นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยในงาน ROAD TO NET ZERO โอกาส & ความท้าทายทางธุรกิจ ซึ่งจัดโดยฐานดิจิทัลรวมถึงบริษัทในเครือ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ว่า หากประเทศไทยต้องการก้าวไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2608 จะต้องมีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage : CCs)ให้ได้ประมาณ 40 ล้านตัน
อย่างไรก็ดี ปัจจันเทคโนโลยี CCs ยังมีอุปสรรคในการดำเนินการอยู่ เนื่องจากการทำเทคโนโลยีจะต้องมีต้นทุน มีค่าตอบแทนในการลงทุน โดย CCs จะต้องใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 2-3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
โดยทั่วโลกมีการเรื่องของคาร์บอนเครดิต มีการคำนนวณและมีการเปิดให้ซื้อขายได้ ดังนั้นนโยบายคาร์บอนเครดิตในประเทสไทยจะต้องมีความชัดเจนเรื่องของผลตอบแทน จึงจะทำให้เกิดการลงทุน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการลงทุนก็จะเกิดความกังวลเรื่องของสิ่งแวลดล้อม และกระแสสังคมตามมา โดยปัจจุบันโครงการ CCs จากทั่วโลกจะมีโปรแกรมติดตามและตรวจสอบการวัดผล (Measurement Monitoring and Verification : MMV) หลังจากที่มที่มีการจัดเก็บคาร์บอนว่ายังอยู่ดีหรือไม่ ซึ่งกฎหใมายจากต่างประเทศเองก็เริ่มมีความชขัดเจนมากขึ้น
ขณะที่ในประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจน หรือมีข้อตกลงเรื่องของผลตอบแทน หรือภาระผูกพันหลังจากที่ดำเนินการแล้ว และระเบียบข้อบังคับ (regulation) ว่าหน่วยงานใดจะเป็นผู้ดำเนินการ ทำแบบไหน และจะมีนโยบายอย่างไร โดยทั้งหมดดังกล่าวเป็นอุปสรรคที่ต้องการเห็นการแก้ไข
"สิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเวลานี้คือ เทคโนโลยี CCs ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีประสิทธิภาพโดดเด่นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในปริมาณมากในปัจจุบัน"
นายมนตรี กล่าวอีกว่า ปัจจุบันเฉพาะการผลิตอุตสาหกรรมพลังงานมีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 250 ล้านตันต่อปี ขณะที่ทั้งประเทศปล่อยอยู่ 320 ล้านตันต่อปี
โดยการปลูกป่า 1 ล้านไร่สามารถเก็บคาร์บอนไดออกไซ์ได้ 2 ล้านตัน เพราะฉะนั้นจะต้องปลูกป่าให้ได้ 160 ล้านไร่ ประเทศไทยทั้งประเทศมีป่าอยู่ 321 ล้านไร่ ดังนั้น ต้องเปลี่ยนประเทสไทยครึ่งประเทศเป็นป่า และจต้องมีการดูแลสภาพป่าให้คงอยู่ เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะพึ่งพาการปลูกป่าเพียงอย่างเดียว
"หากไม่ทำ CCs ประเทศไทยที่ประกาศตั้งเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนไว้ในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 คงเป็นไปได้ยาก"