ดร.เตชทัต บูรณะอัศวกุล ประธานสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เผยว่า จากที่ผ่านมาประเทศไทยมีงานวิจัยอยู่มากมาย แต่ไม่ได้นำมาพัฒนาตอบโจทย์สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานจริง ณ วันนี้ได้เห็นการพัฒนาของหม้อแปลงไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด โดยเป็นหม้อแปลงโลว์คาร์บอน ( Submersible Transformer Low carbon)
ทั้งนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าหม้อแปลงดังกล่าว สามารถบริหารจัดการพลังงานที่สิ้นเปลืองให้เกิดประสิทธิภาพ และมีความเสถียรภาพกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มั่นคง และยั่งยืน และทำให้โรงงานอุตสาหกรรม อาคาร สถานประกอบการ สามารถลดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า 5 % (Energy Saving) และลดคาร์บอนได้ 5-10% ลดมลพิษ พร้อมเพิ่มอายุการใช้งานของอุปกรณ์ยาวนานขึ้น ซึ่งผลงานดังกล่าวได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และเป็นต้นแบบให้กับนานาประเทศ และเป็นนวัตกรรมที่สอดรับกับเรื่องคาร์บอนเครดิตที่เป็นทิศทางของโลก
ศาสตราจารย์ ดร. พานิช วุฒิพฤกษ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และที่ปรึกษาคณะกรรมการต่างประเทศ วสท. กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมที่ประเทศไทยมีเทคโนโลยีหม้อแปลงไฟฟ้าใต้ดินที่จะสนับสนุนการนำสายไฟฟ้าลงดินให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาในหลายพื้นที่ได้เริ่มนำสายไฟฟ้าลงดินแล้ว แต่ยังติดปัญหาเรื่องของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ไม่สามารถนำลงฝั่งลงใต้ดินเพราะเกรงในเรื่องของความปลอดภัย แต่ทางโครงการจุฬาลงกรณ์ ได้พิสูจน์แล้วว่าหม้อแปลงดังกล่าวมีความปลอดภัยและใช้งานได้จริง
ดร.สมบัติ วนิชประภา ที่ปรึกษา โครงการ CHULA Smart City กล่าวว่า ระบบไฟฟ้าบนดินของภูมิภาคอาเซียน ที่ผ่านมามีปัญหาจากพื้นที่วางหม้อแปลงบนเสาไฟฟ้า ที่ดินโดยรอบราคาสูงขึ้น ทางเท้าแคบ ใน หน้าฝนมีความเสี่ยงไฟดูดและไฟช็อต และสายไฟฟ้ายังบดบังหน้าบ้าน หน้าร้าน มีอุบัติเหตุที่เกิดกับเสาไฟฟ้าทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับประชาชน ฯลฯ ดังนั้น หม้อแปลงใต้ดิน Low Carbon จะตอบโจทย์ให้กับโครงการระบบไฟฟ้าสายใต้ดินอาเซียน
ทั้งนี้ หม้อแปลงใต้ดิน Low Carbon เป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ การนำสายไฟลงใต้ดินทั้งระบบ เพื่อสร้างมั่นคง ความปลอดภัย โดยไม่บังหน้าบ้าน ไม่บังร้านค้า สร้างทัศนียภาพที่สวยงามให้กับเมือง และสร้างความปลอดภัยต่อต่อสังคมและประชาชน และนำเทคโนโลยี IoT ในการควบคุมแรงดันให้เกิดเสถียรภาพ ทำให้การปล่อยกระแสไฟฟ้าเกิดความมั่นคง ไม่สิ้นเปลืองพลังงาน เมื่อไฟฟ้ามั่นคงไม่สิ้นเปลืองเป็นการผลักดันให้เกิดเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่ทันสมัยและยั่งยืน
“จากที่บริษัท เจริญชัยฯ ได้นำหม้อแปลงใต้ดินต้นแบบมาติดตั้งในพื้นที่สยามสแควร์ที่ผ่านมา ก็เริ่มมีคนรู้จักและเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของระบบหม้อแปลงดังกล่าวมากขึ้น มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มาดูผลงานโมเดลแห่งนี้เป็นจำนวนมาก รวมถึงคณะวิศวกรจากอาเซียนที่เข้ามาเยี่ยมชมล่าสุด ก็มีความสนใจพร้อมที่จะนำไปพัฒนาประเทศของตนด้วย”
ด้าน นาย Soni Solistia Wirawan : Representative in WG Energy, PII Indonesia กล่าวว่า จากการศึกษาดูงานการนำการนำสายไฟและหม้อแปลงโลว์คาร์บอนลงดินในพื้นที่สยามสแควร์ ถือเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยของประเทศไทย ทำให้เกิดความมั่นคง มีความปลอดภัย สร้างทัศนียภาพให้สวยงาม และสร้างความปลอดภัยต่อสังคมและประชาชน ซึ่งสมาพันธ์วิศวกรอาเซียน(AFEO)พร้อมจะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ
สำหรับหม้อแปลงใต้น้ำ Low Carbon ของเจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรัฐ และสถาบันที่มีชื่อมากมาย เป็นเครื่องการันตีคุณภาพของนวัตกรรม ด้วยรางวัล และประกาศเกียรติคุณทั้งในและต่างประเทศ