รายงานข่าวเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จํากัด และ บริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัด ได้ร่วมกันสร้างมิติใหม่โดยนำสายไฟลงดินทั้งระบบในพื้นที่ “สยามสแควร์” ทั้งนี้บริษัท เจริญชัยฯ ได้ทำพิธีส่งมอบหม้อแปลงใต้น้ำซับเมอร์ส ช่วยลดคาร์บอนได้ให้กับจุฬาฯแล้ว
ขณะที่ล่าสุดทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก. หรือ TGO) ได้มอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับทางบริษัทเจริญชัยฯ ที่ได้รับการประเมินว่า หม้อแปลงฯของบริษัทสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้จริง 69.746 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ขณะที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เชิญชวนคนไทยเยี่ยมชมสยามสแควร์หลังนำสายไฟฟ้าลงดินทั้งระบบซึ่งจะมีทัศนียภาพที่สวยงามมากยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออากรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมพัฒนาระบบไฟฟ้าใต้ดินทั้งระบบ ในพื้นที่ของจุฬาฯ โดยเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท เจริญชัยหม้อแปลง ไฟฟ้า จํากัด และ บริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัดในย่านสยามสแควร์ เพื่อนำร่องความมั่นคงทางระบบไฟฟ้า ความปลอดภัย ความทันสมัย รวมถึงการจัดการความมั่นคงด้านพลังงาน ตามนโยบายการเพิ่มศักยภาพเมืองให้เป็นสมาร์ทซิตี้ ของกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการยกระดับเป็นมหานครแห่งอาเซียน และเป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้การนำไฟฟ้าลงดินทั้งระบบรวมทั้งหม้อแปลงไฟฟ้าในย่านสยามสแควร์ จะช่วยปรับทัศนียภาพในพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงาม ช่วยสร้างระบบไฟฟ้าที่มีความมั่นคง สร้างความปลอดภัยด้านอัคคีภัยให้แก่ประชาชน
สำหรับหม้อแปลงซับเมอร์สของบริษัทเจริญชัยฯ สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาหม้อแปลงที่ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าที่มีทัศนียภาพไม่สวยงาม ทำให้ดูดียิ่งขึ้นไม่รกตา ไม่บดบังหน้าร้าน อาคาร สถานประกอบการ และการนำหม้อแปลงไฟฟ้าลงดินจะประโยชน์ต่อสังคมและพี่น้องประชาชน ทั้งด้านความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ป้องกันการเกิดอัคคีภัย และสร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้เมือง สร้างแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าขายในพื้นที่ให้แก่ประชาชน ทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าของที่ดินให้มีราคาเพิ่มมากขึ้น
“นอกจากนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับหม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดตั้งบนเสาไฟ ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้าลัดวงจรจากต้นไม้พาดเกี่ยวสายไฟฟ้าและอื่น ๆ ทำให้ระบบไฟฟ้าลัดวงจรก็จะหมดไป โดยหากมีการนำหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่บนเสาลงดิน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงด้านอัคคีภัย เกิดความปลอดภัยและไฟฟ้าเกิดความเสถียรภาพ รวมทั้งมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ เพื่อรองรับตามนโยบายการเป็นมหานครแห่งอาเซียนของกรุงเทพมหานคร"
ทั้งนี้จุฬาฯ ขอเชิญชวนคนไทยเดินทางเยี่ยมชมสยามสแควร์สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ใจกลางเมือง ที่นำสายไฟลงดินทั้งระบบทันสมัยชั้นนำของโลก พร้อมชมหม้อแปลงไฟฟ้าใต้ดินซับเมอร์สที่ทันสมัยนวัตกรรมคนไทย ปลอดอัคคีภัย ลดคาร์บอน ลดโลกร้อน และเป็นแหล่งเรียนรู้การประหยัดพลังงาน มุ่งสู่ Net Zero Emission
ด้าน นายประจักษ์ กิติรัตนวิวัฒน์ รองกรรมาการผู้จัดการ (ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม) บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ทำพิธีมอบหม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon เจริญชัย “Sustainable Energy Management with IoT based Submersible Transformer” ให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ไปเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา
โดยในงานมีศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้รับมอบ และมี รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายนพชัย ถิรทิตสกุล ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีโนวา อินทิเกรชั่น จำกัด ร่วมงาน เพื่อสร้างมิติใหม่ที่ช่วยสนับสนุนการเป็นสมาร์ทซิตี้ของกรุงเทพฯ โดยนำระบบสายไฟลงใต้ดินทั้งระบบใช้หม้อแปลงซับเมอร์สที่ทันสมัยอันดับ 1 ของโลก ที่ช่วยลดการใช้พลังงาน ลดคาร์บอน และก้าวสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ( Net Zero Emission) ตามนโยบายของรัฐบาล
ด้านแผนการตลาดของบริษัท เจริญชัยฯ หลังจากนี้ ได้ตั้งเป้าหมายสร้างกำลังการผลิตหม้อแปลงซับเมอร์ส Low Carbon ลดคาร์บอนปีละ 100 ล้านต่อปี ช่วยสนับสนุนการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย ตามนโยบายของรัฐบาล ที่กำหนดไว้ ภายใน ค.ศ.2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายใน ค.ศ.2065 และทางบริษัทฯพร้อมนำเสนอนวัตกรรมหม้อแปลง Low Carbon ให้หน่วยรัฐ ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ร่วมกันลดคาร์บอน ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งบริษัท เจริญชัยฯ ให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้หน่วยงานรัฐ หรือผู้ประกอบการเอกชนรายใด ที่ต้องการร่วมกับบริษัทฯ ในการเข้ามามีบทบาท ร่วมกำกับดูแล และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม และร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน บริษัทฯ ก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO ได้มอบประกาศเกียรติคุณให้แก่บริษัทฯ ที่สามารถพัฒนาหม้อแปลงไฟฟ้า Low Carbon ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 69.746 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เป็นนวัตกรรมไทยของคนไทยแห่งแรกของโลกลดคาร์บอน ช่วยไทยเร่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emission ตอบโจทย์การลดคาร์บอนได้ถึง 100 ล้านตันต่อปี เหมือนปลูกป่าในเมือง 105,263,158 ไร่ ดูดซับคาร์บอน