นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยในงานเสวนาพิเศษในหัวข้อ ค่าไฟฟ้าที่เป็นธรรมต้องทำอย่างไร ที่จัดโดยหลักสูตรด้านวิทยาการพลังงานสำหรับนักบริหารรุ่นใหม่ รุ่นที่ 2 (วพม.2) ร่วมกับสมาคมการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน ว่า แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ฉบับใหม่ หรือ PDP 2024 (พ.ศ.2567-2580) อยู่ระหว่างการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการพยากรณ์ และจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 7 พฤษภาคมนี้ จากนั้นจะเปิดรับฟังความเห็นต่อไป
ด้านแนวทางหลักในการจัดทำแผน PDP 2024 จะมุ่งเน้น 3 ส่วน ประกอบด้วย
ขณะที่การชี้วัดความมั่นคงของแผน ใช้เกณฑ์โอกาสเกิดไฟฟ้าดับ (LOLE) ต้องไม่เกิน 0.7 วันต่อปี หรือไม่เกิน 17 ชั่วโมงจาก 8,760 ชั่วโมงจากเดิมใช้เกณฑ์กำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin)
ส่วนเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียนใหม่ ปลายแผน หรือ พ.ศ.2580 ต้องมีสัดส่วนการผลิตไม่น้อยกว่า 50% ตามแนวนโยบายของแผนพลังงานชาติ
นอกจากนี้ยังกำหนดเป้าหมายของมาตรการเปลี่ยนแปลงพฤติกกรรมการใช้ไฟฟ้า ( Demand response ) 1,000 เมกะวัตต์ และมาตรการลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (peak) โดยใช้ DER รองรับเทคโนโลยีใหม่ที่จะ ซึ่งมีการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศไทยมาสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานจากการมีผู้ผลิตไฟฟ้าใช้เองมากขึ้นในอนาคต
นายวีรพัฒน์ กล่าวอีกว่า โรงไฟฟ้าใหม่และเทคโนโลยีใหม่ที่จะนำมาพิจารณาในแผน ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับ รับซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากต่างประเทศ โซลาร์ โซลาร์ลอยน้ำ และโซลาร์บวกด้วยระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System : BESS) มีพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) เป็นทางเลือก ส่วนเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาเป็นทางเลือก อาทิ ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage ) เทคโนโลยีแอมโมเนีย เป็นต้น
"เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในภาคการผลิตไฟฟ้าลดลงเหลือ 41.5 ล้านตันคาร์บอนในปี พ.ศ.2593 ตามตัวเลขของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยความท้าทายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยหันมาใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ต้นทุนยังสูง และไม่สามารถพึ่งพาได้ตลอดเวลาจำเป็นต้องมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อทำให้ระบบมีความมั่นคง เนื่องจากตัวเลขการใช้ไฟฟ้าที่เราติดตามมาตลอดพบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วง 2 ปีมาอยู่ในเวลากลางคืน ยกตัวอย่างในระหว่าง 22-24 เมษายน 2567 ที่ผ่านมาเกิดหลัง 3 ทุ่ม ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ไม่สามารถรองรับได้"