thansettakij
เงินเยนอ่อนค่า หนุนทุนสิงคโปร์แห่ช็อปปิ้งอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่น

เงินเยนอ่อนค่า หนุนทุนสิงคโปร์แห่ช็อปปิ้งอสังหาริมทรัพย์ญี่ปุ่น

24 ก.ย. 2566 | 19:02 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.ย. 2566 | 23:44 น.

เงินเยนที่อ่อนค่าลง และปัจจัยหนุนอื่นๆ ดันให้ “สิงคโปร์” ขึ้นแท่นนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในปีนี้ โดยโรงแรมและคลังสินค้ากลายเป็นอสังหาฯที่น่าดึงดูดใจ ขณะที่อาคารสำนักงาน ความน่าสนใจลดลง

 

บริษัทไนท์ แฟรงค์ แอลแอลพี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่า สิงคโปร์ ได้กลายเป็น ผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุด ใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่น ในปีนี้ (2566) โดยได้รับแรงหนุนจาก เงินเยนที่อ่อนค่าลง และอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และการโรงแรม

ทั้งนี้ ตามรายงานที่มีการเปิดเผยในเดือนกันยายนระบุว่า จนถึงขณะนี้ เงินทุนไหลเข้าจากสิงคโปร์สู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นมีมูลค่ารวมเกือบ 3,000 ล้านดอลลาร์แล้วในปีนี้ ตามมาด้วยนักลงทุนจากสหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)

คริสติน หลี่ หัวหน้าฝ่ายวิจัยเอเชีย-แปซิฟิกของไนท์ แฟรงค์ระบุในรายงานว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์ (GIC Pte) ได้ซื้อคลังสินค้า 6 แห่งในญี่ปุ่นจากบริษัทแบล็กสโตน อิงค์ ในราคา 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สิงคโปร์ กลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในภาคอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นปีนี้ (2566) โดยได้รับแรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่าลง สิงคโปร์ กลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดในภาคอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นปีนี้ (2566) โดยได้รับแรงหนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่าลง

ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ นายเจฟฟรีย์ เจนสุบากิจ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของ GIC เปิดเผยว่า ตลาดญี่ปุ่นเป็นโอกาสการลงทุนที่ดี เนื่องจากมีราคา "ถูกมาก" และยังมีศักยภาพในการเติบโตอย่างมาก นักลงทุนต่างชาติยังถูกดึงดูด(เข้าสู่ญี่ปุ่น) ด้วยต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำ และทุ่มเงินลงทุนมากขึ้นในธุรกิจโรงแรม เนื่องจากการท่องเที่ยวญี่ปุ่นเฟื่องฟูขึ้นหลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

MSCI Real Assets รายงานว่า บรรดานักลงทุนต่างชาติ รวมถึงโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์, เคเคอาร์ แอนด์ โค และแบล็กสโตน อิงค์ ได้ลงทุนคิดเป็นมูลค่ารวมกันราว 2,000 ล้านดอลลาร์ไปกับข้อตกลงในธุรกิจโรงแรมในญี่ปุ่นแล้วในปีนี้ ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น ๆ ในภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในเอเชีย

ทุนต่างชาติทุ่มเงินลงทุนมากขึ้นในธุรกิจโรงแรม เนื่องจากการท่องเที่ยวญี่ปุ่นเฟื่องฟูขึ้นหลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทุนต่างชาติทุ่มเงินลงทุนมากขึ้นในธุรกิจโรงแรม เนื่องจากการท่องเที่ยวญี่ปุ่นเฟื่องฟูขึ้นหลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดของโควิด-19

ทั้งนี้ นักลงทุนลดความสนใจในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภาคสำนักงาน เนื่องจากพื้นที่สำนักงานมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และประชาชนจำนวนมากในญี่ปุ่นมีการทำงานแบบผสมผสานในปัจจุบัน โดยพวกเขาทำงานทั้งในสำนักงานและทำงานทางไกล หรือ work from home เพิ่มมากขึ้น