ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เดินหน้า 3 กิจกรรมร่วมเปลี่ยนโลก เพิ่มคุณภาพชีวิต

28 ต.ค. 2565 | 06:02 น.
อัปเดตล่าสุด :08 พ.ย. 2565 | 09:51 น.

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เดินหน้า 3 กิจกรรมร่วมเปลี่ยนโลก เพิ่มคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ส่งต่องานวิจัย 5 ด้าน-แบ่งปัน Sustainnovation book-เปิดคอร์สWell-Being Engineering มุ่งสู่เป้าหมายสากล

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) มุ่งมั่นในการดำเนินงานวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ สำหรับสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับสรรพสิ่งบนโลก หรือ For All Well-Being พร้อมทั้งมีความตั้งใจเป็นศูนย์วิจัยเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณชน จากการสั่งสมองค์ความรู้ผ่านการทำงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมมาตลอดกว่า 10 ปี และคัดเลือกเพื่อโฟกัสประเด็นที่มีผลต่อ Well-being มากที่สุด เกิดเป็นงานวิจัยใน 5 ด้าน (RISC’s 5 Hubs Research) ครอบคลุมทุกด้านในเรื่องของความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) และยังสอดคล้องกับเป้าหมายสากลและนานาชาติ ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) โดยงานวิจัยเหล่านี้ได้นำไปประยุกต์ใช้จริงในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตลอดกระบวนการและทุกขนาดโครงการ ทั้งในระดับอาคาร ระดับชุมชน และระดับเมือง นอกจากนั้นยังนำองค์ความรู้นี้ต่อยอด เพื่อประโยชน์ของสังคมในด้านต่างๆ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เดินหน้า 3 กิจกรรมร่วมเปลี่ยนโลก เพิ่มคุณภาพชีวิต

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) กล่าวว่า RISC มีแนวทางในการส่งต่อองค์ความรู้เชิงลึกด้าน “Well-being” สู่สาธารณะผ่าน 3 กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่งานวิจัยและองค์ความรู้ด้าน “Well-being” สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับทุกสรรพสิ่งอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าขยายแนวร่วมในการสร้าง Well-being ในกลุ่มสถาปนิก วิศวกร นักพัฒนาโครงการ นักวิชาการองค์กรและบริษัท รวมถึงนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ประกอบด้วย

กิจกรรมแรก คือ เปิดตัว “RISC 5 Research Hubs for Well-being” งานวิจัยหลักภายใต้ RISC ขึ้นมา 5 ด้านหลัก ผ่านการศึกษาจากการบูรณาการงานวิจัยหลากหลายศาสตร์ ต่อยอดลงลึกองค์ความรู้เพื่อขยายผล และสร้างนวัตกรรม Well-being ด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของสรรพสิ่ง ได้แก่

  1. งานวิจัยด้านคุณภาพอากาศ (Air Quality)
  2. งานวิจัยด้านวัสดุและการใช้ทรัพยากร (Materials)
  3. งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Plants)
  4. งานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แห่งความสุข (Happiness Science)
  5. งานวิจัยด้านศาสตร์ความพร้อมรับมือ (Resilience)

ซึ่งองค์ความรู้ 5 ด้านนี้ ได้นำมาประยุกต์ใช้จริงทั้งในภาคอสังหาริมทรัพย์และในด้านอื่น ๆ อีกมาก เพื่อที่ทุกหน่วยงานจะได้ร่วมกันสร้างสุขภาวะที่ดี (Well-being) ที่ส่งเสริมด้านความยั่งยืน และสนับสนุนองค์ความรู้ให้เกิดการต่อยอดในวงกว้าง เพื่อประโยชน์แก่สังคม ทั้งระดับบุคคล องค์กร ชุมชนเมือง จนถึงระดับโลกต่อไป

 

กิจกรรมที่สอง คือ การเปิดตัว Well-Being Engineering Program หลักสูตรที่จะช่วยสร้างกลุ่มคน “New Army of Well-being” หรือ กองทัพเพื่อร่วมสร้างความอยู่ดีมีสุข โดยใช้องค์ความรู้เชิงลึกจากงานวิจัย และประสบการณ์ทำงานในการประยุกต์ความรู้ส่งเสริมให้เกิด Well-being ในโครงการจริง ความรู้จากหลายศาสตร์ เพื่อการออกแบบอาคารจากเชิงวิทยาศาสตร์ ช่วยส่งเสริมสุขภาวะที่ดี (อยู่ดีมีสุข) ครบด้าน ผสานกับวิศวกรรมงานระบบเชิงประยุกต์ทั้งกระบวนการวางแผนและจัดการภาพรวม เชื่อมโยงทุกส่วนของการพัฒนาโครงการได้ เพื่อทำให้อาคารหรือโครงการ นำไปสู่ Well-being (อยู่ดีมีสุข) ได้อย่างยั่งยืน

หลักสูตรนี้จัดขึ้นจากองค์ความรุ้ด้านงานวิจัยเชิงลึกหลายศาสตร์ และจากประสบการณ์นำความรู้เชิงลึกนี้ไปประยุกต์ใช้จริงในโครงการอสังหาริมทรัพย์แล้วมากมาย จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่หลากหลายด้านของ Well-being  โดยศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้ที่หลากหลายและการผสานความรู้เหล่านั้นจนเกิดเป็นหลักสูตร “Well-being Engineering Program” ตลอดหลักสูตรได้มีการสอนเชิงลึกจาก อาทิเช่น รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน คุณเกชา ธีระโกเมน ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC) ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดร.จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส RISC ดร.สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ RISC และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์อีกหลายท่านร่วมถ่ายทอด และให้ความรู้เกี่ยวกับหลากหลายมิติทางด้านความยั่งยืน โดยหลักสูตรจะเกี่ยวเนื่องในเชิงลึกทางด้าน ความยั่งยืนทางด้านจิตใจ (Mental/Emotional Well-being) ความยั่งยืนทางด้านร่างกาย (Physical Well-being)  และความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Well-being) ที่สำคัญยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับกรอบการปรับตัวเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในอนาคตของสรรพสิ่ง (Resilience Framework for future Well-Being) อีกด้วย

 

กิจกรรมที่สาม คือ เปิดตัวหนังสือ “Sustainnovation” โดยเป็นหนังสือที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของทุกชีวิต อันประกอบด้วย คำนิยามของความยั่งยืน (Sustainability) นวัตกรรม (Innovation) และตัวอย่างเกณฑ์ชี้วัดความยั่งยืนทั่วโลก พร้อมบทสัมภาษณ์ 10 ผู้ทรงคุณวุฒิ  ที่มีความเชี่ยวชาญในหลายศาสตร์ หลากสายอาชีพทั้งจากภาคธุรกิจ การศึกษา และนักวิชาการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้มีตัวอย่างของ “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainnovation)” ที่น่าสนใจทั่วโลกที่มาช่วยตอบ Painpoint ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างที่เราคาดไม่ถึงด้วย

 

ทั้งนี้ในส่วนของงานวิจัย 5 ด้าน จากการบูรณาการองค์ความรู้เชิงลึกจากงานวิจัยหลายศาสตร์เชิงลึก เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและสร้างคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ดังนี้ 

1. สร้างสมดุล - เกื้อกูลหลายชีวิต  (Plants & Biodiversity หรือ งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ)

“ศึกษาการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริม เกื้อกูลกัน หาวิธีส่งเสริมศักยภาพของพืชพันธุ์ในด้านต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย”

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เดินหน้า 3 กิจกรรมร่วมเปลี่ยนโลก เพิ่มคุณภาพชีวิต

การศึกษาและวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองสร้างสมดุลระบบนิเวศโดยหาแนวทางกระบวนการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ควบคู่กับการรักษาและเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถพัฒนาเมืองไปพร้อมกับการรักษาระบบนิเวศอย่างเข้าใจและถูกต้องตามวัฏจักรชีวิตของทุกสิ่งมีชีวิต ศึกษาการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ให้ส่งเสริม เกื้อกูลกัน หาวิธีส่งเสริมศักยภาพของพืชพันธุ์ในด้านต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย  

 

2. เพิ่มคุณภาพอากาศ (Air Quality หรือ งานวิจัยด้านคุณภาพอากาศ)

“ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร เพื่อผู้อยู่อาศัยในอาคารโดยตรงและส่งเสริมคุณภาพอากาศที่ดียิ่งขึ้น”

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เดินหน้า 3 กิจกรรมร่วมเปลี่ยนโลก เพิ่มคุณภาพชีวิต

เริ่มจากกระบวนการก่อสร้างที่ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศ และกระบวนการออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดี การเลือกวัสดุที่ปลอดสารพิษ ระบบเครื่องกลที่ช่วยควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร และจากสภาพอากาศปัจจุบันที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลต่อสุขภาพ ภาวะเศรษฐกิจ สังคมในด้านต่างๆ จึงต้องหาวิธีช่วยลดปัญหาทางด้านอากาศทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยใช้นวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาและส่งเสริมคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น  

 

3. สร้างความสุขให้เราทุกคน  (Happiness Science หรือ งานวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แห่งความสุข)

“ศึกษาการสร้างความสุขให้กับมนุษย์ ผ่านการศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยา และวิจัยประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านสัญญาณสมองและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีและความสุขได้”

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เดินหน้า 3 กิจกรรมร่วมเปลี่ยนโลก เพิ่มคุณภาพชีวิต

