นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยในงาน Thailand Economic: Resilience and Opportunitiesในช่วงThailand Trade Pulse2023 ว่าในช่วง2-3ปีมีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลก และส่งผลกระทบต่อการค้าโลก ไม่ว่าจะเป็น การแพร่ระบาดของโควิด สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ หรือแม้แต่สงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมไปถึงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปซึ่งส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและของไทย
ซึ่งสภาพัฒน์ฯได้มีการคาดการณ์จีดีพีของไทยไว้ที่2.7-3.7% การส่งออกไทยครึ่งปีแรกแม้ว่าภาพรวมจะยังคงติดลบที่5.4%มีมูลค่า 141,170.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐแต่ทั้งปียังคงมั่นใจส่งออกไทยจะยังขยายตัวที่1% เพราะยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่จะฉุดการขยายตัวของส่งออกไทย
และเศรษฐกิจในประเทศแม้ว่าการท่องเที่ยวจะเป็นแกนหลักในการพยุงเศรษฐกิจไทยด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา แต่ก็อาจจะยังไม่เพียงพอเพราะยังมีปัญหาเสี่ยงด้านอื่นๆไม่ว่าจะเป็นอันตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น การชะลอตัวของประเทศคู่ค้า แต่ไทยเองถือว่ายังมีตัวเลขการส่งออกที่ดีกว่าประเทศในแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ที่ยังคงติดลบมากว่าไทย
อย่างไรก็ตามมั่นใจการค้าและส่งออกไทยในครึ่งปีหลังจะกลับมาขยายตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะประเทศคู่ค้าเริ่มกลับมาฟื้นตัวและมีกำลังซื้อ แต่ทั้งนี้ภาครัฐและเอกชนต้องจับมือกันเพื่อทำงานรวมกันฝ่าปัญหาอุปสรรคโดยกระทรวงพาณิชย์มอง3ปัจจัยที่ยังต้องติดตาม เช่น ความจัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ของสหรัฐ กับจีน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูงไปจีนของสหรัฐหรือการสร้างความเข้มแข็งห่วงโซ่การผลิตระหว่างพันธมิตรในอินโด-แปซิฟิก
รวมถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรมแบตเตอรี่อุตสาหกรรมรถไฟฟ้าในประเทศ ในขณะที่จีนเองสร้างความเข้มแข็งให้กับตลาดในประเทศลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ ตั้งเป้าผลิตเซมิคอนดัสเตอร์รองรับความต้องการภายในประเทศให้ได้70%ในปี68 เพื่อป้องกันการขาดแคลนวัตุดิบเหมือนที่ผ่านมารวมถึงจีนเองควบคุมการส่งออกแกลเลียมและเจิอร์เมเนียมซึ่งเป็นวุตถุดิบสำคัญในการผลิตเซมิคอนดัสเตอร์และเพิ่มบทบาทกับพันธมิตรตามเส้นทางสายไหมผ่านการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมและเศรษฐกิจดิจิทัล
นอกจากนี้ในฝั่งยุโรปเองมีมาตรการทางกานค้าที่เข้มขึ้นโดยเฉพาะมาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ทางอียูต้องการลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกลดลงให้ได้อย่างน้อย55%ในปี73และศูนย์เปอร์เซ็นต์ในปี93 โดยมาตรการดังกล่าวเรียกว่า CBAMที่ครอบคลุม 6 กลุ่มสินค้าไม่ว่าจะเป็นซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ยเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมีเนียนและไฮโดรเจน โดยเริ่มใช้มาตรการดังกล่างในปีนี้ซึ่งมีระยะเปลี่ยนถ่าย3ปีคือปี66-31ธ.ค.68 และตั้งแต่1ม.ค.69 ผู้ประกอบการต้องซื้อใบรับรอง(CBAM)เป็นต้น
และปัจจัยเสี่ยงสุดท้ายคือปัจจัยด้านการผลิต ทั้งวัตถุดิบ อาหารและพลังงานไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางด้านสงครามที่ยังเป็นความเสี่ยงต่อห่วงโซ่อุปทานด้านอาหารและพลังงานโลก การแปรปวนด้านสภาพภูมิอากาศ เช่นเอลนีโญที่ทั่วโลกกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและความมั่นคงทางด้านอาหาร แต่อย่างไรก็ตามมองว่าเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแต่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีโดยเฉพาะการนำเข้าปัจจัยด้านการผลิต ทั้งนี้ทุกปัญหาคือความท้าทายของไทยและเป็นโอกาสที่จะเข้าไปช่วงชิงความได้เปรียบในตลาดการค้าโลก ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด