“Go Digital ASEAN” สร้างทักษะดิจิทัลผู้ค้ารายย่อยแล้วกว่า 5 หมื่นราย

15 มี.ค. 2565 | 11:28 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มี.ค. 2565 | 18:42 น.

โครงการ Go Digital ASEAN ได้เพิ่มทักษะทางดิจิทัลให้ผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศไทยกว่า 53,000 คน โดยมูลนิธิเอเชีย สนับสนุนโดย Google.org

ตลอด 18 เดือนที่ผ่านมา มากกว่า 53,000 คนในพื้นที่ชนบทและห่างไกลทั่วประเทศได้รับทักษะและเรียนรู้การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงเพิ่มโอกาสการจ้างงาน และลดผลกระทบสถานการณ์  โควิด-19 ต่อการดำรงชีวิต ความสำเร็จของการเพิ่มทักษะทางดิจิทัลนี้เป็นผลมากจากโครงการ Go Digital ASEAN ซึ่งเป็นโครงการระดับภูมิภาคที่มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ดำเนินโครงการโดยมูลนิธิเอเชีย หรือ The Asia Foundation องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหาผลกำไร และได้รับการสนับสนุนจาก Google.org หน่วยงานเพื่อการกุศลของ Google

โครงการ Go Digital ASEAN ได้เปิดตัวในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งใหญ่ในเดือนมิถุนายน 2563 โดยได้เปิดตัวโครงการทั่วทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มทักษะให้แก่บุคคลและผู้ประกอบการรายย่อยมากถึง 200,000 คน อีกทั้งได้สนับสนุนวิสัยทัศน์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small and Medium Enterprises หรือ ACCMSME) ในการปิดช่องว่างทางดิจิทัล

 

โครงการ Go Digital ASEAN ในประเทศไทย ได้ร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่ มูลนิธิกองทุนไทย สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท.) และผู้นำชุมชนท้องถิ่น ทำการยกระดับเครือข่ายชุมชนโดยมีผู้ฝึกสอนถึง 100 คน ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในหลักสูตรเบื้องต้น พื้นฐาน และขั้นสูงแก่ผู้ประกอบการรายย่อยต่างๆ ในระดับหมู่บ้าน

เมื่อโครงการ Go Digital ASEAN สิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา มีมากกว่า 53,000 คน ประสบความสำเร็จจากการได้รับทักษะเพิ่มเติมดังกล่าว ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการชาวชาติพันธุ์(พื้นเมือง?) 17,000 คนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 3 ใน 5 ของผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้หญิง และผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมดมาจาก 28 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และนครราชสีมา และภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน ลำปาง พะเยา และตาก

 

จากผลสำรวจของโครงการ Go Digital ASEAN พบว่า กว่า 97% ของผู้ประกอบการรายย่อยได้รับผลกระทบทางธุรกิจในเชิงบวก โดยพบว่า 2 ใน 3 มีส่วนร่วมกับลูกค้าเพิ่มขึ้น และ 1 ใน 5 ได้รับผลกำไร นอกจากนี้ 92% ของผู้เข้ารับการอบรมได้ลงมือเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนหลังรับการฝึกอบรม โดย 42% ได้สร้างหรืออัปเดตสถานะธุรกิจออนไลน์ และ 36% ได้ขยายธุรกิจของตน     ยิ่งไปกว่านั้น 90% ของผู้เข้ารับการอบรมยังได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ในการปกป้องและสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจของตน โดย 91% รู้สึกว่ามีความพร้อมสำหรับอนาคตมากขึ้น

  “Go Digital ASEAN” สร้างทักษะดิจิทัลผู้ค้ารายย่อยแล้วกว่า 5 หมื่นราย

โธมัส พาร์ค ผู้แทนมูลนิธิเอเชียประเทศไทย กล่าวว่า “ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความเป็นจริงก็คือสถานการณ์โควิดนี้ได้สร้างความยากลำบากอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เข้าถึงโลกดิจิทัลได้อย่างจำกัด เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจำเป็นต้องมีทักษะทางดิจิทัลเพื่อพลิกโฉมในโอกาส    การจ้างงานและการสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ ด้วยบริบทดังกล่าว หลักสูตร ผู้ฝึกสอน และเครื่องมือของโครงการ Go Digital ASEAN ได้ช่วยให้ผู้คนกว่า 53,000 คน สามารถก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล ซึ่งเป็นส่วนช่วยปกป้องและเสริมความแข็งแกร่งให้แก่พวกเขาในการดำรงชีวิตอีกด้วย”

“Go Digital ASEAN” สร้างทักษะดิจิทัลผู้ค้ารายย่อยแล้วกว่า 5 หมื่นราย

มารีจา ราลิค หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Google.org กล่าวว่า “ด้วยความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการว่างงานที่เพิ่มขึ้น และความต้องการทักษะใหม่ๆ เราตระหนักดีว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยให้ผู้คนมีงานทำ ทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไป และช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เราจึงมีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนโครงการ Go Digital ASEAN ที่ดำเนินงานโดยมูลนิธิเอเชีย และเข้าใจว่ามูลนิธิเอเชียได้ช่วยขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและชุมชนที่ต้องการการสนับสนุน เช่น ผู้หญิงและเยาวชนที่ไม่ได้รับการจ้างงานในภูมิภาคอาเซียน อย่างไรบ้าง”