"TPIPP" ชี้ Climate Change- Cleaner& Greener เมกะเทรนด์โลกอนาคต

17 มิ.ย. 2567 | 09:35 น.
อัปเดตล่าสุด :17 มิ.ย. 2567 | 10:21 น.

"TPIPP" ชี้ Climate Change- Cleaner& Greener เมกะเทรนด์โลกอนาคต พร้อมเผยแนวทางลดการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นศูนย์ในปี 2026 เดินหน้าใช้พลังงานขยะ 100% พร้อมสร้างระบบนิเวศภายในบริษัทให้เป็น Zero Waste

นายภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP เปิดเผยในงานสัมนาหุ้นไทย 2024 WITH THE DRAGON FIRE "DISCOVER NEW OPPORTUMITIED" ในหัวข้อ Discover new opportunities ลงทุนสินทรัพย์ทางเลือก หุ้น Mega Trend ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ว่า เมกะเทรนด์ของโลกในปัจจุบันจากการค้นคว้าหาข้อมูลคือ Climate Change ในสถาการณ์ที่โลกกำลังร้อนขึ้น ขยะมีมากขึ้น 

ส่วนเมื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับ 7 เมะเทรนด์ที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตของมนุษย์คืออะไร คำตอบที่ได้ก็คือ Climate Change และ Cleaner& Greener ขณะที่ Global Trend ที่จะทำให้อนาคตเปลี่ยนแปลงไปคืออะไร คำตอบก็คือ Climate Change

ด้าน Mega Trend ที่จะทำให้โลกเปลี่ยนไปอีก 20 ปีข้างหน้าคืออะไร คำตอบก็คือ Climate Change และ Cleaner& Greener ส่วน 5 Global Mega Trend คืออะไร 1 ในนั้นก็คือ Climate Change
 

จากคำตอบที่ได้ดังกล่าวทำให้พบว่า Climate Change และ Cleaner& Greener คือ Mega Trend ในปัจจุบัน โดยสอดคล้องกับที่ประเทศไทยได้ร่วมประชุมบนเวที COP ที่ประเทศอียิปต์ และได้ทำข้อตกลงว่าภายในปี 2025 จะมีการลดโรงไฟฟ้าที่มาจากการใช้น้ำมัน และเริ่มใช้โรงไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน

"TPIPP" ชี้ Climate Change- Cleaner& Greener เมกะเทรนด์โลกอนาคต

ส่วนปี 2040 นั้น 68% ของโรงไฟฟ้าจะต้องเป็นพลังงานหมุนเวียน ขณะที่ปี 2050 สัดส่วน 74% ของโรงไฟฟ้าจะต้องเป็นพลังงานหมุนเวียน และจะทยอยยกเลิกการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยที่ไทยจะต้องเป็น Carbon Neutral ในปี 2050

นอกจากนี้ในปี 2065 ไทยจะจต้องเป็น Net Zero เพราะฉะนั้นประเทศไทยก็จะต้องขับเคลื่อนตาม Mega Trend ซึ่งแน่นอนว่า Climate Change และ Cleaner& Greener ก็จะเป็น Mega Trend ของโลก ซึ่งก็จะสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจของบริษัท 
 

"TPIPP มุ่งที่จะเป็นผู้นำทางด้านการนำขยะไปสู่พลังงาน โดยจะต้องเป็นบริษัท Net Zero พร้อมกับ ESG รวมถึงการสร้างระบบนิเวศภายในบริษัทให้เป็น Zero Waste และในอนาคตจะต้องยั่งยืน"

นายภัคพล กล่าวถึงการเติบโตของธุรีกิจโรงไฟฟ้าของบริษัทว่า เริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกในปี 2009 โดยมีอยู่ 60 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นพลังงานความร้อนทิ้งที่มาจากบริษัทแม่ ส่วนปี 2022 มี 440 เมกะวัตต์ โดยเหลือพลังงานความร้อนทิ้ง 40 เมกกะวัตต์ และมีพลังงานจากขยะ 180 เมกะวัตต์ ส่วนอีก 220 เมกะวัตต์คือถ้านหิน 

หลังจากนั้นปี 2024 พลังงานความร้อนทิ้งเหลือ 40 เมกะวัตต์เท่าเดิม ส่วนพลังงานขยะเพิ่มขึ้นเป็น 250 เมกะวัตต์ โดยมีโซลาร์เพิ่มมา 37 เมกะวัตต์ และอีก 150 เมกะวัตต์ยังเป็นถ่านหิน แต่หลังจากปี 2026 บริษัทจะมีเพิ่มเป็น 540 เมกะวัตต์ โดยที่ 40 เมกกะวัตต์ ยังเป็นความร้อนทิ้ง ส่วน 79 เมกะวัตต์จะเป็นโซลาร์ ขณะที่อีก 420 เมกะวัตต์จะเป็นพลังงานขยะ ด้านถ่านหินจะกลายเป็นศูนย์ 

