นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทยกับทางพลังงานยุคใหม่ ว่า เอกชนมีทิศทางเดียวในการเดินไปข้างหน้ากับภาครัฐเพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไป ซึ่งประเทศไทยมีจุดแข็งและนักลงทุนเองมีความต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมาก เพราะมองว่าไทยเป็นฐานการผลิตที่ดีและมีศักยภาพ ซึ่งญี่ปุ่นถือว่าเป็นนักลงทุนเบอร์1ของไทยที่เข้ามาลงทุนยาวนานมาก
ดังนั้นนโยบายการขับเคลื่อนS-Curve จึงเป็นสิ่งสำคัญโดยสอท.จะผลักดันให้เกิดธุรกิจกลุ่มนี้เพิ่มอีก10กลุ่มธุรกิจเพื่อให้เติบโต ซึ่งทิศทางที่ไทยจะเดินจากนี้มีความท้าทาย มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและต่ออุตสาหกรรมไทย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจโลกถดถอย ภาวะเงินเฟ้อและความเข้มงวดทางการเงินของหลายประเทศ การกลายพันธุ์ของไวรัสโควิดและโรคใหม่ และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปซึ่งส่งผลต่ออุตสาหกรรมทั้งสิ้น
โดย World Bank มีการคาดการณ์จีดีพีโลกปี2023 จะขยายตัวที่17% จากเดิมจะขยายตัว3%และการค้าโลกชะลอตัวเหลือ1% ในขณะที่ไทยเองได้รับผกระทบในเรื่องต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น การส่งออกมีการชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ยและความผันผวนของค่าเงิน รวมถึงการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว และการเลือกตั้งที่จะมีในช่วงเดือนพ.ค.นี้ ซึ่งกกร.ได้คาดการณ์จีดีพีไทยที่3-3.5% ส่งออกโต1-2% และเงินเฟ้อไทยอยู่ที่2.7-3.2%
“ปัญหาที่ตอนนี้ของอุตสาหกรรมไทยคือการขาดแรงงาน ทั้งที่มีทักษะและไม่มีทักษะ ดังนั้นสอท.พยายามที่จะสร้างคนเหล่านี้ขึ้นมา เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ก้าวไปข้างหน้า มีการร่วมมือกับสถานบันการศึกษา หน่วยงานรัฐในการจัดอบรม ฝึกฝีมือและรับเข้าทำงาน เพราะ30%ของ60%ของจีดีดีมาจนากภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นทุกคนต้องรวมกันเป็นทีมเพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไป”
ด้านนายบุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)เปิดเผยว่า แนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจใหม่และนวัตกรรมของปตท.เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยว่า ว่าภายใต้เป้าหมายการประกาศเจตนารมณ์ของ กลุ่ม ปตท. ถึงประเด็นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 นั้นทั้งกลุ่ม ปตท. ก็ได้มีการดำเนินงานที่เห็นเป็นภาพชัดเจนแล้วหลายด้าน โดย ปตท. เองก็ได้ประกาศปรับสัดส่วนรายได้ภายในปี 2573 จะมีรายได้จากธุรกิจใหม่ที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 30% โดยแบ่งเงินลงทุนในช่วง 5 ปี 2565-2569 อยู่ที่ปีละประมาณ 300,000 ล้านบาท หรือประมาณ 30% จากงบลงทุนในแต่ละปี
“ในปัจจุบันมีหลายธุรกิจของ ปตท. ที่เน้นดำเนินงานภายใต้การดูแลการปล่อยคาร์บอนนั้นสามารถสร้างรายได้ หรือทำกำไรให้กับบริษัทได้แล้ว อย่างเช่นการลงทุนในบริษัท บริษัท ฮอริษอน พลัส จํากัด ก็เริ่มเห็นความชัดเจนทั้งเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า และเรื่องแบตเตอรี่ ขณะที่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ที่ได้ไปร่วมทุนกับ บริษัท โลตัส ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (Lotus Pharmaceutical) บริษัทยาระดับโลกของไต้หวัน ก็สามารถทำตลาดได้ดี และในปี 2565 โลตัส ฟาร์มาซูติคอล ก็มียอดขายที่ 15,000 ล้านบาท ทำกำไรได้เกือบ 2,000 ล้านบาท”นายบุรณิน กล่าว
อย่างไรก็ตามการจัดงาน PTT Group Tech & Innovation Day เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถแสดงศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทิศทางกลยุทธ์ การดำเนินงาน และการลงทุนด้านนวัตกรรมของกลุ่ม ปตท. โดยมีแกนหลักคือ สถาบันนวัตกรรม ปตท. ผ่านความร่วมมือทั้งจากในกลุ่ม ปตท. และจากเครือข่ายพันธมิตรชั้นนำภายนอก จนเกิดเป็นกลุ่มงานนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ 7 ด้านมาร่วมจัดแสดง ประกอบด้วย พลังงานแห่งอนาคต (Future Energy) , ยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility) , ธุรกิจยาและการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Life Science) , ปัญญาประดิษฐ์ (AI) , หุ่นยนต์ ระบบออโตเมชั่น และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ (Robotics & Digitalization) , การขนส่งและโครงสร้างพื้นฐาน (Logistics & Infrastructure) , ธุรกิจเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) และ ระบบนิเวศของนวัตกรรม (Innovation Ecosystem)