นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวในเวทีสัมมนา “AIS Greenovation The Road Towards Digital World เชื่อมต่อนวัตกรรมสู่การเติบโตในโลกดิจิทัลอย่างยั่งยืน” หัวข้อThe Ecosystem of e-waste road to ZERO Waste ว่าปัจจุบันมีการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มีตัวเลขขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกกำจัดโดยวิธีที่ถูกต้องประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น
ขณะที่จำนวนอุปกรณ์ดีไวซ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ในการประชุม Cop 28 ที่กำลังจัดขึ้นปลายเดือน พ.ย.นี้ ทำให้หัวข้อเกี่ยวกับกรีนดิจิทัล แอคชัน ถูกบรรจุในหัวข้อการประชุม ว่าจะมีการจัดการอย่างไรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยขณะนี้มีตัวเลขประชากรทั่วโลกเข้าถึงโมบาย 5.4 พันล้านคน คิดเป็นปริมาณอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่ากับ 61.3 ตัน เฉลี่ยคนละ 1 คน 8 กิโลกรัม ( 1 คนมีมากกว่า 1 อุปกรณ์)
ข้อมูลจากสำรวจในยุโรป ยังพบว่า 83% ไม่รู้ว่าจะไปรีไซเคิลที่ไหน 60% ไม่รู้ว่าอุปกรณ์ที่ใช้อยู่สามารถรีไซเคิลได้ 58% กลัวว่าจะเสียภาษีค่ากำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่ข้อมูลจากนีลสัน จากการสำรวจกลุ่มผู้บริโภคในไทยพบว่า 35% ของผู้บริโภค เป็นกรีนแวลู ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มหากผลิตภัณฑ์และบริการเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ส่วน 65% ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร
เป็นที่มาของ AIS ที่รุกขึ้นมาทำผลักดันโครงการคนไทย ไร้ e-Waste โดยการสร้างอีโคซิสเต็มการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ชึ้นมาผ่านการรวมมือกับพาร์ทเนอร์ นอกจากนี้ยังศูนย์กลางองค์ความรู้ E-Waste นอกจากนี้ยังสร้างชุมชน E-Waste ชึ้นมาโดยเริ่มต้นจากภายในองค์กร ก่อนชยายเครือข่ายสีเขียวไปยังองค์กร และชุมชนในถนนพหลโยธิน หรือกรีนพหลโยธิน จากนั้นขยายไปยังองค์กรต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีองค์กรที่ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ 190 ราย ซึ่งสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายเอาไว้คือการผลักดันให้พาร์ทเนอร์ขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังลูกค้า (B2B2C)
นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีบล็อกเชน มาพัฒนาแพลตฟอร์ม E-Waste + ช่วยทำให้ผู้ทิ้งมั่นใจว่าขยะ E-Waste จะถูกนำส่งไปยังกระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานและโปร่งใส ซึ่งจะสามารถตรวจสอบสถานะของกระบวนการนำส่งได้ในแต่ละขั้นตอน และนอกเหนือจากนั้นยังสามารถคำนวณปริมาณ Carbon Scores ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการลงมือทำในกิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถแชร์ในโซเชียลและแสดงตัวตนในโลก โดยสามารถนำ Carbon Scores มาเปลี่ยนเป็น AIS Point หรือ พอยท์ของพาร์ทเนอร์ อนาคตจะพัฒนาให้สามารถนำมาคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตได้