thansettakij
ไร้ SMS เตือนภัยแผ่นดินไหว ใครต้องรับผิดชอบ? ประชาชนตั้งคำถาม

ไร้ SMS เตือนภัยแผ่นดินไหว ใครต้องรับผิดชอบ? ประชาชนตั้งคำถาม

29 มี.ค. 2568 | 03:04 น.
อัปเดตล่าสุด :29 มี.ค. 2568 | 03:37 น.

ประชาชนถามหา SMS เตือนภัยใครรับผิดชอบ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวล่าสุด ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล และ ทุกภาคส่วน ต้องบูรณาการอย่างแท้จริง

“ฐานเศรษฐกิจ” ได้เกาะติดและรายงานความเคลื่อนไหวแผ่นดินไหวล่าสุด อย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568  เวลา 13.20 น. เกิดแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ ประเทศเมียนมา ที่ละติจุด 21.682 องศาเหนือ ลองจิจุด 96.121 องศา ตะวันออก ขนาด 8.2. ริกเตอร์ ความลึก 10 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน 

ล่าสุดวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 กรมอุตุนิยมวิทยา  รายงานเมื่อเวลา 06.00 น. ได้สรุปรายงานจำนวนอาฟเตอร์ช็อก Aftershock  จากแผ่นดินไหวกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย บริเวณประเทศเมียนม่า พบจำนวน 77 ครั้ง อาฟเตอร์ช็อก ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงต่ำ หลายพื้นที่ของประเทศไทยแทบไม่รู้สึกถึงแรงสั่นไหว

เหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด ในเบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิต 8 ราย บาดเจ็บ 16 คน และ สูญหายอีก 101 คน

แผ่นดินไหวล่าสุดครั้งนี้ ประชาชน ถามหา SMS เตือนภัย? ทำไม รัฐบาล และ หน่วยงานที่รับผิดชอบถึงไม่แจ้งเตือนภัยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี , สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. , กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS,TRUE และ NT ได้ลงทุน ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน “Cell Broadcast Service” หรือ CBS ผ่านมือถือ แต่สุดท้ายไม่มีการแจ้งเตือนภัยเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญนี้

“โยนกันไปมา! กสทช. - ปภ. ใครผิด? SMS เตือนภัยแผ่นดินไหวล่าช้า"

หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้อำนวยการ ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึง เลขาธิการ กสทช. เรื่องขอส่งข้อความสั้น (SMS) แจ้งเตือนประชาชน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยข้อความสั้น  (SMS) แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ, นนทบุรี, ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยข้อความระบุว่า ตามที่เกิดแผ่นดินไหวบนบก เมื่อเวลา 13.20 น. ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร จุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ปัจจุบันได้รับประสานจากกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งว่า ให้ดำเนินการตรวจสอบโครงสร้าง ความมั่นคงแข็งแรงของอาคารก่อนเข้าอาคาร กรณีผู้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องเข้าอาคาร สามารถเข้าอาคารได้ด้วยความระมัดระวัง

ไร้ SMS เตือนภัยแผ่นดินไหว ใครต้องรับผิดชอบ? ประชาชนตั้งคำถาม ไร้ SMS เตือนภัยแผ่นดินไหว ใครต้องรับผิดชอบ? ประชาชนตั้งคำถาม

 

สำนักงาน กสทช. ยอมรับเหตุแผ่นดินไหวเตือนภัย SMS ล่าช้า

 

ต่อมา นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทน เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.)  กล่าวว่า  สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ขอน้อมรับข้อท้วงติงจากประชาชนกรณีการสื่อสารจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อเวลาประมาณ 13.20 น. ของวันนี้ โดยยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. ทุกคนไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีการประชุมเร่งด่วนทันที แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จะเป็นผู้กำหนดข้อความ และส่งมายังสำนักงาน กสทช. ขอให้ประสานผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือช่วยส่งข้อความสั้น (SMS ) แจ้งเตือนประชาชน ดังนั้น หาก ปภ. ส่งข้อความมาล่าช้า หรือ ส่งข้อความหลายครั้งจำนวนมาก ก็จะทำให้การส่ง SMS มีความล่าช้าออกไปมากขึ้น เพราะระบบการส่ง  SMS ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีข้อจำกัดจำนวนการส่งต่อครั้งไม่เกินประมาณ 200,000 เลขหมาย

"สำนักงาน กสทช. พร้อมเป็นตัวกลางให้ความร่วมมือทุกหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือประชาชน กรณีภัยพิบัติ ยอมรับการส่งข้อความจะล่าช้าเนื่องจากระบบจำกัดจำนวนการส่งของผู้ให้บริการ และต้องรอข้อความเตือนภัยจาก ปภ. ซึ่งเป็นผู้กำหนดข้อความเตือนภัย"

นายไตรรัตน์ ยืนยันว่า การสื่อสารส่งต่อข้อความของ ปภ. ไปถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ สำนักงาน กสทช. ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด เพราะเป็นเหตุการณ์ร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น และได้มีการประสานผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในทันทีหลังได้รับข้อความจาก ปภ. เช่นกรณีเหตุการณ์ในวันนี้ ปภ. ได้ส่งข้อความสั้นที่ต้องการให้ส่งต่อไปยังผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจำนวน 4 ครั้ง คือ ครั้งแรก เวลา 14.30 น.  จากนั้นส่งมาอีกครั้งในเวลา 16.00 น. จำนวน 2 ข้อความ และครั้งสุดท้ายส่งมาในเวลา 16.30 น. ซึ่งสำนักงาน กสทช. ก็ได้ส่งข้อความต่อให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในทันที

ไร้ SMS เตือนภัยแผ่นดินไหว ใครต้องรับผิดชอบ? ประชาชนตั้งคำถาม ไร้ SMS เตือนภัยแผ่นดินไหว ใครต้องรับผิดชอบ? ประชาชนตั้งคำถาม

 

 ส่วนกรณีระบบเตือนภัย (Cell Broadcast) ผู้ที่เป็นหลักในการจัดทำระบบ  จัดหาผู้ดำเนินการ และผู้กำหนดข้อความ คือ ปภ.  ส่วนสำนักงาน กสทช. เป็นเพียงผู้สนับสนุนงบประมาณ ซึ่งขณะนี้ทางด้านผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือพร้อมในเรื่องระบบแล้ว เหลือรอระบบจาก ปภ. หากยังดำเนินการไม่ได้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือก็ยังดำเนินการไม่ได้ เพราะระบบจะเชื่อมต่อกัน

 

ผ่าโมเดล Cell Broadcast

ส่วนกรณีระบบเตือนภัย (Cell Broadcast) ผู้ที่เป็นหลักในการจัดทำระบบจัดหาผู้ดำเนินการ และผู้กำหนดข้อความ คือ ปภ.  ส่วนสำนักงาน กสทช. เป็นเพียงผู้สนับสนุนงบประมาณ ซึ่งขณะนี้ทางด้านผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือพร้อมในเรื่องระบบแล้ว เหลือรอระบบจาก ปภ. หากยังดำเนินการไม่ได้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือก็ยังดำเนินการไม่ได้ เพราะระบบจะเชื่อมต่อกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2567 โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการในส่วนของ Cell Broadcast Entity (CBE) และ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รับผิดชอบด้านการเชื่อมต่อและระบบ Cloud Server และการเชื่อมต่อระหว่าง Cell Broadcast Entity (CBE) และ Cell Broadcast Center (CBC) รวมถึงการจัดการอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการแจ้งเตือนภัยนี้ และทำหน้าที่ประสานกับสำนักงานกสทช.

โดยที่ผ่านมา บอร์ดกสทช.ได้อนุมัติกรอบวงเงินที่จะนำมาหักลดหย่อนรายได้ที่ต้องจัดสรรเพื่อนำไปใช้ในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) จากการจัดทำระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินฯ เฉพาะเงินสนับสนุนระบบ Cell Broadcast Center (CBC), Core Network, Radio Network และค่าบำรุงรักษาระบบ จำนวน 3 ปี มูลค่าราว 1,030 ล้านบาท ให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด AWN  และ บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด หรือ TUC ในเครือTRUE บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT

ระบบเตือนภัย Cell Broadcast Service ยังไม่สมบูรณ์ 100%

แหล่งข่าวจาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเผย กับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหากเกิดในแต่ละพื้นที่ เอไอเอส จะส่งข้อความสั่น หรือ SMS ไปยังผู้ใช้บริการ แต่เหตุแผ่นดินไหวล่าสุด เมื่อวานนี้ (28 มีนาคม 2568) แผ่นดินไหวทั่วประเทศทำให้เกิดความล่าช้าในการส่งข้อความเนื่องจากมีปริมาณจำนวนมาก

 

หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อช่วงบ่าย แต่ ระบบเตือนภัย SMS ส่งมาเมื่อเวลา 21:47 หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อช่วงบ่าย แต่ ระบบเตือนภัย SMS ส่งมาเมื่อเวลา 21:47

ขณะที่ ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน “Cell Broadcast Service” หรือ CBS ผ่านมือถือ ที่เชื่อมต่อกับหน่วยงานภาครัฐยังไม่เชื่อมต่อ 100% จึงเป็นข้อจำกัดในการส่งข้อมูล เนื่องจากระบบ Cell Broadcast Service   ส่งได้รวดเร็วกว่า SMS ปกติธรรมดา

ก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2567 กระทรวงดีอี ,  สำนักงาน กสทช. , ปภ. และ TRUE  ทดสอบระบบร่วมจัดทำ CBS ระบบเตือนภัยฉุกเฉินในพื้นที่จริงครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน

แจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน 5 ภาษา

  • สามารถส่งข้อความเตือนภัยไปยังโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการทุกเครื่อง ทั้งคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย สามารถรับข้อความได้พร้อมกันทันที
  •    เพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ อย่างทันท่วงที
  •   ช่วยสร้างความมั่นคง ปลอดภัย และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติ
  • ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน CBS สามารถแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินได้ 5 ภาษา ทั้ง ไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และรัสเซีย
  •   ครอบคลุมผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ  โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนล่วงหน้า  โดยจะส่งข้อความแจ้งเตือนภัยในรูปแบบ ข้อความ  ตัวอักษร รูปภาพ และเสียง มีสัญญาณเสียง และข้อความที่แสดงบนหน้าจอ (Pop up)

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นแบบร้ายแรงมาก่อน ถึงตอนนี้ต้องบอกว่าระบบเตือนภัยของประเทศไร้ประสิทธิภาพ ขาดการบูรณาการอย่างแท้จริงถึงเวลาแล้วที่ รัฐบาลต้องตระหนักกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุดในครั้งนี้.