thansettakij
ศรต.ยผ . สั่งระงับใช้20อาคารจากผลตรวจสอบ2,097แห่งทั่วประเทศจากแผ่นดินไหว

ศรต.ยผ . สั่งระงับใช้20อาคารจากผลตรวจสอบ2,097แห่งทั่วประเทศจากแผ่นดินไหว

01 เม.ย. 2568 | 08:50 น.
อัปเดตล่าสุด :01 เม.ย. 2568 | 09:03 น.

ศรต.ยผ . กรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับสภาวิศวกร สั่งระงับใช้อาคาร20แห่งจากผลตรวจสอบ2,097 อาคารทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 28-31 มี.ค. 68

 

จากสถานการณ์แผ่นดินไหวส่งผลกระทบหลายพื้นที่ในประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร โดยมีอาคารสูงได้รับความเสียหายและต้องตรวจสอบจำนวนมากทั่วประเทศ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 เมษายน  2568 ศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว (ศรต.ยผ.) กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทยรายงานผลการดำเนินการในวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2568

ได้ร่วมกับสภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และวิศวกรอาสาภาคเอกชน จำนวน 110 คน ดำเนินการตรวจสอบอาคารที่มีการแจ้งว่าได้รับความเสียหาย โดยมีการแบ่งอาคารในการตรวจสอบออกเป็น 3 กลุ่ม และขอรายงานผลการดำเนินงานตามการแบ่งกลุ่มอาคาร ดังนี้

อาคารกลุ่มที่ 1 ได้แก่ อาคารภาครัฐ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน อาคารราชการในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตรวจสอบร่วมกับ สภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และวิศวกรอาสาภาคเอกชน

ตรวจสอบอาคารที่ได้รับการร้องขอ ในวันที่ 31 มีนาคม 2568 จำนวน 31 หน่วยงาน จำนวน 73 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติจำนวน 68 อาคาร /  มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้จำนวน 5 อาคาร และไม่มีอาคารที่มีความเสียหายอย่างหนักและระงับการใช้อาคารสรุป ดำเนินการตรวจสอบอาคาร

ผลตรวจสอบอาคาร ผลตรวจสอบอาคาร

สะสมตั้งแต่ วันที่ 28 – 31 มีนาคม 2568 จำนวน 100 หน่วยงาน จำนวน 286 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติจำนวน 258 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ จำนวน 25 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร จำนวน 3 อาคาร และทางเชื่อมอาคาร จำนวน 1 แห่ง

อาคารกลุ่มที่ 2 ได้แก่ อาคารสูง โรงแรม คอนโดมิเนียม หอพัก ห้างสรรพสินค้าที่เป็นของภาคเอกชน อาคารเหล่านี้ เป็นอาคารที่ต้องมีการตรวจสอบอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารทุกปีอยู่แล้ว กรมโยธาธิการและผังเมืองได้แนะนำให้เจ้าของอาคารให้ผู้ตรวจสอบอาคารที่เคยตรวจสอบเข้าดำเนินการ ตามคู่มือสำรวจความเสียหายขั้นต้นของโครงสร้างอาคารหลัง

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวของกรมโยธาธิการและผังเมือง ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบอาคารไม่สามารถตรวจสอบอาคารได้ ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองมีผู้ตรวจสอบอาคารที่ขึ้นทะเบียน จำนวนมากกว่า 2,600 ราย สามารถค้นหาผู้ตรวจสอบอาคารได้ผ่านเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง ปัจจุบันกรมโยธาธิการและผังเมือง

เปิดสายด่วนสำหรับขอรับคำปรึกษาและแจ้งเหตุที่หมายเลข 1531 / 02 299 4191 และ 02 299 4312 ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีหนังสือด่วน สั่งการให้กรุงเทพมหานคร ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น แจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษอาคารชุมนุมคน โรงมหรสพ โรงแรมตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป โรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป อาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัย

รวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป และป้าย ให้ดำเนินการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของ

ตัวอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของตัวอาคาร  รายงานผลการตรวจสอบให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ พร้อมมาตรการควบคุมกรณีพบว่าอาคารมีความชำรุดในระดับต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจต่อผู้พักอาศัย

และผู้ใช้อาคาร โดยตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2568 กรุงเทพมหานครได้แจ้งเจ้าของอาคารภาคเอกชนที่ต้องทำการตรวจสอบตามกฎหมายแล้ว รวม 11,000 แห่ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบอาคารและรายงานกรุงเทพมหานครทราบต่อไป

อาคารกลุ่มที่ 3 ได้แก่ อาคารบ้านพักอาศัย ตึกแถว ห้องแถว และอาคารทั่วไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานครจะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจสอบให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาแก่พี่น้องประชาชน ผ่าน Traffyfondue ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ได้รับแจ้งทั้งหมด 14,330 เรื่อง และดำเนินการแล้วเสร็จ 11,904 เรื่อง

สำหรับอาคารในต่างจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้สั่งการให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ดำเนินการตรวจสอบอาคาร ร่วมกับวิศวกรขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นและวิศวกรอาสาของเอกชนในพื้นที่ ร่วมกันดำเนินการเช่นเดียวกับส่วนกลางและให้คำปรึกษาแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ โดยสั่งการให้มีการตรวจสอบอาคารสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล หรืออาคารหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เกิด

ความมั่นใจในการใช้อาคาร ปัจจุบันได้มีผลการตรวจสอบอาคารในส่วนจังหวัด 76 จังหวัด จำนวน 1,811 อาคาร

สามารถใช้งานได้ปกติจำนวน 1,663 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ จำนวน 131 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร จำนวน 17 อาคาร

สรุปผลการตรวจสอบอาคารที่มีการแจ้งว่าได้รับความเสียหาย ตั้งแต่วันที่ 28 – 31 มีนาคม 2568 ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,097 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติจำนวน 1921 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ จำนวน 156 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร จำนวน 20 อาคาร นอกจากนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองมีช่องทางให้เจ้าของอาคาร      

ผู้ตรวจสอบอาคาร หรือพี่น้องประชาชน สามารถรับทราบข้อมูลต่าง ๆ ผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ของกรมฯ สื่อมวลชน โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสื่อออนไลน์ ในส่วนความคืบหน้ากรณีอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พังถล่มลงมาระหว่างก่อสร้าง

ได้มีการแต่งตั้งชุดคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวแล้ว ได้มีการประชุมครั้งแรกในวันที่ 31 มีนาคม 2568 และจะเร่งรายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบภายในระยะเวลา 7 วัน