AIS ชู 5G พัฒนาหุ่นยนต์หนุนแพทย์สู้โควิด

17 เม.ย. 2563 | 03:01 น.
อัปเดตล่าสุด :17 เม.ย. 2563 | 11:55 น.

    AIS ชู 5G พัฒนาหุ่นยนต์หนุนแพทย์สู้โควิด เปิดเส้นทางทีม AIS ROBOTIC LAB  สู่หุ่นยนต์ทางการแพทย์ 5G ROBOT FOR CARE ตอบโจทย์การใช้งานของโรงพยาบาล

AIS ชู 5G พัฒนาหุ่นยนต์หนุนแพทย์สู้โควิด

    นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศเอไอเอส กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ ต้องทำงานอย่างหนัก และโรงพยาบาลที่ประสบปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ป้องกัน อย่างเช่น หน้ากากอนามัย, ชุดป้องกันปลอดเชื้อ PPE อันเป็นอุปกรณ์จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์  โจทย์ของทีม AIS ROBOTIC LAB ในการพัฒนาหุ่นยนต์ จึงเริ่มต้นจาก Pain Point นี้ ในการแบ่งเบาภาระ ลดความเสี่ยงติดเชื้อทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ และมีฟังก์ชันที่ FIT IN ช่วยให้การทำงานของทีมแพทย์สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยขึ้น รวมถึงประหยัดงบประมาณในการใช้อุปกรณ์ป้องกันปลอดเชื้อ AIS ชู 5G พัฒนาหุ่นยนต์หนุนแพทย์สู้โควิด

      ดังนั้นทีม AIS ROBOTIC LAB จึงได้นำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับเครือข่าย 5G ออกแบบเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยคุณหมอ 5G “ROBOT FOR CARE” ซึ่งมีฟีเจอร์อัจฉริยะ อาทิ เทคโนโลยีอินฟราเรด ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายได้อย่างแม่นยำ โดยส่งผลข้อมูลผ่านเครือข่ายไปให้แพทย์ที่ให้การรักษาได้อย่างทันที  , เทคโนโลยี 3D Mapping กำหนดแผนที่เส้นทางเดินของหุ่นยนต์ ให้เคลื่อนที่เข้าหาผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และยังสามารถบังคับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้ตามต้องการ ,Telemedicine ระบบปรึกษาทางไกลระหว่างแพทย์และผู้ป่วยผ่านวิดีโอคอล เพื่อให้แพทย์ที่อยู่ด้านนอกห้อง ใช้สมาร์ทดีไวซ์เชื่อมต่อมาที่ตัวหุ่นยนต์ เพื่อพูดคุยและดูอาการคนไข้ภายในห้องพักได้ ช่วยหลีกเลี่ยงการเข้ามาสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยตรงได้ ,เทคโนโลยี Cloud computing ในการประมวลผลจัดเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมฟีเจอร์ต่างๆในตัวหุ่นยนต์ได้ตามที่แต่ละ รพ. ต้องการ อาทิ ตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือด, ส่งยาให้ผู้ป่วยถึงเตียง, บริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือเคลื่อนที่ เป็นต้น

AIS ชู 5G พัฒนาหุ่นยนต์หนุนแพทย์สู้โควิด

    ทั้งนี้หัวใจสำคัญของหุ่นยนต์ คือ การปฏิบัติงานบนเครือข่าย 5G เพื่อใช้ในการประมวลผลในหลายส่วน อาทิ ค่าอุณหภูมิและ face signature ของผู้ถูกตรวจจะถูกถ่ายและส่งไปเก็บที่ AIS DATA CENTER, สามารถ video call จากศูนย์ควบคุมมาที่หุ่นยนต์เพื่อให้ความช่วยเหลือต่างๆ แก่ผู้ปฏิบัติการ, สามารถอัพเดทความสามารถใหม่ๆ ให้กับหุ่นยนต์จากศูนย์ควบคุมได้โดยอัตโนมัติ ในอนาคต ทีม AIS ROBOTIC LAB เตรียมพัฒนาขยายขีดความสามารถของหุ่นยนต์ให้สามารถรองรับบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ ทำงานผ่านคำสั่งเสียง, การทำความสะอาดด้วยตัวเอง ผ่านOzone และ UV, ด้วยความสามารถจดจำเส้นทาง และจดจำใบหน้าได้ หุ่นยนต์จะสามารถทำภารกิจอื่นๆ ได้ เช่น การตรวจเยี่ยม, นำทางผู้ป่วยไปรักษาในแผนกต่างๆ

AIS ชู 5G พัฒนาหุ่นยนต์หนุนแพทย์สู้โควิด

    อย่างไรก็ตามล่าสุด เอไอเอสได้มีการส่งมอบหุ่นยนต์ให้กับโรงพยาบาลต่างๆเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลราชวิถี, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, สถาบันบำราศนราดูร และกรมแพทย์ทหารเรือ โดยหุ่นยนต์ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ ณ คลินิกและหอผู้ป่วยโควิด-19 ทำหน้าที่เข้าไปดูแลและตรวจอาการผู้ป่วยภายในห้องพักผู้ป่วย แทนหมอและพยาบาล ช่วยแบ่งเบาภาระ ลดเสี่ยง ลดสัมผัส เซฟแพทย์และพยาบาล โดยขณะนี้ ทีมAIS ROBOTIC LAB เร่งเครื่องพัฒนาหุ่นยนต์ 5G อย่างเต็มกำลัง และมีแผนส่งมอบทั้งหมด จำนวน 23 ตัว ให้กับโรงพยาบาล 22 แห่ง ภายในต้นเดือนพฤษภาคม 2563