วันนี้ 2 ธันวาคม 2567 สำนักงาน กสทช. ได้จัดงานสัมมนาวิชาการ กสทช. ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด Sprinting into the Digital Future โดย นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. เปิดเผยว่า Sprinting into the Digital Future เป็นเรื่องที่ท้าทายดังนั้นต้องใช้ Digital Platform เพื่อนำมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ดังนั้น กสทช.ต้องคิดนำ AI เข้ามาประยุกต์ใช้กับ กสทช.ต้องศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องเพื่อนำความรู้ใหม่ๆทางด้านเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้
ด้านนายต่อพงศ์ เสลานนท์ กรรมการ กสทช. ด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เปิดเผยถึงเหตุผล ตัวแบบ 10 นิ้ว เพื่อการออกแบบสำหรับทุกคน:สู่สังคมที่ครอบคลุมทุกคน ว่า ปัจจุบันสังคมสูงวัยในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 13-14 ล้านคน ล่าสุดจำนวนตัวเลขผู้สูงอายุเพิ่ม 20% ,วัยแรงงาน 60% และ เด็กอยู่ที่ 20% จำนวนผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อการใช้สอยที่ปรับตัวลดลง ดังนั้นทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุสามารถมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับมากขึ้น ขณะนี้ตัวเลขคนพิการที่จดทะเบียนอยู่ที่ 2.2 ล้านคน ขณะที่สำนักงานสถิติสำรวจคนพิการทุก 5 ปี ในปี 2560 อยู่ที่ 3.6-3.7 ล้านคน และ ปี 2565 อยู่ที่ 4.1-4.2 ล้านคน ที่จำนวนคนพิการเพิ่มขึ้น 5 แสนคน
อย่างไรก็ตามแนวคิดในการทำตัวแบบ 10 นิ้ว เนื่องจากประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมสูงอายุเต็มรูปแบบ การออกแบบสำหรับทุกคน (Inclusive Design) กลายเป็นแนวคิดสำคัญในการพัฒนาสังคมที่เท่าเทียมและเข้าถึงได้โดยโมเดล 10 นิ้ว เป็นกรอบแนวคิดที่ครอบคลุมผ่านการใช้นิ้วมือทั้งสิบเป็นสัญลักษณ์แทนองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบ โมเดลดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ประกอบด้วยออกแบบเมือง ภูมิทัศน์ สถาปัตยกรรม การออกแบบภายในและผลิตภัณฑ์ และ ส่วนเทคโนโลยีและมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมด้านบุคลากร ทักษะ อุปกรณ์อัจฉริยะ แอปพลิเคชั่น และ การเชื่อมต่อ ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบตามแนวคิดนี้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมในสังคม นวัตกรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สงอายและผู้พิการ อีกทั้งยังสร้างโลกาสทางธุรกิจใหม่ผ่านการขยายฐานผู้ใช้งานที่หลากหลาย
“การนำโมเดล 10 นิ้วมาประยุกต์ใช้จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาสังคมไทยสู่การเป็นสังคมที่ครอบคลุมและเข้าถึงได้สำหรับประชาชนทุกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเตรียมความพร้อมสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์”
ด้าน ดร.อนันต์ลดา โชติมงคล นักวิจัยประจำทีมวิจัยเทคโนโลยีที่ทุกคนเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวกกลุ่มนวัตกรรมแพลตฟอร์มดิจิทัลสุขภาพการแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า การพัฒนาแพลตตฟอร์มนวัตกรรมสำคัญเพื่อลดช่องว่างทางดิจิทัลและสร้างโอกาสการเข้าถึง เทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม โดยพัฒนาระบบริการดิจิทัลที่ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้พิการและ ผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วยระบบสำคัญ 4 ด้าน ระบบแรก คือ บริการถ่ายทอดการสื่อสาร (Telecommunication Relay Senice) ที่ช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินและการพูดสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยติดตั้งตั้งตู้ TTRS จำนวน 180 ตู้ในที่สาธารณะทั่วประเทศ สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท ระบบที่สอง คือ บริการ คำบรรยายแทนเสียงแบบเรียลไทม์ ที่ช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินและผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลในการประชุมและรายการโทรทัศน์ได้อย่างทั่วถึง ระบบที่สาม คือ แพลตฟอร์มสื่ออ่านง่าย ที่ช่วยให้ผู้มีความบกพร่องทางการรับรู้และ ผู้สูงอายุสามารถเข้าใจข้อมูลข่าวสารได้ง่ายขึ้น และระบสุดท้าย คือ ระบบเฝ้าระวังและตรวจสอบการเข้าถึงบริการดิจิทัล ที่ช่วยให้การพัฒนาบริการดิจิทัลต่าง ๆ เป็นไปตามมาตรฐานการเข้าถึงสำหรับคนพิการนวัตกรรมเหล่านี้ไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งาน แต่ยังสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ การพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสังคมดิจิทัลที่เท่าเทียมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ขณะที่ ดร.นน อัครประเสริฐกุล ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวในหัวข้อ การสร้างเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตสำหรับทุกคน (Building Smarter Cities: The Blueprint for Inclusive Urban Futures) ว่า เมื่อกล่าวถึง "เมืองอัจฉริยะ" หรือ "สมาร์ตซิตี้" หลายคนมักจะนึกถึงเทคโนโลยีสำสมัย เช่น AI, IoT หรือ 5G หากคำถามที่สำคัญที่สุดที่มักจะมองข้าม คือ เทคโนโลยีเหล่านี้ตอบโจทย์ใคร หากเป้าหมายของ เมืองอัจฉริยะ คือ การทำให้ชีวิตของประชาชนดีขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยี เหตุใดหลากหลายโครงการที่มีเทคโนโลยีล้ำ หน้าถึงยังล้มเหลว เกิดเป็นโครงการที่ใช้พรัพยากรมหาศาลสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่ไม่มีใครใช้งาน หรือสร้างภาระ ทางการเงินโดยไม่เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตประชาชน และทำให้ประชาชนรู้สึกถูกละละลาบละล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่ผ่านมาการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขาดการออกแบบที่ใช้ความต้องการของประชาชนเป็นศูนย์กลางหลายโครงการเน้นการใช้เทคโนโลยีมากกว่าการตอบสนองความต้องการที่แท้จริง ทำให้เกิดการตัดสินใจจากบนลงล่าง (Top-Down) โดยปราศจากข้อมูลที่ถูกต้องและการมีส่วนร่วมของประชาชนการสร้างเมืองอัจฉริยะไม่ควรเริ่มจากการทุ่มงบประมาณไปกับโครงการใหญ่ แต่ควรเริ่มจากพื้นที่ทดลองเล็ก ๆเพื่อทดสอบและปรับปรุงตามความต้องการของคนในชุมชุมชน แนวทางนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองอัจฉริยะไม่จำเป็นต้องเริ่มต้น ด้วยเทคโนโลยีล้ำยุคที่สุด แต่ต้องเริ่มจากการฟังและการออกแบบที่ตอบโจทย์ชีวิตประจำวันของประชาชน