นับจากนี้อีก1เดือน(16ก.พ.64)คนกรุงที่ใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าโดยสารเต็มทั้งระบบ 104บาทเป็นการชั่วคราวเทียบจากเดิมต้องเก็บเต็มราคาในอัตรา158บาทตลอดสาย ซึ่ง158บาทนี้เป็นตัวเลขที่กทม.คำนวนออกมาแล้ว ไม่ทำให้เกิดการขาดทุน กรณีต้นทุนค่าใช้จ่ายค่าระบบกระแสไฟฟ้า ค่าจ้างพนักงาน ขบวนรถ ค่าซ่อมบำรุง ตลอดจนการอำนวยความสะดวกให้เกิดความปลอดภัยตลอดเส้นทาง ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์โควิดระบาด เมื่อวันที่15ม.ค.64 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมืองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอซี ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ได้ เคาะราคาค่าโดยสารลง เหลือ 104บาท ช่วยประชาชนประหยัดเงินในกระเป๋า ลง54บาท แลกกับกทม.ต้องแบกหนี้ส่วนต่าง3,000-4,000ล้านบาท และเมื่อเทียบกับ การเดินทางข้าม3จังหวัด(ปทุมธานี-กทม.-สมุทปราการ) ในเวลาอันรวดเร็ว 80กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยไม่สะดุด ใช้เวลาเพียง1ชั่วโมงเศษระยะทางยาว 68.25กิโลเมตร 59สถานี ท่ามกลางวิกฤติจราจร ต้องยอมรับว่าคุ้มค่า
ที่สำคัญจากผลสำรวจของบีทีเอสซี พบพฤติกรรมผู้โดยสารน้อยรายจะเดินทางไป-กลับตลอดสายเป็นประจำทุกวัน แต่ในทางกลับกัน เฉลี่ยจะขึ้น-ลงระหว่างทาง ที่ สยามแควร์เป็นส่วนใหญ่ และเชื่อมต่อไปกับระบบรถไฟฟ้าสายอื่น ในราคาค่าโดยสาร44-58บาทขณะราคา65บาทตลอดสาย กทม.ระบุชัดเจนว่า รอแก้ไขร่างสัญญาสัมปทานสายสีเขียวให้กับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ที่คาดว่าจะเข้าครม.พิจารณาในเดือนหน้าหลังจากจัดเก็บค่าโดยสารไปแล้ว
ทั้งนี้ เมื่อเทียบอัตราค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่2 ห้าแยกลาดพร้าว-คูคต 158บาท ค่าโดยสาร 15-60บาท ลดเหลือ 104บาท 15-45บาท ส่วยหลัก(ส่วนตรงกลาง) หมอชิต-อ่อนนุช (คงเดิม) 16-44บาท
ช่วงต่อขยายช่วงที่1 สายสีเขียวใต้ บางจาก(อ่อนนุช)-แบริ่ง ราคา15บาท (คงเดิม) ช่วงที่2สายสีเขียวใต้ สำโรง-เคหะสมุทรปราการ 15-39บาท อัตรา158บาท ส่วนนี้จะเสีย 69บาท แต่กรณีค่าโดยสารลดเหลือ 104บาท กทม.ได้รวมทั้งสองช่วง ตั้งแต่ บางจาก(อ่อนนุช)-เคหะสมุทรปราการ 15-45บาท คือสูงสุด45บาท ไม่คิดค่าแรกเข้าระหว่างสายหลักและส่วนต่อขยาย
ตัวอย่างการคิดค่าโดยสาร เดินทางภายในส่วนหลัก(ตรงกลาง)และส่วนต่อขยาย ราคา 45บาทลดลง15บาท ส่วนหลักข้ามไป ต่อขยายห้าแยกลาดพร้าว-คูคต 30บาทลดลง30บาท ส่วนหลัก 44บาทคงเดิม กรณีเดินทางจากส่วนหลักข้ามไปห้าแยกลาดพร้าว-คูคต และอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ -ธนบุรี-บางหว้า 44บาทคงเดิม เรียกว่าเดินทางทั้งระบบเสีย44บาท เป็นต้น
เชื่อว่าหากคนใช้บริการเดิมในเส้นทางเดิม ไปกลับที่ทำงาน ที่อยู่อาศัยช็อปปิ้งในเส้นทางระหว่างบ้านกับออฟฟิศเชื่อว่าค่าโดยสารไม่น่าเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเส้นทางหลัก เว้นแต่ ผู้โดยสารใหม่ที่อยู่อาศัยปลายทางที่ยังใช้บริการฟรีมาโดยตลอดอาจจะรู้สึกกระทบ แต่ทั้งนี้ ยังเปิดหลายช่องทางเลือกในการเดินทาง อาจสลับวัน หรือ ใช้บริการสาะรณะอื่นบางช่วง แล้วต่อเส้นทางที่จำเป็นเร่งด่วนก็จะช่วยได้ แต่หาก ต้องการย่นระยะเวลาทำงาน หลีกหนีรถติด มองว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวน่าจะคุ้มสุด แต่เนื่องจากอยู่ในช่วงการระบาด ผู้โดยสารอาจบางตาไปบ้าง สำหรับภาษีต้นทุนส่วนต่าง รัฐน่าจะแบกรับต่อหรือไม่ในที่สุดก็ถึงคิดต้องขยายสัมปทานให้เอกชน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ออกหัวออกก้อยอย่างไรทุกฝ่ายต้องไม่เอาประชาชนผู้โดยสารเป็นเดิมพันในการหาเสียง!!!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง