"คอนโดมิเนียม" หรืออาคารชุด นับเป็นที่อยู่อาศัยที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ทำเลดี ใกล้ที่ทำงาน ติดรถไฟฟ้า ใกล้ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน มีสระว่ายน้ำ ฟิตเนส มีระบบการรักษาความปลอดภัย ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำท่วม แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาเสียเลย จึงจำเป็นต้องตรวจสอบให้รอบคอบ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ
สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กรมที่ดิน ให้ทริคในการเลือกซื้อ"คอนโดมิเนียม" หรืออาคารชุด อย่างครบถ้วน เพื่อให้ผู้ซื้อไม่ต้องประสบปัญหาตามมาในอนาคต
การซื้อคอนโดมิเนียม หรือห้องชุด มี 2 ลักษณะ คือ ซื้อจากโครงการโดยตรง ซึ่งแบ่งเป็นยังอยู่ระหว่างก่อสร้าง และกรณีที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และซื้อห้องชุดมือสอง ต่อจากบุคคลอื่น
1. ต้องตรวจสอบ ใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จากผู้ประกอบธุรกิจคอนโดมิเนียม หรือ อาคารชุด
2. ต้องตรวจสอบโฉนดที่ดิน แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงที่จะก่อสร้างคอนโดมิเนียม หรือ อาคารชุด ของผู้ประกอบการ ซึ่งหากที่ดินมีภาระผูกพันอย่างอื่น จะไม่สามารถจดทะเบียนอาคารชุดได้ ยกเว้น เรื่องการ
3. ตรวจสอบแผนผังแสดงแนวเขตที่ดินที่ตั้งอาคาร ว่ามีทางเข้าออกหรือไม่ และทางเข้าออกนั้น เป็นทางสาธารณะหรือ ถ้าเป็นทางส่วนบุคคล ต้องตรวจสอบว่าเจ้าของที่ดินได้มีการจดทะเบียน ภาระจำยอมให้สามารถใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกอาคารไว้เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีปัญหาตามมาในภายหลัง
4. เก็บเอกสารการโฆษณา หรือโบรชัวร์ประชาสัมพันธ์ของโครงการไว้ทั้งหมด เผื่อในอนาคต หากโครงการผิดสัญญาไม่ทำตามที่ได้โฆษณาไว้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องโครงการได้ เนื่องจากกฎหมายถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขาย
5. ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโครงการ ผู้ประกอบการมีความมั่นคง และมีประวัติการประกอบกิจการที่ดีหรือไม่ เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หากเป็นนิติบุคคล มีบุคคลใดเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน โดยสามารถตรวจสอบได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
6. ตรวจสอบ เวลาเริ่มก่อสร้าง และก่อสร้างแล้วเสร็จของโครงการ
7. ผู้ประกอบการต้องใช้สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด หรือ (อ.ช.22) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดแบบสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายห้องชุดตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2552
8. ควรตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากราคาของคอนโดมิเนียม หรือห้องชุด ซึ่งผู้เป็นเจ้าของห้องชุดต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่าย เช่น ค่าบริการที่เป็นส่วนรวม ค่าดูแลรักษาและ
ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เป็นต้น โดยสอบถามได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด
9. ตรวจสอบรายการทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด
1. ตรวจสอบ การจดทะเบียนอาคารชุด ผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุด โดยสามารถขอตรวจสอบได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด หรือ จากสำนักงานที่ดินจังหวัดท้องที่
2. ควรตรวจสอบ เลขที่โฉนด จำนวนเนื้อที่ที่ดินของโครงการ แผนผังแสดงเขตที่ดินที่ตั้งอาคารชุด และทางเข้าออกของอาคารชุด ตรวจสอบได้จากสำนักงานที่ดินจังหวัดท้องที่
3. ตรวจสอบความน่าเชื่อของโครงการเช่นเดียวกับกรณีที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
4. ตรวจสอบรายการทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง ว่าตรงกับที่ได้โฆษณาไว้หรือไม่ ตรวจสอบได้จากอาคารที่ตั้งโครงการและผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุดนั้น ๆ
5. ควรตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เจ้าของห้องชุดต้องชำระ นอกเหนือจากราคาค่าห้องชุด ซึ่งผู้เป็นเจ้าของห้องชุดต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เงินกองทุน เป็นต้นสามารถตรวจสอบได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด
6. ตรวจสอบข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดดังกล่าวก่อนว่า จะยอมรับเงื่อนไขตามข้อบังคับได้หรือไม่
7. เก็บเอกสารการโฆษณา หรือโบรชัวร์ประชาสัมพันธ์ของโครงการไว้ทั้งหมด เผื่อในอนาคต หากโครงการผิดสัญญาไม่ทำตามที่ได้โฆษณาไว้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องโครงการได้ เนื่องจากกฎหมายถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขาย
1. ตรวจสอบหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดทำเลที่ตั้งของอาคารชุด และสภาพของห้องชุด ว่าพร้อมอยู่อาศัยหรือไม่
2. ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดมีอะไรบ้างมีสภาพอย่างไร เช่น ที่จอดรถ สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย เป็นต้น
3. การบริหารจัดการของนิติบุคคลอาคารชุดเป็นอย่างไร ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางเท่าไร เรียกเก็บอย่างไร และการดำเนินการของผู้จัดการ และคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดมีประสิทธิภาพหรือไม่
4. ในการโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด พนักงานเจ้าหน้าที่จะรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ เมื่อห้องชุดดังกล่าวปลอดจากหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้ฉบับปัจจุบันของนิติบุคคลอาคารชุดมาแสดงด้วย