นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ทรูได้วางเป้าหมายกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนขององค์กร สอดรับกับเป้าหมายใหญ่ของกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) โดยยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ใน 3 มิติหลัก ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
ทรูตั้งเป้าหมาย zero landfill สำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ คือ ในปี พ.ศ.2573 จะไม่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทที่ถูกกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบเลย พร้อมกันนี้ ยังตั้งเป้าเป็นองค์กรที่มีค่าเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 และตั้งเป้าหมายเป็นองค์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 โดยตั้งเป้าหมายที่จะเป็นองค์กรปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral (Scope 1 และ Scope 2) ภายในปี 2573
การดำเนินงานของทรู สอดคล้องกับการกำหนดเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets Initiative)และเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2593 นอกจากนี้ เรายังมุ่งสู่เป้าหมายในการลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ฝังกลบให้เป็นศูนย์อีกด้วย
แนวทางการลดปัญหาขยะของทรู อาทิ การจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 50,000 ชิ้นรวบรวมจากผู้บริโภคดีแทคและทรู ในปี พ.ศ.2565 และยังนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่รวบรวมจากเครือข่ายและอุปกรณ์ของดีแทค 1,844 ตัน ไปรีไซเคิล โดยมุ่งมั่นลดปริมาณ e-waste ที่นำไปฝังกลบเป็นศูนย์ ภายในปี 2573 รวมถึงการประยุกต์ใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนและหลัก 5Rs (ReEducation, Reduce, Recycle, Replace and Reinvent) และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือย่อยสลายได้
นอกจากนี้ ยังทำเรื่องออโต้เมชั่น และลดการใช้กระดาษ 100% ภายในปี พ.ศ.2570 โดยปี 2565 สามารถลดได้แล้ว 3,871 ตัน
นายมนัส กล่าวว่า ทรูตั้งเป้าหมายขยายโครงข่ายสัญญาณให้ครอบคลุมประชากร 99% ในปี พ.ศ.2573 ผ่านโครงการด้านการศึกษา ทรูตั้งเป้าหมายเข้าถึงคนและผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตรวม 36 ล้านคน แบ่งเป็นจำนวนผู้ใช้งานแพลตฟอร์มทรูปลูกปัญญา และจำนวนนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ที่เข้าร่วมโครงการด้านการศึกษา เช่น CONNEXT ED True Digital Academy และ True LAB เป็นต้น โดยตัวเลขในปี พ.ศ.2566 มีจำนวนผู้เข้าถึงแล้วกว่า 32 ล้านคน
นอกจากนี้ ทรูมีทีมนวัตกรรม และหน่วยงานต่าง ๆ ของทรูที่คิดนวัตกรรม ที่ค้นคิดพัฒนาแอปพลิเคชั่น เอไอ เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยตั้งเป้าหมายมีสิทธิบัตรนวัตกรรมจำนวน 200 สิทธิบัตรภายในปี 2573
ทรูมี Code of Conduct สำหรับพนักงาน และมีการอบรมสื่อสารเรื่องการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงระบบ cybersecurity ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น ISO27001 100% ในปี 2573 และปรับปรุงการบริหารจัดการเรื่องการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตาม PDPA โดยเฉพาะในส่วนธุรกิจที่สำคัญ
ทรูมีการตรวจประเมินบริษัทคู่ค้าหลักรายสำคัญ 100% โดยเน้นตรวจประเมินด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม การดูแลพนักงาน เป็นต้น
ในปี พ.ศ.2565 ทรูได้ติดตั้งสถานีฐานพลังงานแสงอาทิตย์ 4,712 แห่ง ประหยัดพลังงานได้ 31,176 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี อีกทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 13,905 ตันคาร์บอนได้ออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ทรู ยังสนับสนุนการพัฒนาแหล่งพลังงานความเป็นกลางทางคาร์บอนในระบบโครงข่ายพลังงานของประเทศไทย โดยในปี 2565 ได้ซื้อใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่อชดเชยปริมาณการใช้ไฟฟ้า 265,000 เมกะวัตต์ชั่วโมง จากโรงไฟฟ้าพลังนํ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)