สมาคมดินและปุ๋ยฯ หารือ บิ๊ก FAO ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ

15 ก.ค. 2566 | 13:18 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.ค. 2566 | 13:18 น.

“ระพีภัทร์” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร/สมาคมดินและปุ๋ยฯ หารือ บิ๊ก FAO ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ รวมทั้ง ลดก๊าซเรือนกระจกและการจัดการคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตร

สมาคมดินและปุ๋ยฯ หารือ บิ๊ก FAO  ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและนายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย หารือ Dr. QU Dongyu ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ Ms. Maria Helena Semedo รองผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กระชับความร่วมมือด้านการเกษตร พร้อมขยายผลความร่วมมือทุกมิติรวมถึง การลดก๊าซเรือนกระจกและการจัดการคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตร และการปรับปรุงมาตรการด้านสุขอนามัยพืชต่างๆ

 

การวิจัยร่วมการลดปริมาณการฉายรังสีเพื่อการกำจัดแมลงศัตรูพืชในผลไม้ ภายใต้อนุสัญญาอารักพืชระหว่างประเทศ พร้อมกันนี้อธิบดีกรมวิชาการเกษตร รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ผู้แทนสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโรม และ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ประชุมหารือ Dr. QU Dongyu ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในด้านการจัดการดิน และปุ๋ย เพื่อความมั่นคงทางอาหาร และระบบอาหาร อย่างยั่งยืน

สมาคมดินและปุ๋ยฯ หารือ บิ๊ก FAO  ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ

ในโอกาสนี้ได้ประชุมร่วมกับ รองผู้อำนวยการใหญ่ FAO ในการยกระดับระบบอาหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีนโยบายขับเคลื่อนระบบอาหารของไทยให้เกิดความยั่งยืน ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ให้ประชาชนไทยและประชาชนโลก อิ่มสุขภาพดี ภายใต้นโยบาย“เชื่อมไทย ... เชื่อมโลก” ร่วมกัน บรรลุวัตถุประสงค์และขับเคลื่อนผลจากการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก

สมาคมดินและปุ๋ยฯ หารือ บิ๊ก FAO  ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ

ทั้งนี้ได้ร่วมมือกับ FAO ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกดำเนินโครงการ “Technical assistance for food loss national baseline survey and developing capacity on agricultural sustainability” ขอบคุณ FAO ที่สนับสนุนช่วยเหลือผลักดันให้ระบบอาหารและการเกษตรของไทย รวมถึงทั่วโลกให้มีความยั่งยืน และขอบคุณ FAO ที่ประกาศให้ “ระบบเลี้ยงควายปลักพื้นที่ทะเลน้อย” จ.พัทลุง เป็นพื้นที่ “มรดกโลกทางการเกษตร” แห่งแรกของไทย

               

พร้อมกันนี้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรและรองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ได้หารือร่วมกับ Mr. Li Feng Li, Director, FAO Land and Water Division(NSL) ถึงปัญหาการประเมินการพังทลายของดินและความเสื่อมโทรมของดิน ปัจจุบันประเทศไทยประเมินการพังทลายของดินโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับสมการการสูญเสียดินสากล ซึ่งวิธีการดังกล่าวยังต้องปรับปรุงให้แม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของการใช้จุลินทรีย์ในการปรับปรุงดิน กรมพัฒนาที่ดินและกรมวิชาการเกษตรได้มีการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์และสารปรับปรุงดิน

สมาคมดินและปุ๋ยฯ หารือ บิ๊ก FAO  ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ

รวมถึงเผยแพร่สู่เกษตรกร ซึ่งกระบวนการศึกษาและวิจัยนวัตกรรมจุลินทรีย์นั้นจะต้องทำการแยกและคัดเลือกจุลินทรีย์ตามธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในดิน ตามกลุ่มจุลินทรีย์ที่ต้องการนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เมื่อคัดเลือกได้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพแล้วจึงทำการศึกษาเพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ ในส่วนของสมาคมดินและปุ๋ยกำลังจะมีการจัดสัมมนาใหญ่ในเรื่อง Fertilizer Certification ซึ่งคาดหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจาก FAO ทั้งในส่วนของการให้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดการดินและปุ๋ยรวมทั้งความสนับสนุนในการจัดตั้ง Center of Excellence For Soil Research in ASIA หรือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งภูมิภาคเอเชีย(CESRA) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เรื่องดินของไทยและภูมิภาคเอเชีย

สมาคมดินและปุ๋ยฯ หารือ บิ๊ก FAO  ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ

หลังจากนั้นอธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้หารือร่วมกับ Mr. Kaveh ZahediDirector of the Office of Climate Change, Biodiversity, and Environment (OCB) at FAOในโอกาสที่กรมวิชาการเกษตรได้รับเลือกเป็นประธานเครือข่ายอาเซียนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ (ASEAN-Climate Resilient Network: ASEAN-CRN)

 

โดยมีแนวทางในการพัฒนาคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตร 2 แนวทางคือ พัฒนาโครงการนำร่องร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชนในการลดประมาณก๊าซเรือนกระจกเพื่อเปลี่ยนเป็นคาร์บอนเครดิตผ่านกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรในพืชนำร่อง 7 ชนิด ได้แก่มันสำปะหลัง มะม่วง ทุเรียน ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ยางพารา อ้อย และ การพัฒนากรมวิชาการเกษตรในฐานะหน่วยงานตรวจสอบและยืนยันขอบคุณ FAO ในโอกาสที่ GCF(Green Climate Fund) UNFCCC อนุมัติงบประมาณสำหรับโครงการ FAO ให้กับกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศไทยในการพัฒนาโครงการ“Technical Assistance for Strengthening Capacity of Policy Makers to Mobilize Investment for Resilient and Low Emission Agrifood Systems in Asia under Article 6 of the UNFCCC Paris Agreement”

 

โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายในการใช้ประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชนในการขยายการดำเนินงานในระยะยาวเพื่อมุ่งสู่ระบบอาหารและเกษตรที่มียั่งยืน ตามข้อตกลงปารีส ข้อ 6 (Article 6) ที่กล่าวถึงการดำเนินความร่วมมือระหว่างรัฐภาคี เพื่อเพิ่มความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัว รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนความการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรมีความประสงค์ขอรับการสนับสนุนด้านความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงข้อมูลทางวิชาการในการจัดทำระบบคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตรและการพัฒนามาตรฐานด้านคาร์บอนเครดิตภาคการเกษตร อาทิ VCSCDM หรือ Golden standard จาก FAO ด้วย

สมาคมดินและปุ๋ยฯ หารือ บิ๊ก FAO  ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร หารือร่วมกับ Dr. Osama El-LissyIPPC Secretary FAOด้านการมีส่วนร่วมของไทยประเด็นเกี่ยวกับอนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (International Plant Protection Convention: IPPC) ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชโดยใช้ข้อมูลทางวิชาการจากการวิเคราะห์ มาออกประกาศข้อกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยพืชต่างๆ ซึ่งบังคับใช้ในการนำเข้าพืชต้องห้ามหลายชนิด โดยประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีกับประเทศคู่ค้าสำคัญ ทั้งนี้ยังขอขอบคุณการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการจาก IPPCผ่านกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ การจัดประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่นักวิชาการของกรมวิชาการเกษตร ในการเรียนรู้กระบวนการจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศ

สมาคมดินและปุ๋ยฯ หารือ บิ๊ก FAO  ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ

พร้อมกันนี้ในโอกาสที่ไทยสามารถส่งออกส้มโอฉายรังสีไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาได้เป็นครั้งแรก กรมวิชาการเกษตรยังเสนอความร่วมมือด้านงานวิจัยกับ IPPC ในการจัดการระบบการผลิตผลไม้และการลดปริมาณการฉายรังสีผลไม้ที่ส่งออกชนิดต่างๆ เพื่อคงคุณภาพของผลไม้ฉายรังสีที่ส่งออกและในขณะเดียวกันสามารถทำลายศัตรูพืชที่แฝงมาได้ด้วย

 

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวในตอนท้ายว่า ขอขอบคุณผู้อำนวยการใหญ่ และ รองผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ FAO ที่ได้ให้การสนับสนุนความร่วมมือด้านต่างๆกับประเทศไทยเป็นอย่างดีมาตลอด และเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมดำเนินโครงการต่างๆ กับ FAO ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขอบคุณ FAO สำหรับการจัดตั้งวันดินโลก ขอบคุณประเทศสมาชิกทุกประเทศที่มีส่วนร่วม ในการสนับสนุนกิจกรรมวันดินโลกต่างๆ อย่างจริงจังของทุกภาคส่วน

สมาคมดินและปุ๋ยฯ หารือ บิ๊ก FAO  ขยายผลความร่วมมือทุกมิติ

สำหรับประเทศไทยตลอดทั้งปี มีการจัดงานวันดินโลก และร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรมวันดินโลกพร้อมกันทั่วทั้งประเทศ ซึ่งความมุ่งมั่นของประเทศไทยนี้สะท้อนให้เห็นถึง ความเชื่อที่ว่า “ทุกวัน คือวัน ดินโลก” (Every day is World Soil Day)

 

และ ปีนี้ ในโอกาสดี ที่ครบรอบ 10 ปี วันดินโลก จึงขอเชิญชวนสมาชิก FAO เฉลิมฉลองวันดินโลกและส่งผลงานของตนเพื่อพิจารณาเข้าร่วมชิงรางวัล King Bhumibol World Soil Day Award ของ FAO/United Nation ในส่วนของประเทศไทย สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายนำเสนอการเข้าร่วมชิงรางวัล King Bhumibol World Soil Day Award ในหัวข้อ “Spirit of Soil Spirit of Partnership” ภายใต้ FAO/United Nation ในธีม “Soils where Food begins.