระหน่ำซ้ำภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงไม่แปลกใจที่ภาคอุตสาหกรรมนี้จะตกต่ำ และมีความน่าเป็นห่วง เนื่องมาจา หากไม่มีการซื้อขายบ้าน ธุรกรรมหลายๆ อย่าง ก็จะหยุดชะงัก ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ วัสดุก่อสร้าง, สี, อิฐ, หิน,ปูน, ทราย,เฟอร์นิเจอร์,เครื่องครัว, หลอดไฟ, สุขภัณฑ์ ฯลฯ จะได้รับกระทบทั้งหมด อสังหาริมทรัพย์จึงถือว่าเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ให้ Multiplier Effect (ผลทวีคูณต่อระบบเศรษฐกิจ) สูงสุด 

 

ฉะนั้น ถึงเวลาที่รัฐบาล จำเป็นต้องให้ความสำคัญ โดยการใช้มาตรการกระตุ้นมาในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์, การหักลดหย่อนภาษีดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายจากการผ่อนบ้านในอัตราที่สูงขึ้น แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ขยายระยะเวลาสิทธิ์การเช่าระยะยาว จาก 30 ปี เป็นอย่างต่ำ 99 ปี เพื่อใช้ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ให้เข้ามาอยู่และท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งจะนำมาสู่การใช้จ่าย ก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในวงกว้าง 

 

 

 

นอกจากนี้ นายเศรษฐา ยังต้องการให้เพิ่มกำลังซื้อของผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัย โดยให้สถาบันการเงินของรัฐ จัดสรรเงินจำนวนหนึ่งในอัตราดอกเบี้ยที่ถูก เพื่อให้ผู้ที่ต้องการมีบ้านหลังแรกเข้าถึงได้อีกด้วย 

 

หน้า 19-20 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40  ฉบับที่ 3,644 วันที่ 14 - 16 มกราคม พ.ศ. 2564

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อสังหาฯดัง กระหน่ำโปรโมชั่น อัดแคมเปญ ลดราคาโครงการที่อยู่อาศัย

ตลาดอสังหาฯ  ครึ่งแรกปี 64 ตลาดยังซบต่อเนื่องไม่ต่างปี63

บ้านใหม่-บ้านมือสอง ชะงัก รอรัฐออกมาตรการกระตุ้น