ทั้งนี้มีเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 1.72 ล้านตัน จากการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงจากการใช้น้ามันและ LPG (Scope 1) ลง 15,308 ตัน ลดการปล่อยจากทางอ้อมที่เกิดจากการใช้ไฟฟ้า (Scope 2) ลง 32,194 ตัน และลดการปล่อยทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากการให้สินเชื่อหรือลงทุน (Scope 3) ลง 1.68 ล้านตัน จากปีฐาน ค.ศ.2021 และตั้งเป้าหมายบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมลงได้มากกว่า 50% ภายในปี 2030
การขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ธนาคารออมสิน ได้ประกาศนโยบายในการดำเนินงานตั้งแต่ปี ค.ศ.2023 เป็นต้นไป โดยจัดกลุ่มธุรกิจที่จะสนับสนุนสินเชื่อและการลงทุนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.Exclusion List หรือ ธุรกิจที่ไม่สนับสนุน เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง
2.Negative List หรือ ธุรกิจที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ โดยหลีกเลี่ยงการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจที่มีคะแนน ESG Score ในระดับตํ่ามาก โดยธนาคารจะเข้าทำ Positive Engagement กับลูกค้าเพื่อช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาในการปรับปรุงดำเนินงานด้านความยั่งยืน รวมทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งระบบ
3.Positive List หรือ ธุรกิจที่ให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ ผ่านการกำหนดสิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ส่งเสริม BCG ธุรกิจ EV และ Supply Chain หรือกิจการบริษัทที่มีคะแนน ESG Score ในระดับสูง เป็นต้น โดยจะให้สิทธิประโยบชน์ เช่น ลดดอกเบี้ย / ให้สินเชื่อในกรอบวงเงินที่สูงกว่าลูกค้าทั่วไป
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการธนาคารออมสินได้มีมติอนุมัติแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emissions Roadmap ทั้ง 3 Scope ภายในปี 2050 โดยในอีก 7 ปีข้างหน้าตั้งเป้า Net Zero สำหรับ Scope 1 และ 2 เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธนาคารจากการใช้นํ้ามันเชื้อเพลิงและไฟฟ้า
โดยมีเป้าหมายจะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป สำนักงานใหญ่ และ 900 สาขาภายในปี 2568 และขยายการติดตั้งอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผลักดันการเปลี่ยนรถยนต์สันดาป มาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า และติดตั้งสถานีชาร์จ ในเขตกรุงเทพ มหานคร 100 % ภายในปี 2569 และต่างจังหวัดภายในปี 2571
ขณะที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการดำเนินธุรกิจของธนาคารออมสินกว่า 97% มาจากการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้าและการลงทุน (Scope 3) ธนาคารจึงได้นำ ESG Score มาใช้ในการประเมินคุณสมบัติพิจารณาอนุมัติสินเชื่อวงเงิน 500 ล้านบาทขึ้นไป พร้อมมอบส่วนลดดอกเบี้ย และหรือ อนุมัติเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้เป็นพิเศษ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2023 เป็นต้นไป จะไม่พิจารณาการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจต้องห้ามแก่ธุรกิจเชื้อเพลิงถ่านหินและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (No Coal and Coal Related Business) และหลีกเลี่ยงการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจที่มีคะแนน ESG Score ในระดับตํ่ามาก ขณะเดียวกันจะส่งเสริมธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือ ธุรกิจที่ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด เช่น โซลาร์รูฟท็อป ธุรกิจ BCG ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าหรือ EV และ Supply Chain เช่น สถานีชาร์จอีวี หรือกิจการบริษัทที่มีคะแนน ESG Score ในระดับสูง ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี ดูดซับ / กักเก็บคาร์บอน รวมถึงการปลูก / อนุรักษ์ป่า เป็นต้น
อีกทั้ง ภายในปี ค.ศ.2030 ธนาคารตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะไม่มีบริษัทที่ทำธุรกิจถ่านหินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง อยู่ในพอร์ตสินเชื่อและการลงทุน ขณะที่การปล่อยสินเชื่อสัดส่วน 35% จะเป็นสินเชื่อโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด และ 40% เป็นสินเชื่อของบริษัทจดทะเบียนฯ ที่กำหนดเป้าหมาย Net Zero 2050 รวมถึงมีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากการปลูกและอนุรักษ์ป่ารวม 50,000 ไร่ ภายในปี ค.ศ. 2033
นอกจากนี้ ในปี ค.ศ.2030 จะประกาศเป้าหมายเพิ่มเติม โดยจะไม่ลงทุนเพิ่มในบริษัทจดทะเบียนฯ ที่ทำธุรกิจนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ (การลงทุนหุ้นและหุ้นกู้) รวมถึงส่งเสริมการให้สินเชื่อและการลงทุนกับบริษัทจดทะเบียนฯ ที่กำหนดเป้าหมาย Net Zero 2050 อย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ปี ค.ศ.2040 กำหนดเป้าหมายจะไม่มีการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนฯ ที่ทำธุรกิจ Oil & Gas (การลงทุนหุ้นและหุ้นกู้) และการปล่อยสินเชื่อ สัดส่วน 60% จะเป็นสินเชื่อโครงการโรงไฟฟ้พลังงานสะอาด และ 100% เป็นบริษัทจดทะเบียนฯ ที่กำหนดเป้าหมาย Net Zero 2050 (สินเชื่อและการลงทุน) รวมทั้งมีนโยบายเพิ่มเติม โดยจะไม่ให้สินเชื่อเพิ่มในบริษัทจดทะเบียนฯ ที่ทาธุรกิจ Oil & Gas ไม่ให้สินเชื่อเพิ่มในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ/เชื้อเพลิงฟอสซิล และไม่ให้สินเชื่อเพิ่มในโครงการอสังหาฯ ที่ไม่ได้รับรอง Green Building