นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงานสัมมนา ROAD TO NET ZERO โอกาส & ความท้าทายทางธุรกิจ ในหัวข้อ Net Zero : ความท้าทายกับโอกาสทางธุรกิจ ว่ายุทธศาสตร์ธุรกิจยั่งยืนของแกร็บ มุ่งให้ความสำคัญ 3 ด้าน คือ 1.การผลกระทบให้สังคม ทั้งการสร้างโอกาสการขายให้กับร้านอาหาร หรือ การสร้างรายได้ให้กับพาร์ทเนอร์คนขับ , 2.การปกป้องสิ่งแวดล้อม และ 3.ความโปร่งใส
โดยแกร็บได้ดำเนินการออกแบบกลยุทธ์ธุรกิจยั่งยืน ทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว อย่างไรก็ตามแกร็บไม่ใช่ผู้ผลิต แต่เป็นแพลตฟอร์มตัวกลางระหว่างพาร์ทเนอร์กับผู้บริโภค จึงได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ
โดยที่ผ่านมา 92% การปล่อยคาร์บอน ของแกร็บ มาจากพาร์ทเนอร์คนขับ โดยพาร์ทเนอร์คนขับให้ความสำคัญกับการสร้างรายได้มากกว่ารักษ์โลก แกร็บ จึงได้ออกแบบโครงการสนับสนุนให้พาร์ทเนอร์คนขับในการลดการปล่อยคาร์บอน ผ่านโครงการเปลี่ยนการใช้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ แบบ ICE (เครื่องยนต์สันดาบ)ไปเป็นรถ EV โดยเปิดให้พาร์ทเนอร์คนขับที่มีอยู่หลายแสนราย สามารถเช่าใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านแอปฯ แกร็บได้ โดยสามารถเลือกรุ่น ราคา ได้ตามต้องการ ข้อมูลจุดนัดรับรถ จุดเปลี่ยนแบตเตอรี่ โดยโครงการรเปลี่ยนมาใช้รถ EV โดยมีค่าเช่าที่ถูกกว่าผ่อนชำระ ช่วยให้พาร์ทเนอร์คนขับประหยัดต้นทุนได้ 75% สามารถสร้างรายได้ให้กับพาร์ทเนอร์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังร่วมกับผู้ผลิตรถ EV นำข้อมูลพื้นที่ที่มีพาร์ทเนอร์คนขับหนาแน่น มาออกแบบติดตั้งจุดให้บริการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ทั้งนี้คาดว่าภายในปี 2569 จะมีพาร์ทเนอร์ ราว 10% หรือหลายหมื่นรายเปลี่ยนมาใช้รถ EV
นายวรฉัตร กล่าวต่อไปอีกว่านอกจากนี้แกร็บยังตั้งเป้าเป็นออฟฟิศสีเขียว ภายในปี 2573 และยังได้พัฒนาเทคโนโลยีแผ่นที่มาช่วยออกแบบเส้นทางที่ดีสุด เพื่อลดการใช้พลังงาน ขณะเดียวกันก็ผลักดันให้ลูกค้า หรือผู้บริโภคมีความเข้าใจเรื่องการชดเชยคาร์บอน
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์ และธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า AIS ในฐานะผู้ให้บริการโทรคม มุ่งสร้างระบบนิเวศสีเชียวขึ้นมา โดยข้อมูลจากสมาคม GSMA และองค์กรอิสระระบุว่าธุรกิจโทรคม ปล่อยคาร์บอนรวมกัน 0.4% อย่างไรก็ตามบริษัทโทรคม และดิจิทัล มีการนำโซลูชันเข้าไปช่วยเหลือภาคธุรกิจ หรืออุตสาหกรรม ช่วยให้ลดการปลดปล่อยมลพิษได้ 10 เท่า
ทั้งนี้ AIS มุ่งยกระดับการชีวิตผู้คนผ่านบริการดิจิทัล โดยมีวิสัยทัศน์มุ่งสู่องค์กรโทรคมอัจฉริยะ มีการนำเทคโนโลยีจัดการเครือข่ายอัตโนมัติ การนำระบบวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้ และทรานฟอร์มระบบไอที โดยรูปแบบธุรกิจ AIS มุ่งดำเนินธุรกิจแบบ บีทูบีทูซี และบีทูซี
โดย AIS มุ่งดำเนินธุรกิจเพื่อมุ่งลดมลพิษ และจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในแกนของโอปอเรชัน มีอาคารสีเขียว พื้นที่ 18,000 ตารางเมตร ให้บริการคอลเซ็นเตอร์ มีการนำ AI มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานเครือข่าย ควบคู่ไปกับการลดการใช้พลังงาน โดยปัจจุบันมีสถานีเครือข่ายทั่วประเทศ 50,000 แห่ง มีดาต้าเซ็นเตอร์ โดยชณะนี้มีสถานีชุมสาย จำนวน 8,751 แห่ง ที่ใช้พลังงานทดแทน
นอกจากนี้ AIS ยังได้นำเทคโนโลยีมาสร้างให้เกิด Smart Customer โดยขณะนี้แอป My AIS มีผู้ใช้บริการ 10 ล้านคน เปลี่ยนการรับรู้บิลค่าใช้จ่ายรายเดือนมาใช้งานแอป My AIS ซึ่งขณะนี้มีการออกบิลอิเล็กทรอนิกส์ 111 ล้านบิล มีการออกใบกำกับภาษีไปแล้ว 125 ล้านใบ , สร้าง Smart Factory โดยนำเทคโนโลยี 5G IoT AI มาช่วยในการบริการจัดการโรงงานอุตสาหกรรม บำรุงรักษาเครื่องจักร และ Smart Logistic การนำ 5G และ IoT มาใช้ควบคุมยานยนต์ไร้คนขับ โดยที่ผ่านมามีการทดสอบรถบรรทุกไร้คนขับ
ด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผ่านมามีการบริหารจัดการ อุปกรณ์ สถานีฐานเก่า โดยมีการนำอุปกรณ์เก่ามาซ่อมบำรุง และนำมาใช้ใหม่ในส่วนงานที่เหมาะสม มีการนำมารีไซเคิล และการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ในวิธีการที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ประเทศไทยมีจำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ 439,405 ตันต่อปี ในปี 62 มีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีถูกต้อง 7% ปี 65 ที่ผ่านมามีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็น 10% แต่ยังมีอีก 90% มีการจำกัดอย่างไม่ถูกต้อง AIS จึงได้จัดทำโครงการ AIS E-waste โดยการดำเนินการโครงการดังกล่าวนั้นมุ่งสร้างการรับรู้กับกลุ่มลูกค้า การหาพาร์ทเนอร์ โดยมีพาร์ทเนอร์ 190 องค์กรเข้าร่วม และการทำงานร่วมกับบริษัทกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการถูกต้อง
โดยขณะนี้มีจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ 25,000 จุด มีบริการฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางบุรุษไปรษณีย์ โดยตั้งแต่ปี 62-65 มีการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้วเกือบล้านชิ้น