นายเอนก พนาอภิชน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)หรือINTUCH เปิดเผย ว่าบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ขอแจ้งการแต่งตั้ง นายเท็ดโปษะกฤษณะ ถิระพัฒน์ เข้าดำรงตำแหน่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (DCEO) ของบริษัทโดยรายงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563เป็นต้นไป
นายเท็ด โปษะกฤษณะ ถิระพัฒน์ ผู้นี้เป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ซึ่งเชี่ยวชาญธุรกิจสตาร์ตอัพ อดีตเคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ.อนันดาดีเวลลอปเม้นท์ ผันมาเป็นนักลงทุนและที่ปรึกษาธุรกิจให้กับกลุ่มสตาร์ตอัพและบริษัทขนาดใหญ่ รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนดำเนินและบริหารกองทุน Creative Venture Capital กองทุนสตาร์ตอัพรายแรกของคนไทยที่ไปลงทุนในซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา
กองทุน Creative Venture Capital มีนักลงทุนบิ๊กเนมเข้าร่วมลงทุน เช่น อิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ หรือ “ต็อบ เถ้าแก่น้อย” ภูริตภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร กองทุนสิงห์เวนเจอร์, พิรชัย เบญจรงคกุล Investment Director บริษัท บีซีเอช เวนเจอร์ส จำกัด ในกลุ่มบริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง เฉลิมชัย มหากิจศิริกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทรีเซน ไทย เอเยนต์ซีส์ และผู้ก่อตั้งกองทุนร่วมทุนวิชั่นนิตี้เวนเจอร์, กองทุน Moonshot Ventures, ชานนท์ เรืองกฤตยา CEO อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์
ด้วยเล็งเห็นถึงโอกาสการที่ได้เข้าไปสนับสนุนธุรกิจสตาร์ตอัพในซิลิคอนวัลเลย์ ไม่เพียงผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดี ยังมีโอกาสได้สัมผัสกับเทคโนโลยีจากแหล่งกำเนิดที่ได้รับการยอมรับว่ามี Startup Ecosystem ที่สมบูรณ์และแข็งแรงในทุกๆ ด้าน ทั้ง Talent ของธุรกิจ ทุนการตลาด งานวิจัย และสถาบันต่างๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการได้เข้าไปเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกิดจาก Ecosystem ที่แข็งแรง เพื่อนำเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้มาต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจต่างๆในประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่ม Real Sector ที่เป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ
นอกจากนี้”เท็ด โปษณะกฤษณะ”ยังทำหน้าที่เป็น match maker ระหว่างบริษัทในอาเซียนกับสตาร์ทอัพในอเมริกา
รวมทั้งยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และ CFO บริษัท โธธ โซเชียล ในฐานะเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการในการบริหารจัดการการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ และยังเป็น ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท กราฟีน ครีเอชั่น จำกัด (Graphene Creations Co.,Ltd.) บริษัทร่วมลงทุนระหว่างไทย-อิตาลี ทำการวิจัยและพัฒนาโครงการต่างๆ อาทิ Graphene Carbon Fiber (กราฟีนคาร์บอน ไฟเบอร์) การนำกราฟีน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของคาร์บอน ลดความร้อนของการเสียดทานได้ดี นำไปผลิต composite ที่ใช้ในชิ้นส่วนจักรยาน รถยนต์ หรือ รถแข่ง , Smart Fabric/ Graphene Fabric (สมาร์ทแฟบริค / กราฟีน แฟบริค) เสื้อผ้าที่พิมพ์หรือทอด้วยกราฟีน ซึ่งสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี แก้ไขปัญหาพื้นที่จุดร้อน (hot spot area) เหมาะกับเสื้อผ้ากีฬาที่ต้องห่อหุ้มความร้อนของร่างกาย โดยคาดว่าจะสามารถมีผลผลิตสู่ตลาดได้ภายในปี 2563 , Waste Water Treatment (เวสท์ วอเตอร์ ทรีทเมนต์) ใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานทอผ้า โดยกราฟีน มีคุณสมบัติในการดูดน้ำมันเหลือทิ้งจากการย้อมผ้า และ Graphene Coating (กราฟีน โคทติ้ง) การนำเอากราฟีน ผสมในน้ำยาเคลือบกระจกโซล่าเซลล์ ทำให้แผงโซล่าเซลล์ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าวช่วยลดการเกาะตัวของฝุ่นละอองและคราบฝุ่นบริเวณผิวกระจก