นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และประธานกรรมการมูลนิธิ เพื่อคนไทย กล่าวว่าองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ตั้งขึ้นมา และผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว 2 ครั้ง แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง และปัญหายังไม่เบาลง รวมทั้งในบางประเด็นกลับรุนแรงมากขึ้นด้วยซ้ำ ซึ่งผลสำรวจนี้ สะท้อนความต้องการของประชาชนออกมาชัดเจนแล้ว ดังนั้นควรออกนโยบายแก้ไขปัญหาให้ชัดเจน เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ จะเป็นโอกาสสำคัญในการสิทธิใช้เสียงคัดเลือกพรรคและผู้แทน ที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้
ด้านนายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) มองว่าบทเรียนจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มีเพียง 3 พรรคการเมืองเท่านั้น ที่มีนโยบายต่อต้นคอรัปชั่น จึงนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ล้มเหลว ซึ่งหลายเรื่องสร้างผลกระทบต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต และการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ ก็เริ่มเห็นพรรคหารเมืองที่มีนโยบายต่อต้านคอรัปชั่นที่จับต้องได้ แต่การหาเสียงกลับพูดเพียงลอยๆ ซึ่งประชาชน จะไม่สามารถกลับมาตรวจสอบได้ ซึ่งจากผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นว่า การเมืองไทย กำลังก้าวเข้าสู่การเมืองสมัยใหม่ที่ซื้อสัตย์ และถึงเวลาแล้วที่นักการเมืองจากทุกพรรค จะต้องออกนโยบายการแก้ไขปัญหา ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน
โดย ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมืองและนักการเมืองไทย ในการเลือกตั้ง 2566 จัดทำโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) / มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมูลนิธิเพื่อคนไทย จากกลุ่มตัวอย่าง 2,255 ตัวอย่าง ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มที่มีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นครั้งแรก 18% โดยพบว่า ส่วนใหญ่มองนโยบายของพรรคการเมือง ควรจะมีความชัดเจนเป็นรูปธรรม ว่า จะวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศได้อย่างไร รวมทั้งควรมีการตรวจสอบได้ และที่สำคัญนโยบายต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับกับการใช้งบประมาณ
สำหรับปัญหาของประเทศที่ต้องแก้ไขมากที่สุด อันดับ 1 คือปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น รองลงมาเป็นการศึกษา และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ส่วนใหญ่ถึง 67% มองว่านโยบายการต่อต้านคอรัปชั่น มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้ง ที่ควรจะมีมาตรการชัดเจน และกว่า 83.6% จะไม่เลือกพรรคที่ไม่มีนโยบายต่อต้านคอรัปชั่น โดยนโยบายควรจะมีการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ให้ประชาชนเข้าถึงง่าย รวมทั้งรับฟังเสียงประชาชน สร้างการมีส่วนร่วม และสนับสนุนให้องค์กรตรวจสอบ ทำงานได้อิสระ เพราะปัญหาคอรัปชั่น 3 อันดับแรกที่ส่งผลเสีย และต้องการให้รัฐบาลเร่งจัดการ สูงสุด คือ ปัญหาทุจริตในระบบราชการ รองลงมาคือ กระบวนการยุติธรรม และเงินบริจาคแก่ศาสนา
ซึ่งพรรคการเมือง มีบทบาทสำคัญ คือ ไม่ซื้อสิทธิขายเสียง และต้องมีนโยบายด้านต่อต้านคอรัปชั่นชัดเจน ขณะที่ นักการเมืองเอง ควรปฏิบัติหน้าที่ และทำตามที่สัญญากับสาธารณะ ด้วยความซื่อสัตย์ พร้อมทำงานกับประชาชนอย่างแท้จริง โดยส่วนใหญ่ถึง 86.2% จะไม่เลือกพรรคการเมืองที่มีใช้เงินซื้อเสียงและสิ่งที่อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการแก้ไขอันดับแรก ยังคงเป็นเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ดูแลสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน เงินกู้ การดูแลค่าครองชีพและการดูแลราคาพลังงาน