ประเทศไทยพยายามหาทางจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ “เศษพลาสติก” นำเข้ามาจากต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ตามแผนของกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดนโยบายในการปรับลดการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ พร้อมจัดทำนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก โดยกำหนดห้ามนำเข้าเศษพลาสติกตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป
น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก ตามที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและราคาเศษพลาสติกในประเทศ และเพื่อไม่ให้ประเทศไทยเป็นที่รองรับเศษขยะจากประเทศอื่น
ทั้งนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ และกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายกำกับการนำเข้าเศษพลาสติกต่อไป
สาระสำคัญคุมการนำเข้าเศษพลาสติก
1. เมื่อสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป ห้ามนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ โดยให้กระทรวงพาณิชย์ออกประกาศกำหนดให้เศษพลาสติกเป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร
2. การนำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่เขตปลอดอากร (ในช่วงปี 2566-2567) โดยอนุญาตเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม 14 แห่งที่กำหนด ได้แก่ โรงงานทั้งหมดที่ใช้เศษพลาสติกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกที่ตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร โดยให้นำเข้าไม่เกินความสามารถในการผลิตจริง รวม 372,994 ตันต่อปี
สำหรับระยะเวลาารนำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่เขตปลอดอากรจำนวน 2 ปี แบ่งเป็น
โดยการนำเข้าจะต้องมีมาตรการควบคุมดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อมิให้เกิดมลพิษในประเทศ เช่น เศษพลาสติกที่นำเข้าต้องแยกชนิดและไม่ปะปนกัน สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยไม่ต้องทำความสะอาด ต้องใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น เป็นต้น
3. การนำเข้าเศษพลาสติกในพื้นที่ทั่วไป (ในช่วงปี 2566-2567) ให้นำเข้าเฉพาะกรณีที่ไม่มีเศษพลาสติกในประเทศหรือมีปริมาณไม่เพียงพอโดยมีหลักเกณฑ์ เช่น ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแสดงหลักฐานว่ามีความจำเป็นในการนำเข้าและไม่สามารถหาได้ในประเทศ, นำเข้าได้ในปริมาณที่สอดคล้องกับกำลังการผลิต, นำเข้ามาเพื่อเป็นวัตถุดิบเท่านั้น (ไม่รวมถึงการคัดแยกหรือย่อยพลาสติก), สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยไม่ต้องทำความสะอาด
รัฐบาลสั่งทำตามแผนใน 2 ปี
ทั้งนี้รัฐบาลเน้นย้ำให้ดำเนินการมาตรการควบคุมในช่วง 2 ปี (ในช่วงปี 2566-2567) คือ มาตรการกำกับการนำเข้าเศษพลาสติก 3 ประเด็น ประกอบด้วย
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับทุกฝ่ายจึงให้มีมาตรการลดผลกระทบจากการห้ามนำเข้าเศษพลาสติก 4 ประเด็น ประกอบด้วย