นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในการเป็น Special Talk หัวข้อนวัตกรรมเพื่อธุรกิจยั่งยืน ในงานสัมมนา Next Step Thailand 2023 : ทิศทางแห่งอนาคต ซึ่งจัดโดย สปริงนิวส์ โพสต์ทูเดย์ เนชั่น กรุ๊ป ว่า นวัตกรรมเพื่อการยกคุณภาพชีวิตที่ประเทศไทยต้องมีแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
ทั้งนี้ นวัตกรรมทางเกษตรมีศักยภาพแต่มีความท้าทายสูง โดยประชากรไทยประกอบอาชีพเกษตรถึง 30% หรือ 1 ใน 3 เป็นเกษตรกร แต่กลับสร้างจีดีพี (GDP) ให้กับประเทศแค่ 8.5% ดังนั้น ภาคเกษตรต้องเพิ่มผลผลิต การทำเกษตรแบบดั้งเดิมอาจจะมีปัญหา เพราะฉะนั้น อาต้องนำปัญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาใช้ให้เกิดสมาร์ทฟาร์มมิ่ง (Smart farming) ซึ่ง ปตท. ได้ทำเทคโนโลยีโดรนมากพอสมควร สามารถนำไปสร้างนวัตกรรมเป็นโดรนเกษตรช่วยใส่ปุ๋ย ใส่ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
นอกจากนี้ จะต้องพัฒนาใส่ข้อมูลต่าง ๆ ในโดรน เช่น สภาพภูมิประเทศ สภาพดิน เพื่อเพิ่มความฉลาด โดยเชื่อว่ามีหน่วยงานราชการดูแลเรื่องนี้ แต่จะทำยังไงให้บูรณาการแล้วลงไปในพื้นที่จริงได้ รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์มค้าขายเพื่อไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่ง ปตท. ได้ลงไปช่วยบ้างในบางพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนนำสินค้าสามารถขายได้โดยตรง
อย่างไรก็ดี ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ถือเป็นธุรกิจยานยนต์อนาคต โดย ปตท. กำลังดำเนินงานสร้างโรงงานผลิตซึ่งคาดว่าแล้วเสร็จภายใน 2 ปี ซึ่งจะกลายเป็นโรงงาน OEM ที่ผู้ประกอบการายใดต้องการสร้างแบรนด์ และไม่ต้องการลุงทุนโรงงานผลิต ก็สามารถมาออกแบบร่วมกับปตท.
ส่วนสถานีชาร์จอีวี จะต้องมีการบูรณาการจะเชื่อมโยงแต่ละยี่ห้อรวมถึงการจ่ายเงินค่าชาร์จซึ่งน่าจะได้เห็นภายใน 2 ปี โดยจะช่วยกระตุ้นระบบนิเวศ (Eco System) ของอีวี ให้เติบโตนำประเทศจะไปสู่เป้าหมาย 30% ในปี 2030 ได้
อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งนวัตกรรมที่จะต้องก้าวต่อไปก็คือ ไฮโดรเจน ซึ่งกลุ่ม ปตท.ได้เริ่มมีการทดลองติดตั้งปั๊มไฮโดรเจนโดยคุยกับโตโยต้าเพื่อนำรถมาวิ่งทดลองใช้มองว่าจะเกิดขึ้นจริงใน 5-10 ปี จะช่วยลดโลกร้อน
นายอรรถพล กล่าวต่อไปอีกว่า นวัตกรรมด้านสุขภาพ ถือเป็นอีกหนึ่งในจุดหมายปลายทางของบริการด้านสุขภาพเฉพาะทางชั้นนำในเอเชีย โดยประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความสามารถในการผลิตยาส่วนใหญ่เป็นการอัดเม็ดและบรรจุขวดยา ความสามารถผลิตหัวเชื้อยา หรือ API น้อยมาก ดังนั้น จะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศถึงจะเกิดความมั่นคง ส่วนเรื่องของอาหารจะต้องต่อยอดจากอาหารเสริมสุขภาพไปเป็นอาหารที่ทานแล้วเป็นยาไปด้วย ถือเป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง
ทั้งนี้ เป็นที่ทราบดีว่านวัตกรรมเป็นเรื่องที่จำเป็น และต้องมาผนวกกับธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ถือเป็นความท้าทายของธุรกิจทั่วโลกที่ต้องเจอ คือ 4D แบ่งเป็น
สำหรับ ทั้ง 4 ปัจจัย ปตท. ต้องใช้นวัตกรรมช่วยเปลี่ยนอนาคตและทำให้ยั่งยืน โดยมี 2 นวัตกรรมคือ
1.นวัตกรรมลดโลกร้อน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากขณะนี้ถอว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้น โดยจากงานวิจัยพบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับ 9 ของโลกที่มีความเสี่ยงหากเกิดภาวะโลกร้อนแม้จะไม่เป็นผู้กระทำแต่ด้านภูมิศาสตร์ที่ติดทะเล ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ประกาศเป้าหมาย Net Zero ในปี 2065 ซึ่ง ปตท. จะทำให้ถึงเป้าหมายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าที่ประเทศประกาศ เพื่อช่วยค่าเฉลี่ย เพราะบริษัทใหญ่หากทำก็จะเร็วกว่าบริษัทที่ไม่มีศักยภาพทำ
นายอรรถพล กล่าวอีกว่า นวัตกรรมที่จะช่วยลดโลกร้อนหลักมี 3 แบบ ได้แก่
"ในการจัดลำดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเริ่มตกลงเกือบทุกปี ขณะนี้อยู่อันดับ 33 จาก 63 ประเทศ ส่วนความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลอยู่อันดับที่ 40 สวนทางกับการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ระดับ Top ของโลกแต่ก็ยังมีข้อดีคือ ประเทศไทยเหมาะกับการประกอบธุรกิจเราอยู่ในอันดับ 3 และเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางด้านสุขภาพเราในอันดับ 5"
และ2.นวัตกรรมในการยกระดับคุณภาพชีวิต