21 มีนาคม 2565 - ปี 2564 ที่ผ่านมา ที่ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤติผลกระทบโควิด-19 แต่ สำหรับ บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ S บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการลงทุน ภายใต้กลุ่ม บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ นั้น นับเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทายใหญ่
ผ่านการปรับโครงสร้างธุรกิจ และกระจายการลงทุน หวังเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการพลิกฟื้นรายได้
โดยจาก 3 ขาธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจที่พักอาศัย ,ธุรกิจอาคารสำนักงาน และ ธุรกิจโรงแรม (ทั้งในไทยและต่างประเทศ) บริษัท ได้ริเริ่มเข้าลงทุนในหน่วยธุรกิจใหม่ ที่ 4 คือ นิคมอุตสาหกรรม และสาธารณูปโภคพื้นฐาน แห่งแรก ที่จังหวัด อ่างทอง ภายใต้ชื่อ 'นิคมอุตสาหกรรม เอส อ่างทอง' มูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท ผูกโยงกับภาคเกษตรกรรม และตั้งอยู่ในทำเลฮับการเดินทางสำคัญของภาคกลาง อีกทั้ง ภายในยังมีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูง ทำให้ชื่อของ บมจ.สิงห์ เอสเตท กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง
กลยุทธ์ปี 2564 Game Changer ดัน สิงห์เอสเตท รายได้ฟื้น
ล่าสุดในการประกาศแผนธุรกิจประจำปี 2565 ของ บมจ.สิงห์ เอสเตท นางฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สิงห์ เอสเตท กล่าวว่า ไม่ใช่แค่ ปี 2564 แต่ย้อนไปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สิงห์ เอสเตทได้มีการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์กระจายการลงทุนเพื่อสร้างความหลากหลายใน 4 กลุ่มธุรกิจที่เชื่อมโยงกัน ทำให้บริษัทฯ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างสม่ำเสมอ จนทำให้ปี 2564 มีรายได้อยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งมาจากความสำเร็จจากทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่
ถอดสูตรธุรกิจ ปี 2565 ตั้งเป้าทำรายได้นิวไฮ 13,400 ล้านบาท
สำหรับใน 2565 นี้ นายฐิติมา เปิดเผยว่า บริษัท มีแผนในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านรายได้และการเงินอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการต่างๆ รวมถึงโครงการร่วมทุนกับพันธมิตร และการนำทรัพย์เข้ากอง เอส ไพรม์ โกรท หรือ SPRIME โดย เราคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากผลงานในปี 2564 ซึ่งมีรายได้รวมอยู่ที่ 7,739 ล้านบาท อีกเกือบเท่าตัว โดยตั้งเป้าเป็นนิวไฮอยู่ที่ 13,400 ล้านบาท
ทั้งนี้ เป้าหมายดังกล่าว จะมาจากกลยุทธ์กระจายการลงทุนเพื่อสร้างความหลากหลายในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ จากธุรกิจที่อยู่อาศัย 25% ธุรกิจอาคารสำนักงาน 8% ธุรกิจโรงแรม 63% และธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและอื่นๆ 4%
ตั้งเป้ารายได้เพิ่มขึ้น 50% ในปีนี้ จากการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดพร้อมอยู่ 2 โครงการได้แก่โครงการ ดิ เอส แอท สิงห์ คอมเพล็กซ์ (The ESSE at Singha Complex) และ ดิ เอส อโศก (The ESSE Asoke) รวมไปถึงโครงการบ้านแนวราบ "สันติบุรี เดอะ เรสซิเดนเซส" ซึ่งมีมูลค่า Backlog อยู่ที่ 2,600 ล้านบาท โดยคาดว่าจะรับรู้รายได้ 70% ในปีนี้
นอกจากนี้ยังมีแผนเปิดโครงการแนวราบเพิ่มอีก 1 โครงการในช่วงครึ่งหลังของปีมูลค่า 2,900 ล้านบาท ย่านพัฒนาการ ราคาขาย 50-80 ล้านบาท โดยจะสามารถรับรู้รายได้ทันในปี 2565 นี้
ธุรกิจอาคารสำนักงาน
กลางปีนี้จะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของโครงการ เอส โอเอซิส (S OASIS) ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานพร้อมพื้นที่รีเทลแห่งใหม่ล่าสุดย่านลาดพร้าวด้วยพื้นที่รวม 55,700 ตารางเมตร ซึ่งบริษัทฯตั้งเป้าว่าจะมีอัตราการเช่าพื้นที่ (Occupancy rate) ราว 50% ณ ปีที่เปิดให้บริการ รวมถึงการกลับมาเปิดตัวอีกครั้งของโครงการ เอส เมโทร (S METRO) อาคารสำนักงานหรูย่านพร้อมพงษ์
เติบโตอย่างก้าวกระโดดถึงประมาณ 88% สร้างรายได้แตะ 8,500 ล้านบาท ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้ประกอบการโรงแรมไทยที่มียอดรายได้สูงขึ้นเป็นอันดับที่ 2 อันเป็นผลมาจากกลยุทธ์การทำธุรกิจแบบกระจายความเสี่ยง (Well-diversified) สะท้อนจากการมีโรงแรมในเครือที่ตั้งอยู่ในจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะพอร์ตในสหราชอาณาจักรและมัลดีฟส์ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเร่งตัวของภาคการท่องเที่ยวเร็วที่สุดของโลก
นอกจากนี้ บริษัทฯได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาโครงการโรงแรมในเครือที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง เพิ่มรูปแบบการให้บริการเพื่อกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย เช่น การเพิ่มห้องพักแบบพูลวิลล่าในรีสอร์ทที่ประเทศมัลดีฟส์เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าตะวันออกกลาง ตลอดจนการปรับสมดุลพอร์ตผ่านกลยุทธ์หมุนเวียนและต่อยอดการลงทุน (Asset Rotation) ที่จะยกระดับการให้บริการรวมถึงอัตราห้องพักต่อวันสูงขึ้นได้ราว 10-20% ซึ่งคาดว่าโรงแรมในเครือที่มีการปรับปรุงใหม่แล้วเสร็จ จะสามารถสร้างผลกำไรที่เพิ่มขึ้นได้ถึงกว่า 40% โดยปราศจากการใส่เงินลงทุนเพิ่มเติม
ในปี 2565 มีความพร้อมในการรับรู้รายได้จากการขายและโอนที่ดินเป็นปีแรก หลังจากที่ได้มีการเข้าไปลงทุนและปรับพื้นที่และก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานไปแล้วในปี 2564 ทั้งนี้บริษัทฯตั้งเป้าโอนที่ดินในปีนี้ราว 15% ของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีพื้นที่ขายรวมราว 992 ไร่
ขยายธุรกิจเจาะเทรนด์โลก 5 ปี ทุ่มลงทุน 5 หมื่นล้าน
ตามยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจของบมจ.สิงห์ เอสเตท พบมีการวางเม็ดเงินการลงทุนในระยะ 5 ปีนับจากนี้ อยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท เฉลี่ยปีละ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจากเดิมเน้น ขยายการลงทุนในกลุ่มธุรกิจโรงแรม แต่พบปัจจุบัน ราว 50% จะถูกใช้เพื่อธุรกิจที่อยู่อาศัย ซึ่งปีนี้ งบลงทุน 1 หมื่นล้านบาทแรกนั้น ราว 4,000 ล้านบาท ถูกวางเพื่อรองรับการซื้อที่ดินใหม่ และอีก 2,000 สำหรับการพัฒนาโครงการ ส่วนที่เหลือ สำหรับธุรกิจอื่นๆ
นางฐิติมา เผยถึงวิสัยทัศน์และทิศทางการดำเนินธุรกิจของ สิงห์ เอสเตท ใน 5 ปีนี้ โดยพุ่งเป้าไปที่การสร้างซินเนอร์จีใน 4 กลุ่มธุรกิจ เชื่อมโยงสู่โอกาสและการต่อยอดทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ และตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในปัจจุบัน
" เพื่อให้ สิงห์ เอสเตท สามารถก้าวไปเป็นหนึ่งในผู้เล่นแถวหน้าของประเทศไทย ที่ผนึกกำลังธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร และธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่อง เราจึงได้ทำการศึกษาเทรนด์ด้านธุรกิจและวิถีชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไปหลังจากที่เราอยู่กับยุคนิวนอร์มอลมากว่าสองปี และมองเห็นโอกาสและการสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจใหม่ๆ ที่จะทำให้เราสามารถเสริมศักยภาพให้กับพอร์ตธุรกิจของเราในอนาคต "
" เราจะใช้ประโยชน์จาก 4 กลุ่มธุรกิจในการสร้างให้เกิดธุรกิจร่วมเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับพอร์ตของเรา และการเติบโตในครั้งนี้ เราจะไม่เดินคนเดียว การทำงานกับพันธมิตรในธุรกิจร่วมทุนทำให้เห็นถึงผลสำเร็จแบบวงกว้าง เราจึงกำลังอยู่ในระหว่างมองหาโอกาสในการร่วมมือกับพันธมิตรแขนงต่างๆ เพื่อให้เราสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาด และเสริมสร้างความแตกต่างที่ดีที่สุดให้กับบริษัทฯ ได้ โดยเราคาดว่าความพยายามดังกล่าว จะผลักดันให้เราสามารถขยายการเติบโตทางธุรกิจภายใน 5 ปีข้างหน้าได้ที่ CAGR ประมาณ 25% ต่อปี"
สร้างความแข็งแกร่งทางการเงินผ่านการร่วมทุนและกองทุน REIT
ที่ผ่านมา สิงห์ เอสเตท ได้มีการประกาศความร่วมมือกับพันธมิตรในกลุ่มธุรกิจต่างๆ เพื่อขยายศักยภาพในการลงทุนและการพัฒนาโครงการในทุกพอร์ตธุรกิจ อาทิ การร่วมทุนกับฮ่องกง แลนด์ เพื่อขยายฐานลูกค้าต่างชาติ และพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมระดับอัลติเมทลักชัวรี อย่าง ดิ เอส สุขุมวิท 36 (THE ESSE SUKHUMVIT 36) มูลค่ากว่า 5,900 ล้านบาท การร่วมทุนกับกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ อย่าง วาย อีโค เวิลด์ ดีเวลลอปเปอร์ จำกัด (WEWD) เพื่อพัฒนาโครงการรีสอร์ทแห่งใหม่พร้อมวิลล่าหรู 80 หลัง “โซ/ โฮเต็ลแอนด์รีสอร์ท” (SO/ HOTELS & RESORTS) อัญมณีล่าสุดแห่งมงกุฎ ที่จะเติมเต็มรีสอร์ตระดับ 5 ดาวอีกสองแห่ง สนับสนุนให้โครงการ “ครอสโร้ดส์ มัลดีฟส์” (CROSSROADS MALDIVES) ตอบโจทย์ลูกค้าที่หลากหลายได้ในทุกช่วงราคา
นอกจากนี้ สิงห์ เอสเตท ยังวางแผนให้เช่าระยะยาวอาคารสำนักงานและพื้นที่ค้าปลีกระดับพรีเมียมของบริษัท 3 อาคาร ประกอบด้วย สิงห์ คอมเพล็กซ์ เอส เมโทร และพื้นที่ค้าปลีก ซันทาวเวอร์ส แก่กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท (“SPRIME”) เพื่อให้เป็นไปตามกลยุทธ์บริหารจัดการพอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ ที่จะมีการ Recycle capital สร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน รองรับการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และจะดันให้ SPRIME ขึ้นแท่นเบอร์ 1 กองทรัสต์ประเภทอาคารสำนักงาน
สิงห์ เอสเตท เผยเทรนด์ธุรกิจใหม่ เวลบีอิงค์ ชูดิจิทัลเอื้อธุรกิจ
จากกรณี ช่วงปลายปี 2564 สิงห์ เอสเตท ได้เข้าลงทุนในธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน โดยถือหุ้น 30% ในบริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) 1 จำกัด ซึ่งดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าประเภทพลังความร้อนร่วม ด้วยกำลังผลิต 123 เมกะวัตต์ และปี 2565 นี้ บริษัทฯ จะสามารถรับรู้ผลประกอบการของโรงไฟฟ้าเต็มปีเป็นครั้งแรก
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ร่วมลงทุนกับ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) 2 จำกัด และ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ (อ่างทอง) 3 จำกัด เพื่อพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมอีก 2 แห่งด้วยกำลังการผลิตรวม 280 เมกะวัตต์ ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้งสองโรงจะสามารถดำเนินการจ่ายไฟฟ้าได้ในปี 2566
