ค่าไฟหน่วยละกี่บาท เป็นคำถามที่รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนัก กกพ.) จะสรุปตัวเลขค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที (FT) งวดเดือน พ.ค.-ส.ค.เรียบร้อยแล้ว และมีการประกาศค่าไฟอย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ดี ยังมีส่วนที่รัฐบาลพยายามช่วยเหลือค่าไฟประชาชนเพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เพื่อไขข้อสงสัยในเรื่อง "ค่าไฟ" พบว่า
ล่าสุดนายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. ได้ระบุชัดแล้วว่า ที่ประชุม กกพ.มีมติปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที) งวดใหม่ลงมาอยู่ที่ 91.19 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟเฉลี่ยที่เรียกเก็บกับประชาชนสำหรับงวดเดือนพ.ค.-ส.ค.2566 ลดลง 7 สตางค์ต่อหน่วย
จากเดิมที่มีมติ 4.77 บาทต่อหน่วย เป็น 4.70 บาทต่อหน่วย ซึ่งถือเป็นการลดลง 2 สตางค์ต่อหน่วย จากงวดปัจจุบันสำหรับเดือนม.ค.-เม.ย.2566 อยู่ที่ 4.72 บาทต่หน่วย ตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอ
โดยไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง เนื่องจากสมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณสูตรค่าเอฟทีไม่เปลี่ยนแปลงไปจากการพิจารณาก่อนหน้านี้ที่ กกพ.ได้เปิดให้สาธารณะชนแสดงความคิดเห็นไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม ครม.ยังได้มีการเห็นชอบการใช้จ่ายงบกลางจำนวน 10,464 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากค่าไฟแพง โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าผ่าน 2 มาตรการเดิมที่เคยผ่านการเห็นชอบจากครม.ครั้งก่อน
หลังจากผ่านการเห็นชอบจากครม. แล้วสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะเสนอมติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. พิจารณาตามกฎหมายต่อไป
สำหรับมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าทั้ง 2 มาตรการ แบ่งเป็น
มาตรการลดค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง
มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าของกลุ่มเปราะบาง 4 เดือน ในงวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2566 โดยกำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายละเอียดการช่วยเหลือแยกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
มาตรการช่วยค่าไฟฟ้าเร่งด่วน
มาตรการช่วยเหลือประชาชนระยะเร่งด่วน เป็นมาตรการช่วยเหลือประชาชนในส่วนของค่าไฟฟ้า ซึ่งได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 6% มีรูปแบบการช่วยเหลือ ประกอบด้วย