สำหรับวิธีการผลิตไฟฟ้าด้วยการทอแทนพลังงานจากถ้่นหินของบริษัทคือ โซลาร์ฟาร์มจะมี 73 เมกะวัตต์ ซึ่งจัดตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ซึงจะขายให้กับบริษัทแม่ ส่วนการขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์หรือ COD จะเริ่มกลางปี 2567-2568 

โซลาร์รูฟท็อปมีอยู่ประมาณ 6 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าภายใน 1-2 เดือนจะดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด โดยขายให้กับบริษัทแม่เช่นเดียวกัน 

นายภคพล กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนโรงไฟฟ้าถ้านหินเป็นโรงไฟฟ้าขยะของบริษัทจะแบ่งออกเป็น 6 เฟส โดยเฟสที่ 1-3 เสร็จเรียบร้อยแล้วช่วงปลาย 2022-2023 หรือรวมทั้งหมดประมาณ 40% ปัจจัยนกำลังดำเนินการาทำเฟส 4-6 อยู่ โดยเฟสที่ 4 จะเสร็จช่วงเดือน ก.ย. และจะทำให้โรงไฟฟ้าถ่านหินหายไปอีก 20% 

ส่วนเฟสที่ 5 จะเสร็จช่วงเดือน ธ.ค. ปี 68 โดยจะทำให้โรงไฟฟ้าถ้านหินหายไปได้อีก 20% และเฟสที่ 6 เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้โรงไฟฟ้าถ้่านหินหายไปเพิ่มอีก 20% ซึ่งจะครบมทั้ง 100% โดยที่จะกลายเป็นโรงไฟฟ้าขยะทั้งหมดในปี 2026 เป็นต้นไป 

นายภคพล กล่าวต่ออีกว่า อุปสรรคของไทยที่อาจจะทำให้ไม่สามารถไปสู่เมกะเทรนด์ดังกล่าวได้ก็คือ ตลาดคาร์บอน โดยหากเป็นที่ยุโรปนั้น คาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตันสามารถขายได้ประมาณ 90 ยูโร ที่จีนจะขายได้ 7 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ไทยในปัจจุบันยังไม่มีตลาดคาร์บอน 

"สิ่งที่ทำให้ยุโรและจีนสามารถไปได้ไกล เพราะทั้ง 2 ประเทศมีภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) หากผลิตคาร์บอนเกินโควต้าจะต้องเสียภาษี ทำให้บริษัทแห่งหนึ่งที่ผลิตคาร์บอนเกินโควต้า ต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากอีกบริษัทหนึ่งที่โควต้ายังเหลืออยู่ ทำให้ตลาดมีการเติบโต และมีมูลค่ามากขึ้น ถึงขั้นกำลังจะมีการจัดตั้งกรมความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งเมื่อการจัดตั้งกรมดังกล่าวแล้วเสร็จน่าจะทำให้ไทยมีตลาดคาร์บอนที่มั่นคงมากขึ้น และได้รับความสนใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น"

นายภคพล กล่าวอีกว่า คำว่า TPI ประกอบด้วย

  • T มาจากเทคโนโลยี ซึ่งกลุ่มบริษัทยืนยันที่จะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด เพื่อดำเนินธุรกิจในอนาคต
  • P คือผลิตภัณฑ์ ซึ่งบริษัทยืนยันที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยที่สุด เพื่อตอบโจทย์ในชีวิตของลูกค้า
  • I คือนวัตกรรม กลุ่มจะคิดค้นนัวตกรรมใหม่ เพื่อผลิตสินค้าที่ดีที่สุด

ดังนั้น คำว่า TPI จึงมีความเกี่ยวโยงกันทั้งหมเด โดยที่ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยตัว I  หรือนวัตกรรม 

นายภคพล กล่าวด้วยว่า ปัจจุบัน PE ของ TPIPP อยู่ต่ำกว่าอุตสาหกรรมพลังงานค่อนข้างมาก หรือประมาณ 2 ใน 3 แต่หากเทียบกับ Set Index จะต่ำกว่าเกินครึ่ง ขณะที่อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield ) สูงกว่า SET ถึง 2 เท่า