นั่น คือ ภาพฉายการขยายธุรกิจที่ครอบคลุมครบวงจรมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารใหญ่ สิงห์ เอสเตท ยังเผยว่า ขณะนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่า ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ขณะเดียวกันภาวะของสถานการณ์โควิด ทำให้คนเริ่มมองหาสิ่งที่ตอบโจทย์เรื่องสาธารณสุข เราเห็นการปรับตัวของภาคธุรกิจน้อยใหญ่ เพื่อให้ตอบโจทย์กับเวลเนส หรือ เวลบีอิ้ง โดยเห็นความเคลื่อนไหวของนักพัฒนาอสังหาฯ อย่างน่าจับตามอง รวมถึงเป้าหมายของบริษัทด้วย แต่ทั้งนี้ ความสำเร็จจะถูกวัดด้วยหลายระดับ และขึ้นอยู่กับเรากับจับมือร่วมกับพันธมิตรรายใด ขณะเดียวกันยังมองเห็นโอกาสใน ตลาดท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ ภูเก็ต พัทยา และ หัวหิน ด้วย
เช่นเดียวกับ ดิจิทัลคอนเทนต์ ที่พบถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ซึ่งธุรกิจอสังหาฯ ก็อยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เช่น เมตาเวิร์ต ทำอย่างไร ให้เกิดการซื้อ จอง โอน ขณะเดียวกัน นั่นก็เปิดโอกาส ช่องทางทางการเงิน ให้ถึงลูกค้า เดินเข้ามาหา ซึ่งล่าสุดได้รับการตอบรับ พบมีลูกค้าต่างประเทศ ใช้เหรียญโทเคนจองโรงแรม
"การผุดธุรกิจใหม่ ยังจะมาจากสิ่งที่เราพัฒนาอยู่แล้ว และเป็นเมกะเทรนด์ใหม่ๆของโลก โอกาสข้างหน้าจะใหญ่แค่ไหน ยังจะมาจากการร่วมมือกับพันธมิตรข้ามอุตสาหกรรม ที่จะช่วยให้เราออกนอกขอบได้ดีขึ้น โดยขึ้นอยู่กับความเกี่ยวโยงและเอื้อประโยชน์ต่อกันในอนาคตอย่างไร "
เชื่ออสังหาฯ - โรงแรม ดีเดย์ฟื้นไตรมาส 2 ขณะสงครามยูเครนไม่กระทบ
วันนี้หากถามถึงปัจจัยการทำธุรกิจ โดยเฉพาะ ความไม่แน่นอนทางการเมืองนอกประเทศ อย่างวิกฤตยูเครน - สงครามรัสเซีย จะมีผลต่อเราแค่ไหน อาจต้องยอมรับว่า มีทั้งกระทบโดยตรงและกระทบทาง้อม จากธุรกิจ 4 ประเภท โดยเฉพาะ ธุรกิจโรงแรม ภาพรวมอาจส่งผลต่ออารมณ์การท่องเที่ยวหายไป แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจุดแข็ง เช่น โรงแรมในมัลดีฟ ที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี ทำให้ลูกค้าสลับหมุนเวียน และแม้นักท่องเที่ยวรัสเซียอาจจะลดหายไป แต่เราแทบไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆรองรับ
" สถานการณ์วันนี้อาจไม่เอื้อต่อธุรกิจท่องเที่ยว แต่เมื่อคลี่คลาย นักท่องเที่ยวที่เป็นแฟนคลับอาจกลับเข้ามาในไทยได้เร็ว ความโชคดีของเรา คือ ได้อานิสงค์จากนักท่องเที่ยวในประเทศรองรับ เพราะฉะนั้น เราเชื่อว่า ไตรมาส ที่ 3 ตลาดโรงแรมจะกลับมาดีขึ้น ขณะในต่างประเทศ เราวางงบลงทุน ทั้งการก่อสร้างใหม่ และ อัพเกรดโรงแรมที่เปิดบริการอยู่ เพื่อเพิ่มมูลค่า ฉะนั้นธุรกิจโรงแรมจะเริ่มไต่การฟื้นตัวตั้งแต่ในไตรมาส 2 "
ด้านภาวะเงินเฟ้อ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่จะให้แนะนำวันนี้ คือ การควบคุมค่าใช้จ่าย ของธุรกิจนั้นๆ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้อง และ การจัดหารายได้อย่างลื่นไหล โดยในภาคอสังหาฯ ต้นทุนที่สำคัญ คือ เงินทุน เราต้องมีต้นทุนทางการเงินที่รัดกุม และสมเหตุผล เพื่อรองรับการเติบโต และต้องอยู่ในระดับควบคุมได้ บริหารความเสี่ยงได้ เพื่อใช้ในการขยายธุรกิจในอนาคต
ที่มา : สิงห์ เอสเตท