ศึกษาพฤติกรรมและจิตวิทยาของคนทุกช่วงวัย ด้วยการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ตลอดช่วงชีวิต ตั้งแต่ผลกระทบของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ความเครียดและความกังวลของวัยผู้ใหญ่ ความเสื่อมถอยด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ เพื่อหาปัจจัยที่เสริมสร้างความสุขในแต่ละช่วงวัย  นำความรู้มาประยุกต์การออกแบบให้สอดคล้องและเอื้อต่อการใช้ชีวิต ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน รวมทั้งศึกษาด้านระบบประสาทการรับรู้ของมนุษย์ ผ่านการวิจัยจากสัญญานสมองด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจการรับรู้สิ่งเร้าต่างๆ เพื่อคัดแต่สภาพแวดล้อมที่สร้างการรับรู้เชิงบวก (Positive Perception) และหาแนวทางในการลดความเสี่ยงการเกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล สมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

 

4. ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและยั่งยืน (Materials & Resources หรือ งานวิจัยด้านวัสดุและการใช้ทรัพยากร)

“ศึกษาวิจัยวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอาคาร การใช้วัสดุทดแทนเพื่อลดการใช้ทรัพยากรโลกในรูปแบบต่างๆ รวมถึงมุ่งมั่นหาแนวทางการลดคาร์บอนของโลกด้วยเทคโนโลยีอนาคต”

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เดินหน้า 3 กิจกรรมร่วมเปลี่ยนโลก เพิ่มคุณภาพชีวิต

พัฒนาวัสดุใหม่ (Innovation materials) เพื่อสร้างคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-being materials) ทั้งการเพิ่มความคงทนของวัสดุ วัสดุที่ช่วยลดแนวโน้มอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัย วัสดุที่ปลอดสารพิษลดแนวโน้มความเจ็บป่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดี  วัตถุดิบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม วัสดุที่คาร์บอนต่ำ หรือวัสดุที่ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน ตลอดจนปรับกระบวนการก่อสร้างลดการเหลือเศษ และพัฒนาวัสดุก่อสร้างจากขยะพลาสติก เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

5. พร้อมรับมือโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง (Resilience หรือ งานวิจัยศาสตร์ความพร้อมรับมือ)

 “ศึกษาแนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงโลก ตลอดจนคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น จนนำไปสู่แนวทางการพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์ในอนาคต ตั้งรับและลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น”

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เดินหน้า 3 กิจกรรมร่วมเปลี่ยนโลก เพิ่มคุณภาพชีวิต

โลกเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งปัญหามลภาวะอากาศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคน สังคม ตลอดจนภัยพิบัติต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกรวน (Climate change) ให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งปัจจุบันและอนาคต ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) และวางแผนการสร้างอาคารและเมือง เพื่อสามารถตั้งรับได้ในทุกสถานการณ์ ทั้งการเตรียมตัวก่อนเกิดเหตุการณ์ การจัดการขณะเกิดเหตุ และการฟื้นฟูภายหลัง  เพื่อสร้างการ “อยู่รอด (Survive) ปรับตัว (Adapt) และเติบโต (Grow)”

 

ในอนาคต RISC by MQDC  มีแผนขยายขอบเขตงานวิจัยให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น และยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) มากถึง 13 เป้าหมาย จากทั้งหมด 17 เป้าหมาย ในการร่วมเป็นพลเมืองโลกที่ร่วมเปลี่ยนโลกไปด้วยกัน ด้วยการนำงานวิจัยสร้างประโยชน์ ต่อยอดสู่ชุมชน สังคม และเมือง เกิดความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน สร้างประโยชน์ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อสรรพสิ่งอย่างยั่งยืน

 

ผู้ที่สนใจในองค์ความรู้ด้านต่างๆ  สามารถดูย้อนหลังได้จาก RISC Talk 2022 ทั้ง RISC 5 Research Hubs ได้ที่ https://bit.ly/3SSXbjo

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) เดินหน้า 3 กิจกรรมร่วมเปลี่ยนโลก เพิ่มคุณภาพชีวิต

RISC : https://risc.in.th/

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center; RISC) โดย MQDC (บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด)  เป็นศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาที่เน้นนวัตกรรมด้านคุณภาพชีวิตแห่งแรกของเอเชีย ประกอบด้วยเครือข่ายนักวิจัย นวัตกร ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งผู้ผลิต เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายที่สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในโลก รวมไปถึงการฟื้นฟูและรักษาสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสมดุล เอื้อต่อการใช้ชีวิตของทุกสรรพสิ่งได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพ และยั่งยืน

ผลงานวิจัยถูกนำมาใช้ในโครงการต่าง ๆ ของ MQDC  และร่วมเปิดพื้นที่วิจัยนี้ให้กับทุกคน ทุกองค์กร เพื่อยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต